google.com, pub-7156051143880097, DIRECT, f08c47fec0942fa0

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

เพาะเนื้อเยื่อกล้วย





1.ปากช่อง 50 มีต้นลงถุง กลางๆ เดือนกว่าแล้ว
2.คาเวนดิช  พค.  ประมาณ 1 แสนต้น แบบไปอนุบาลเอง 50000 น่าจะได้
3.น้ำว้าซุปเปอร์ยัก เพิ่งส่งเข้าวันที่ 5 เมษายน 60
4.น้ำว้าปากช่อง รุ่นต่อไป เข้าเพาะ แล้ว วันที่ 10 เมษายน 60
5.น้ำว้า ท็อปกัน กำลังจะเข้าแลบ หลังสงกรานต์
6.หอมทอง หยกสยาม กำลังจะเข้าแล็บ หลังสงกรานต์
7.ทองเศรษฐี มีคิดเข้า พค 60
8.น้ำว้าดำ เล็บมือนาง หักมุข ตานี จะเข้าแลป ตามไป คาดว่า พค 60
9 กล้วยประดับ อื่นๆ จะเดินตามเข้าไป น่าจะครบ ก่อน สิ้น พค 60 นี้

วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

การเลี้ยง กล้ากล้วย เพาะเนื้อเยื่อ

การเลี้ยง กล้ากล้วย เพาะเนื้อเยื่อ
เริ่มจาก tissue
เตรียมน้ำสะอาด สำหรับล้างราก และอาหารวุ้น
ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
1.    น้ำสะอาด 20 ลิตร ใส่ด่างทับทิม เล็กน้อย เพื่อกำจัดเชื้อโรค เนื่องจากกล้าทิชชูอยู่ในสภาพปลอดเชื้อมานาน
2.    ผสมน้ำยาเร่งราก ถ้าไม่อยากเสียเงินซื้อก็ ผงชูรส ¼ ช้อนชา ผสมเครื่องดื่มชูกำลัง 30 ซีซี ในน้ำสะอาด 20 ลิตร
3.    ตะกร้าสะอาด รองด้วยพลาสติก เตรียมถุงพลาสติกสำหรับห่อเพื่อรักษาความชื้นด้วย
4.    แปลงเพาะเลี้ยงกล้า หรือถาดเพาะกล้าขนาด 104 หลุม
5.    ขุยมะพร้าว ที่แยกเส้นไยหยาบออกไปแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1 คืน
6.    พลาสติกคลุมแปลง เพื่อรักษาความชื้น ป้องกันการคายน้ำมากของกล้าทิชชู หากคายน้ำมาก การเจริญเติบโตจะชะงัก ทำให้เสียเวลาในการเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้น หรือเกิดความสูญเสีย
7.    มุงสแลนพรางแสง 80% ทั้งด้านบนและรอบๆ แปลง เพื่อกันแสง และลม

ขั้นตอนการปฏิบัติ
1.    นำต้นกล้าออกจากถุง แล้วล้างในน้ำสะอาดผสมด่างทับทิม ล้างอาหารเลี้ยงต้นอ่อนให้หมด และแยกรากต้นกล้าออกจากกัน แยกขนาดของต้นกล้า ใส่ในตะกร้าที่รองด้วยพลาสติก
2.    นำต้นกล้าจุ่มในน้ำผสมน้ำยาเร่งราก 15 วินาที แล้วนำพักในตะกร้าเดิม
3.    หากระยะเวลาในการปฏิบัติงานนาน ระยะเวลารอในช่วงพัก หรืออากาศร้อน ให้ห่อตะกร้าด้วยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ครอบคลุมตะกร้าที่ใช้ เพื่อรักษาความชื้น ป้องกันการคายน้ำ (สำคัญมาก) ห้ามให้กล้ากล้วยโดนแสงแดดโดยตรง
4.    พักทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง เพื่อให้ต้นกล้าได้ปรับตัว
5.    นำต้นกล้าลงเพาะเลี้ยงในแปลง
6.    รดน้ำโดยใช้สเปรย์ฝอย  ห้ามใช้สายยางรดโดยตรง
7.    หมั่นสังเกตให้ต้นกล้าตั้งตรงอยู่เสมอ
8.    คลุมด้วยพลาสติกกัน UV เพื่อรักษาความชื้น ป้องกันการคายน้ำทางใบของต้นกล้า
9.    ตรวจเช็คความชื้นจากความแห้งของขุยมะพร้าว  อาจต้องรดน้ำทุก 2-3 วัน หากขุยมะพร้าวแห้ง  ตามสภาพ
10.    ระยะนี้ไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย ใดๆ เพียงแต่หมั่นดูความชื้น และสังเกตการณ์ล้มของต้นกล้า
11.    ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน

ระยะที่ 2
เตรียม ผสมวัสดุปลูก
พีทมอส 1 ส่วน  ขุยมะพร้าว 2-3 ส่วน ผสมกัน แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 1-2 คืน
ใส่ในถุงเพาะกล้า จัดเตรียมในแปลงเพาะระยะที่ 2 มุงด้วยสแลนพรางแสง 80% ทั้งด้านบน และรอบข้าง
ระยะ 10 วันแรก หมั่นดูแลหากขุยมะพร้าวแห้ง ให้รดน้ำโดยให้น้ำฝอยละออง ไม่ควรใช้สายยางบีบรดโดยตรง ต้นจะล้ม
เมื่อครบ 15 วัน ให้ผสมปุ๋ยเขียว 1-2 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นฝอย ให้ทุก 10 วัน ในช่วงเช้า(ไม่เกิน 10 นาฬิกา)