- อยากทราบข้อมูลเห็ดหลินจือตากแห้งต้ม มีผลกับตับมั๊ยคะ
จากข้อมูลงานวิจัยของเห็ดหลินจือยังไม่พบรายงานความเป็นพิษต่อตับ และผลข้างเคียงและอาการไม่พึงประสงค์พบได้ค่อนข้างน้อย แต่การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการคอแห้ง อึดอัดในท้อง หรือผื่นที่ผิวหนังได้ และห้ามใช้ในผู้ที่แพ้เห็ดหลินจือ และควรระมัดระวังการใช้ในผู้ที่แพ้สปอร์ของเห็ดต่างๆ
- จากข้อมูลงานวิจัยมีรายงานว่าเห็ดหลินจือมีฤทธิ์ลดน้ำตาล และไขมันในเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ขยายหลอดเลือด และลดภาวะโปรตีนในปัสสาวะในผู้ที่มีโกลเมอรูลัสที่ทำหน้าที่กรองเลือดที่หน่วยไตบกพร่อง อย่างไรก็ตามในเห็ดหลินจือ มีแร่ธาตุหลายชนิด รวมถึงโพแทสเซียมในปริมาณค่อนข้างสูง ดังนั้นในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังรุนแรง หากรับประทานเห็ดหลินจือเป็นประจำ อาจส่งผลทำให้ไตทำงานหนัก และไตเสื่อมมากขึ้น
ขณะนี้ยังไม่มีรายงานความเป็นพิษของการรับประทานสารสกัดน้ำของเห็ดหลินจือค่ะ
โดยการทดสอบความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบกึ่งเรื้อรังในหนูถีบจักรพบว่าการให้สารสกัดดังกล่าวในขนาด 5 ก./กก. ไม่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายของสัตว์ทดลอง (อ่านรายละเอียดของเห็ดหลินจือเพิ่มเติมได้ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับที่ 18/1)
จากการศึกษาพบว่ายาลมหรือยาหอมส่วนใหญ่มีผลต่อความดันโลหิต โดยมีผลทั้งเพิ่มและลดความดันโลหิต และมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจเล็กน้อย
มีผลให้การไหวเลือดของเลือดที่สมองเพิ่มขึ้น ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กขยายตัว เพิ่มการหลั่งเยื่อเมือกที่มาเคลือบกระเพาะอาหาร ยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร และมีฤทธิ์ต้านการอาเจียน
การศึกษาความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบกึ่งเรื้อรังในหนูขาว โดยให้ในขนาด 5 ก./กก. ไม่พบความเป็นพิษสัตว์ทดลอง (อ่านรายละเอียดของยาหอมเพิ่มเติมได้ในจุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับที่ 20(2) และหนังสือยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ: ข้อมูลบนหลักฐานทางวิชาการ)
แต่ปัจจุบันยาหอมที่มีขายในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ อีกทั้งยังมีส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจบอกไม่ได้ว่ายาหอมที่คุณใช้อยู่มีความเป็นพิษหรือไม่
และควรระมัดระวังเรื่องการปนเปื้อนของโลหะหนักและสิ่งปลอมปนอื่นๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายด้วย อย่างไรก็ตามควรสังเกตตนเองว่าการใช้ยาดังกล่าวก่อให้เกิดความผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีควรหยุดใช้ หรือปรึกษาแพทย์เพื่อให้เกิดการรักษาที่ถูกต้องต่อไปค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น