google.com, pub-7156051143880097, DIRECT, f08c47fec0942fa0

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเพาะเนื้อเยื่อ-27

พรุ่งนี้พึ่งจะเริ่ม ทำอาหารครับ

กระดาษลิสมัส พึ่งมาถึงวันนี้ครับใ
เขาแจ้งว่าผสม ทั้งน้ำตาล ทั้ง วุ้นมาแล้ว ขนาดสิบลิตรครับ ขวดนั้น
เดี๋ยวคืนนี้นั่งดูที่เขาอธิบายอิกที่ครับ






ในเบื้องต้น แนะนำให้ท่านทำอาหาร ครั้งละหนึ่งลิตร
กรอกใส่ขวดจะได้ประมาณ 30 ขวด ขนาด4อ๊อนซ์ หรือ 8อ๊อนซ์ ครับ


แบ่งอาหารออกเป็นสิบส่วนโดยน้ำหนัก เอามาหนึ่งส่วน
ผสมน่ำกลั่น 1ลิตร  (ผู้ขายแจ้งว่าอาหารหนึ่งขวดผสมน้ำได้ สิบลิตร)
น้ำกลั่นมีขายขวดละหนึ่งลิตรพอดี
กวนให้ละลายให้หมด

เช็ดปรับpH ให้ได้
แล้วเอาขึ้นเตา กวนให้วุ้นละลายให้หมด ไม่ต้องรอเดือด
เคี่ยวนานไม่ดีครับ วุ้นเมื่อเอาไปนึ่งแล้วจะไม่แข็งตัวเช่นกัน ครับ

เอากรอกใส่ขวด ขวดละประมาณ 30 cc (ประมาณ เศษหนึ่งส่วนสี่ ของขวด 4อ๊อนซ์ ครับ)
 ปิดฝาพออยู่ ไม่ต้องแน่น
เอาไปนึ่งได้เลย ครับ





ทีนี้ สมมุติว่า
เราเพาะจนได้ต้นในขวดเล็กๆแล้ว

เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ

แล้วถ้าเรา?

สามารถย้ายไปเลี้ยงในกล่องกลาสติก ใสๆ ใหญ่ๆ ที่เตรียมอาหารแล้ว ซิลฝา เจาะรู ได้ไหม

เริ่มนอกเรื่องที่ครู สอนละ





เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ
-------------------------------------------
จำเป็นต้องย้าย แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นขวดแบล็ก ครับ

ปกติในขวด 4อ๊อนซ์ อาหารจะถูกต้นอ่อน ดูดซึมนำไปใช้
จนเริ่มหมดคุณภาพประมาณ 45 วัน เต็มที่สูงสุดที่จะอยู่ได้ ก็ไม่เกิน 50 วัน ครับ

จะเกิดแก๊สภายในขวด ต้นไม้ในขวดจะเริ่มตายเนื่องจากอากาศภายใน
และการขาดสารอาหาร ครับ เราจึงต้องทำซับคัลเจอร์ เพื่อเปลี่ยนสารอาหาร
เปลี่ยนอากาศภายใน เป็นอากาศสะอาด ครับ

การใช้ขวดแบล็ก เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะหาง่ายร้านซื้อขายขวดแทบทุกร้าน
จะมีขายในราคาถูกครับ

ถ้าเราจะหาซื้อขวดที่บรรจุต้นอ่อนลูกกล้วยขนาดบรรจุ20-25 ต้น
จากร้านขายอุปกรณ์โดยตรง จะแพงกว่ามากครับ

และที่เป็นขวดแก้วเหลี่ยม เพราะสะดวก ขนย้ายง่าย ไม่ล้มกลิ้งไปมา
ขวดจะวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอ ไม่เอียง ไม่โยกเยก
รากจะถูกป้องกันไม่ให้กระทบกระเทือนจากภายนอก ได้ดี ซึ่ง

ต่างจากขวด หรือกล่องพลาสติกความไม่คงรูปของพลาสติก จะทำให้
สารอาหารวุ้นภายในกระเทือน รูทแฮหรือรากขนที่ปลายรากอ่อน
ขาดได้ง่าย ลูกกล้วยจะงัน จะไม่เจริญเติบโตตามปกติ

นอกจากนั้น กล่องพลาสติกที่ใช้ ถ้าไมใช่ฟูดเกรด เวลานึ่งโดนความร้อน
จะมีสารปิโตรเคมี ออกมาปนกับอาหาร ต้นไม้ไม่ถึงกับตาย แต่จะโตช้ามากครับ

กล่องพลาสติก ใช้ได้ แต่ต้องเป็นฟูดเกรด เบื้องต้นยังไม่แนะนำให้ท่านใช้
ไม่ต้องการให้เกิดตัวแปรหลายตัว เช่น 1 การกระเทือน 2เคมีในพลาสติก อื่นๆ

ถ้าเราใช้อาหารชนิดนี้แล้วลูกกล้วยเกิดไม่เจริญเติบโตไม่มีการพัฒนาการ
จะได้ทราบว่าเป็นสาเหตุจากอาหาร ไม่มีคุณภาพดีพอ ไม่ใช่ปัจจัยอื่นๆ ครับ

ถ้าท่านทำหลายๆครั้งจนเกิดทักษะชำนาน ท่านจะใช้ อะไรใส่ก็ได้ไม่มีปัญหาครับ
เพราะท่านจะทราบปัญหา และการป้องกันครับ

ผมเองบางครั้งก็ทำใส่ถุงร้อนใส่อาหาร เพื่อลดค่าขนส่งในการส่งไปต่างประเทศ
ก็หาทางป้องกัน และระมัดระวังเอาครับ เช่นต้องเพิ่มคารบ้อนในอาหารเพื่อป้องกัน
การกระเทือน ในขบวนการขนส่ง




เมื่อรากได้รับความกระทบกระเทือน เกิดบาดแผล หรือช้ำ
พืชจะหลั่งสารEnzyme ชนิดหนึ่งคือ  Polyphenol Oxidase (PPO)

เมื่อไปรวมกับ อ๊อกซิเจนในอากาศ จะได้สารสีน้ำตาลหรือ Browning
ซึ่งสารนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมอาหารของรากอ่อน ทำให้พืช
ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ครับ

การใส่ คาร์บ้อน จะเป็นการดูดจับสาร Polyphenol ไม่ให้สัมผัสกับ
อ๊อกซิเจ่นในอากาศได้โดยตรง เพื่อแก้ปัญหาการเกิด Browing

หล่าวนี้เป็นต้น ครับ

ในระยะแรก ท่านไม่ต้องทำ ซับ ก็ได้ ลูกกล้วยจากขวด 4 และ 8อ๊อนซ์
ได้จำนวนแค่ใหนก็เอาแค่นั้นก่อนก็ได้ครับ จากอุปกรณที่ท่านทำครั้งละ 30 ขวด
รุ่นๆหนึ่งที่ทำ  ท่านจะได้ลูกกล้วยประมาณ
120 ถึง 150 ต้น ครับ ถ้าไม่มี การปนเปื้อนติดเชื้อ คอนทามิเนท เลย  นะครับ

รุ่นแรกนี้ท่านได้ซัก 15ขวด จาก30ขวด ผมว่าท่านสอบผ่านแล้วละครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น