สวนราชินี จังหวัด กำแพงเพชร 0809898770 โทร+ไลน์ (ไอซ์)
วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การเพาะเนื้อเยื่อ-27
พรุ่งนี้พึ่งจะเริ่ม ทำอาหารครับ
กระดาษลิสมัส พึ่งมาถึงวันนี้ครับใ
เขาแจ้งว่าผสม ทั้งน้ำตาล ทั้ง วุ้นมาแล้ว ขนาดสิบลิตรครับ ขวดนั้น
เดี๋ยวคืนนี้นั่งดูที่เขาอธิบายอิกที่ครับ
ในเบื้องต้น แนะนำให้ท่านทำอาหาร ครั้งละหนึ่งลิตร
กรอกใส่ขวดจะได้ประมาณ 30 ขวด ขนาด4อ๊อนซ์ หรือ 8อ๊อนซ์ ครับ
แบ่งอาหารออกเป็นสิบส่วนโดยน้ำหนัก เอามาหนึ่งส่วน
ผสมน่ำกลั่น 1ลิตร (ผู้ขายแจ้งว่าอาหารหนึ่งขวดผสมน้ำได้ สิบลิตร)
น้ำกลั่นมีขายขวดละหนึ่งลิตรพอดี
กวนให้ละลายให้หมด
เช็ดปรับpH ให้ได้
แล้วเอาขึ้นเตา กวนให้วุ้นละลายให้หมด ไม่ต้องรอเดือด
เคี่ยวนานไม่ดีครับ วุ้นเมื่อเอาไปนึ่งแล้วจะไม่แข็งตัวเช่นกัน ครับ
เอากรอกใส่ขวด ขวดละประมาณ 30 cc (ประมาณ เศษหนึ่งส่วนสี่ ของขวด 4อ๊อนซ์ ครับ)
ปิดฝาพออยู่ ไม่ต้องแน่น
เอาไปนึ่งได้เลย ครับ
ทีนี้ สมมุติว่า
เราเพาะจนได้ต้นในขวดเล็กๆแล้ว
เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ
แล้วถ้าเรา?
สามารถย้ายไปเลี้ยงในกล่องกลาสติก ใสๆ ใหญ่ๆ ที่เตรียมอาหารแล้ว ซิลฝา เจาะรู ได้ไหม
เริ่มนอกเรื่องที่ครู สอนละ
เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ
-------------------------------------------
จำเป็นต้องย้าย แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นขวดแบล็ก ครับ
ปกติในขวด 4อ๊อนซ์ อาหารจะถูกต้นอ่อน ดูดซึมนำไปใช้
จนเริ่มหมดคุณภาพประมาณ 45 วัน เต็มที่สูงสุดที่จะอยู่ได้ ก็ไม่เกิน 50 วัน ครับ
จะเกิดแก๊สภายในขวด ต้นไม้ในขวดจะเริ่มตายเนื่องจากอากาศภายใน
และการขาดสารอาหาร ครับ เราจึงต้องทำซับคัลเจอร์ เพื่อเปลี่ยนสารอาหาร
เปลี่ยนอากาศภายใน เป็นอากาศสะอาด ครับ
การใช้ขวดแบล็ก เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะหาง่ายร้านซื้อขายขวดแทบทุกร้าน
จะมีขายในราคาถูกครับ
ถ้าเราจะหาซื้อขวดที่บรรจุต้นอ่อนลูกกล้วยขนาดบรรจุ20-25 ต้น
จากร้านขายอุปกรณ์โดยตรง จะแพงกว่ามากครับ
และที่เป็นขวดแก้วเหลี่ยม เพราะสะดวก ขนย้ายง่าย ไม่ล้มกลิ้งไปมา
ขวดจะวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอ ไม่เอียง ไม่โยกเยก
รากจะถูกป้องกันไม่ให้กระทบกระเทือนจากภายนอก ได้ดี ซึ่ง
ต่างจากขวด หรือกล่องพลาสติกความไม่คงรูปของพลาสติก จะทำให้
สารอาหารวุ้นภายในกระเทือน รูทแฮหรือรากขนที่ปลายรากอ่อน
ขาดได้ง่าย ลูกกล้วยจะงัน จะไม่เจริญเติบโตตามปกติ
นอกจากนั้น กล่องพลาสติกที่ใช้ ถ้าไมใช่ฟูดเกรด เวลานึ่งโดนความร้อน
จะมีสารปิโตรเคมี ออกมาปนกับอาหาร ต้นไม้ไม่ถึงกับตาย แต่จะโตช้ามากครับ
กล่องพลาสติก ใช้ได้ แต่ต้องเป็นฟูดเกรด เบื้องต้นยังไม่แนะนำให้ท่านใช้
ไม่ต้องการให้เกิดตัวแปรหลายตัว เช่น 1 การกระเทือน 2เคมีในพลาสติก อื่นๆ
ถ้าเราใช้อาหารชนิดนี้แล้วลูกกล้วยเกิดไม่เจริญเติบโตไม่มีการพัฒนาการ
จะได้ทราบว่าเป็นสาเหตุจากอาหาร ไม่มีคุณภาพดีพอ ไม่ใช่ปัจจัยอื่นๆ ครับ
ถ้าท่านทำหลายๆครั้งจนเกิดทักษะชำนาน ท่านจะใช้ อะไรใส่ก็ได้ไม่มีปัญหาครับ
เพราะท่านจะทราบปัญหา และการป้องกันครับ
ผมเองบางครั้งก็ทำใส่ถุงร้อนใส่อาหาร เพื่อลดค่าขนส่งในการส่งไปต่างประเทศ
ก็หาทางป้องกัน และระมัดระวังเอาครับ เช่นต้องเพิ่มคารบ้อนในอาหารเพื่อป้องกัน
การกระเทือน ในขบวนการขนส่ง
เมื่อรากได้รับความกระทบกระเทือน เกิดบาดแผล หรือช้ำ
พืชจะหลั่งสารEnzyme ชนิดหนึ่งคือ Polyphenol Oxidase (PPO)
เมื่อไปรวมกับ อ๊อกซิเจนในอากาศ จะได้สารสีน้ำตาลหรือ Browning
ซึ่งสารนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมอาหารของรากอ่อน ทำให้พืช
ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ครับ
การใส่ คาร์บ้อน จะเป็นการดูดจับสาร Polyphenol ไม่ให้สัมผัสกับ
อ๊อกซิเจ่นในอากาศได้โดยตรง เพื่อแก้ปัญหาการเกิด Browing
หล่าวนี้เป็นต้น ครับ
ในระยะแรก ท่านไม่ต้องทำ ซับ ก็ได้ ลูกกล้วยจากขวด 4 และ 8อ๊อนซ์
ได้จำนวนแค่ใหนก็เอาแค่นั้นก่อนก็ได้ครับ จากอุปกรณที่ท่านทำครั้งละ 30 ขวด
รุ่นๆหนึ่งที่ทำ ท่านจะได้ลูกกล้วยประมาณ
120 ถึง 150 ต้น ครับ ถ้าไม่มี การปนเปื้อนติดเชื้อ คอนทามิเนท เลย นะครับ
รุ่นแรกนี้ท่านได้ซัก 15ขวด จาก30ขวด ผมว่าท่านสอบผ่านแล้วละครับ
กระดาษลิสมัส พึ่งมาถึงวันนี้ครับใ
เขาแจ้งว่าผสม ทั้งน้ำตาล ทั้ง วุ้นมาแล้ว ขนาดสิบลิตรครับ ขวดนั้น
เดี๋ยวคืนนี้นั่งดูที่เขาอธิบายอิกที่ครับ
ในเบื้องต้น แนะนำให้ท่านทำอาหาร ครั้งละหนึ่งลิตร
กรอกใส่ขวดจะได้ประมาณ 30 ขวด ขนาด4อ๊อนซ์ หรือ 8อ๊อนซ์ ครับ
แบ่งอาหารออกเป็นสิบส่วนโดยน้ำหนัก เอามาหนึ่งส่วน
ผสมน่ำกลั่น 1ลิตร (ผู้ขายแจ้งว่าอาหารหนึ่งขวดผสมน้ำได้ สิบลิตร)
น้ำกลั่นมีขายขวดละหนึ่งลิตรพอดี
กวนให้ละลายให้หมด
เช็ดปรับpH ให้ได้
แล้วเอาขึ้นเตา กวนให้วุ้นละลายให้หมด ไม่ต้องรอเดือด
เคี่ยวนานไม่ดีครับ วุ้นเมื่อเอาไปนึ่งแล้วจะไม่แข็งตัวเช่นกัน ครับ
เอากรอกใส่ขวด ขวดละประมาณ 30 cc (ประมาณ เศษหนึ่งส่วนสี่ ของขวด 4อ๊อนซ์ ครับ)
ปิดฝาพออยู่ ไม่ต้องแน่น
เอาไปนึ่งได้เลย ครับ
ทีนี้ สมมุติว่า
เราเพาะจนได้ต้นในขวดเล็กๆแล้ว
เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ
แล้วถ้าเรา?
สามารถย้ายไปเลี้ยงในกล่องกลาสติก ใสๆ ใหญ่ๆ ที่เตรียมอาหารแล้ว ซิลฝา เจาะรู ได้ไหม
เริ่มนอกเรื่องที่ครู สอนละ
เราต้องย้ายไปใส้ขวดแบ็ลกหรือครับ
-------------------------------------------
จำเป็นต้องย้าย แต่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นขวดแบล็ก ครับ
ปกติในขวด 4อ๊อนซ์ อาหารจะถูกต้นอ่อน ดูดซึมนำไปใช้
จนเริ่มหมดคุณภาพประมาณ 45 วัน เต็มที่สูงสุดที่จะอยู่ได้ ก็ไม่เกิน 50 วัน ครับ
จะเกิดแก๊สภายในขวด ต้นไม้ในขวดจะเริ่มตายเนื่องจากอากาศภายใน
และการขาดสารอาหาร ครับ เราจึงต้องทำซับคัลเจอร์ เพื่อเปลี่ยนสารอาหาร
เปลี่ยนอากาศภายใน เป็นอากาศสะอาด ครับ
การใช้ขวดแบล็ก เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะหาง่ายร้านซื้อขายขวดแทบทุกร้าน
จะมีขายในราคาถูกครับ
ถ้าเราจะหาซื้อขวดที่บรรจุต้นอ่อนลูกกล้วยขนาดบรรจุ20-25 ต้น
จากร้านขายอุปกรณ์โดยตรง จะแพงกว่ามากครับ
และที่เป็นขวดแก้วเหลี่ยม เพราะสะดวก ขนย้ายง่าย ไม่ล้มกลิ้งไปมา
ขวดจะวางอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอ ไม่เอียง ไม่โยกเยก
รากจะถูกป้องกันไม่ให้กระทบกระเทือนจากภายนอก ได้ดี ซึ่ง
ต่างจากขวด หรือกล่องพลาสติกความไม่คงรูปของพลาสติก จะทำให้
สารอาหารวุ้นภายในกระเทือน รูทแฮหรือรากขนที่ปลายรากอ่อน
ขาดได้ง่าย ลูกกล้วยจะงัน จะไม่เจริญเติบโตตามปกติ
นอกจากนั้น กล่องพลาสติกที่ใช้ ถ้าไมใช่ฟูดเกรด เวลานึ่งโดนความร้อน
จะมีสารปิโตรเคมี ออกมาปนกับอาหาร ต้นไม้ไม่ถึงกับตาย แต่จะโตช้ามากครับ
กล่องพลาสติก ใช้ได้ แต่ต้องเป็นฟูดเกรด เบื้องต้นยังไม่แนะนำให้ท่านใช้
ไม่ต้องการให้เกิดตัวแปรหลายตัว เช่น 1 การกระเทือน 2เคมีในพลาสติก อื่นๆ
ถ้าเราใช้อาหารชนิดนี้แล้วลูกกล้วยเกิดไม่เจริญเติบโตไม่มีการพัฒนาการ
จะได้ทราบว่าเป็นสาเหตุจากอาหาร ไม่มีคุณภาพดีพอ ไม่ใช่ปัจจัยอื่นๆ ครับ
ถ้าท่านทำหลายๆครั้งจนเกิดทักษะชำนาน ท่านจะใช้ อะไรใส่ก็ได้ไม่มีปัญหาครับ
เพราะท่านจะทราบปัญหา และการป้องกันครับ
ผมเองบางครั้งก็ทำใส่ถุงร้อนใส่อาหาร เพื่อลดค่าขนส่งในการส่งไปต่างประเทศ
ก็หาทางป้องกัน และระมัดระวังเอาครับ เช่นต้องเพิ่มคารบ้อนในอาหารเพื่อป้องกัน
การกระเทือน ในขบวนการขนส่ง
เมื่อรากได้รับความกระทบกระเทือน เกิดบาดแผล หรือช้ำ
พืชจะหลั่งสารEnzyme ชนิดหนึ่งคือ Polyphenol Oxidase (PPO)
เมื่อไปรวมกับ อ๊อกซิเจนในอากาศ จะได้สารสีน้ำตาลหรือ Browning
ซึ่งสารนี้จะไปขัดขวางการดูดซึมอาหารของรากอ่อน ทำให้พืช
ดูดซึมอาหารได้ไม่ดี ไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร ครับ
การใส่ คาร์บ้อน จะเป็นการดูดจับสาร Polyphenol ไม่ให้สัมผัสกับ
อ๊อกซิเจ่นในอากาศได้โดยตรง เพื่อแก้ปัญหาการเกิด Browing
หล่าวนี้เป็นต้น ครับ
ในระยะแรก ท่านไม่ต้องทำ ซับ ก็ได้ ลูกกล้วยจากขวด 4 และ 8อ๊อนซ์
ได้จำนวนแค่ใหนก็เอาแค่นั้นก่อนก็ได้ครับ จากอุปกรณที่ท่านทำครั้งละ 30 ขวด
รุ่นๆหนึ่งที่ทำ ท่านจะได้ลูกกล้วยประมาณ
120 ถึง 150 ต้น ครับ ถ้าไม่มี การปนเปื้อนติดเชื้อ คอนทามิเนท เลย นะครับ
รุ่นแรกนี้ท่านได้ซัก 15ขวด จาก30ขวด ผมว่าท่านสอบผ่านแล้วละครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-26
แจ๋วครับ แต่กระดาษรองตัดไม่ต้องม้วนนะครับ ห่อแบนๆเม้มขอบ
ห่อหนึ่งมี5 แผ่น ครับ
มีดกับฟอร์เซบ ห่อรวมกัน ห่อละชุด ครับ
เพราะเราจะใช้เป็นคู่เหมือนช้อนกับซ่อม
เปรียบได้ว่า ฟอร์เซบ คือซ่อม มีดคือช้อน ครับ
วิธีการ เผาฟอรเซบและมีดเตรียมตัด และการตัดให้ได้ขนาด
ไม่ทราบว่าคุณน้องแจ่ม หาซื้อกระดาษเทส pH ได้แล้วหรือยัง
ผมมีเวลา ก็ว่าไปเรื่อยๆก็แล้วกันนะครับ ต้องการให้อธิบายตรงใหนให้ละเอียด
ก็ถามเพิ่มเติมมาได้เลยนะครับ
ก่อนจะหยิบอุปกรณ์ ซองฟรอยที่นึ่งแล้ว ออกจากกล่องคลีนบ๊อกซ์ เก็บอุปกรณ์ที่นึ่งแล้ว
ท่านต้องล้างและเช็ดมือให้สะอาด เมื่อแห้งดีแล้วให้เสเปรย์แอลกอฮอที่ฝ่ามือ
ซอกเล็บ แล้วถูๆ และ สเปรย์ฟ๊อกกี้ ฉีดแอลกอฮอ ไปเหนือกล่องที่จะเปิด
เปิดกล่อง หยิบอุปกรณ์ที่จะใช้
ใส่ ในตู้ (ตู้ได้ผ่านการ ทำUVวอมร์ ฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงนะครับ)
ชุดตะเกียง แร็ค ขวด8อ๊อนซ์ ถาดรองตัด ซองฟรอยกระดาษรองตัด
ซองฟรอยผ้าทำความสะอาด ซองฟรอยด้ามมีด กับปากคีบ สองถึงสามชุด แล้วแต่มี ครับ
ก่อนเอามือเข้าตู้ให้สเปรย์มือทุกครั้ง สเปรย์ไฟแช็ก เอาวางไว้ในตู้
อย่าสเปรย์ แอลกอฮอในตู้ขณะจุดตะเกียงทำงาน ไฟจะใหม้ในตู้ ครับ
ผ้าทำความสะอาดนอกตู้เป็นผ้าสะอาดธรรมดา ผ้าทำความสะอาดในตู้เป็นผ้าห่อฟรอยนึ่ง
เติม แอลกอฮอ 95% ใส่ในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณครึ่งขวดเศษประมาณว่า เมื่อเราเอา
มีดใส่เพื่อจุ่มแอลกอฮอในขวด จะท่วมใบมีดขึ้นมาเล็กน้อย
เติม แอลกอฮอในตะเกียงครึ่งตะเกียง
แอลกอฮอ95%ที่เติมนี้จะบรรจุอยู่ในขวดพลาสติดบีบได้ปลายงอ แต่ถ้าไม่มี ก็ใช้ขวดพลาสติกปากเล็กๆ
ถ่ายจากถังใหญ่มาใส่ไว้ในขวด เอาไว้เติมตะเกียง กับเติมในขวดสำหรับจุ่มแช่ฟอร์เซบกับมีด ครับ
สเปรย์ซองใบมีดที่จะใช้ ทั้งสองเบอร์ ให้ไปฉีกและใส่ใบกับด้ามในตู้
สเปรย์มือ ฉีกซองใบมีด แกะฟรอยชุดด้ามมีดกับฟอร์เซบทั้งสองชุด ใส่ใบมีด
จับเฉพาะส่วนล่างบริเวณด้ามของอุปกรณทั้งหมด เอาปลายทั้งหมด ลงจุ่มในขวดแอลกอฮอ
ที่ตั้งอยู่มุมขวามือ ทั้งสองชุด จับที่ด้าม คนเขย่าเบาๆ
เปิดฝา จุดตะเกียงที่อยู่ซ้ายมือ เอามีดและฟอร์เซบแตะที่เปลวไฟ ไฟจะลุกติด
เฉพาะที่ส่วนปลายของอุปกรณ์
ทั้งหมดเอาวางบนแร็ค สอง สามนาที ไฟจะดับ คอยจนไฟดับจริงๆ
ทำใหม่แบบเดิม จุ่มลงในขวดแอลกอฮอขวามือ ต้องแน่ใจว่าไฟดับแล้วนะครับ
ไม่งั้นไฟจะติดลุกทั้งขวด
ถ้าทำไฟติดลุกขวด เอามีดและฟอร์เซบ ที่กำลังติดไฟ วางบนแร็ค ไม่ต้องรีบ
แล้ว ใช้ฝ้าทำความสะอาด กำ แล้วปิดโป๊ะไปบนปากขวด ไฟก็จะดับ แล้วครับ
ลองฝึกหัดทำไฟใหม้ขวดดู ก็จะได้ทักษะประสพการณ์ จะได้ไม่ตื่นเต้น จน
เอามือไปปัดหรือรีบจะเอามาวางที่แรคจนเอาปลายมีดหรือปลายฟอร์เซบ
ที่ไฟกำลังลุกไปปัดหรือเกี่ยวขวดแอลกอฮอที่กำลังติดไฟอยู่ในตู้ ล้ม
ไฟลุกทั้งตู้ครับ
อุบัติเหตุ พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาครับ ท่านต้องมีสติ ฝึกทำงานให้เป็น
รูทีน ฝึกจนท่านทำไปโดยอัตโนมัติ ครับ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
เผา จนครบสามครั้ง(สามรอบ) ท่านถึงจะนำมีดและฟอร์เซบ ทั้งสองชุด ไปใช้งานได้ครับ
ชิ้นงานที่ผ่านการฟอกทำความสะอาดแล้ว ให้วางอยู่บนกระดาษรองตัดซ้อนกันสองแผ่น
ในถาดรองตัด เรียบร้อยแล้ว
มือซ้ายหยิบด้ามฟอร์เซบ มือขวาหยิบด้ามมีด เบอร์10ปลายโค้ง
อย่าให้มือสัมผัส ส่วนปลายฟอร์เซบ และส่วนใบมีด ครับ
ถ้าไปโดน สัมผัสแล้ว ต้องเผา จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ ใหม่ ครับ
ปอก ตัดผิวส่วนนอก ที่สำผัสน้ำยาฟอก และน้ำนึ่ง ที่ผ่านการฟอกทำความสะอาด
ออกให้หมด
แท่งปลายเง่ากล้วย จากเดิมเป็นแท่งประมาณนิ้วโป้ง ก็จะเหลือเป็นชิ้นเล็กๆ
ประมาณหัวแม่มือ
ดังรูปล่างสุดที่เห็นเป็นยอดแหลมเล็กๆ รูปนั้นผ่านการปอกตัดผิว เรียบร้อย
พร้อมจะตัดแบ่ง แล้วครับ
เอาฟอรเซบและใบมีดที่ตัดแล้ว ล้างโดยการ จุ่มแช่ ลงในขวดแอลกอฮอขวามือ
แช่เอาไว้ในขวดก่อน
เอาฟอร์เซบอันใหม่ที่เผาไฟดับแล้วบนแรค มาคีบชิ้นงานที่แต่งผิวออกแล้ว
ไปวางพักบนกระดาษรองตัดแผ่นใหม่หนึ่งแผ่น วางปากคีบอันนี้ไว้บนแรค
รวบเศษชิ้นส่วนที่เกิดจากการตัด โดยการใช้ปากคีบอันเก่าที่แช่อยู่ในขวด
คีบจับมุมทั้งสี่พับกระดาษหุ้มชิ้นส่วน เอาออกจากถาดตัด เอาวางไว้ริมตู้
สิ่งนี้เราเรียกว่า "ขยะ"
เอาปาดคีบอันเก่าใส่ขวด เขย่าพร้อมมีดอันเก่าจนสะอาด แล้ว ทำขบวนการ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
เช็ดทำความสะอาด แผ่นถาดตัด ด้วยผ้านึ่ง
เอาฟอร์เซบอันที่ ที่เราคีบชิ้นส่วนที่แต่งแล้วเมื่อตะกี้
คีบเอากระดาษรองตัดแผ่นใหม่ ใส่ถาด สองแผ่น รองใส่ในถาดรองตัด
อย่าใช้มือจับ ครับ
ตอนนี้เราใช้กระดาษรองตัดครบ ห้าแผ่นแล้วนะครับ ในซองฟรอย
จะไม่มีกระดาษรองตัดแล้ว เอาซองฟรอย
มาห่อรอง ขยะที่เราเก็บพับห่อเอาไว้ริมตู้ ขยะในนี้เราจะทิ้งตอนเสร็จงานครับ
ระหว่างทำงานเราจะไม่เอามือออกนอกตู้เลยครับ
หยิมมีด ที่เผาแล้ว เบอร์ 11 ปลายแหลมบนแรค ด้วยมือขวา
ตัดผ่าชิ้นงานแนวตั้ง เป็นสองซีก ใช้ฟอร์เซบ ประคองในตอนตัด
ตัดแบ่งครึ่งตามยาวของแต่ละซีก จะได้ชิ้นงานเป็นสี่ชิ้น
แต่ละชิ้นจะตัดตามขวางออกเป็นสี่ชิ้น เช่นกัน
ชิ้นที่ตัดออกมาส่วนยอดสองชิ้นแรกเราจะไม่ตัดซอย อีกแล้วเพราะขนาด
จะพอดีใช้ได้แล้ว
แต่เราจะมาตัดสองชิ้นล่างที่ใหญ่กว่า แบ่งครึ่ง
เราจะได้ชิ้นงานทั้งหมด 6ชิ้น รวมทั้งหมด = 4 X 6 = 24 ชิ้นงาน
แต่ถ้าชิ้นงาน ชิ้นใหนที่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียว
ก็ให้ตัดครึ่งซอยลงได้อีก
ตัดเสร็จแล้ว ได้ชิ้นงาน ประมาณ 24 ถึง 32 ชิ้นงานครับ
เอามีดและฟอร์เซบ ลงแช่ ในขวด
เปิดขวดอาหารวุ้น โดย ก่อนเปิดฝาขวด ให้รนไฟ บริเวณรอยต่อ
ระหว่างฝาขวดกับตัวขวด โดยหมุนขวดบนเปลวตะเกียง สองสามรอบ
พร้อมกับเอามือเปิดฝา วางฝาลงโดยการหงายฝา ถ้าทำชำนาญ
จะใช้ฝ่ามือกับนิ้วก้อยนิ้วนาง มือซ้ายประคอง อุ้มฝาเอาไว้
นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ มือซ้ายจะจับขวด
รนเปลวบริเวณปากขวดอีกครั้ง
เพื่อไล่อากาศฆ่าเชื้อบริเวณปากขวดและ กำจัดแก๊สที่เกิดในขวด
ถือขวดด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มือซ้าย โดยมีฝาขวดอยู่ที่อุ้งมือมีฝ่ามือกับนิ้วชี้และนิ้วก้อย
คีบอยู่ ใหม่ๆไม่ถนัด ก็ วางขวด และฝา อาหารวุ้นไว้ใกล้ๆถาดตัดนั่นแหละครับ
มือขวาหยิบเอา ปากคีบอันใหม่ อันที่ถูกเผาไฟ ที่วางอยู่บนแรค
โดยไฟได้ดับมาระยะหนึ่ง จนฟอรเซบเย็นแล้ว
มาคีบ ชิ้นงานที่ตัดแล้ว เอาจิ้มลงไปในขวด ให้จมลงไปในวุ้น ลึก
ประมาณ2มิล 4 ถึง 5 ชิ้นงาน ต่อหนึ่งขวด วาง ห่างๆกัน จะได้ไม่แย่งอาหารกันครับ
ปิดฝา ก่อนปิดหมุนรนไฟปากขวด เอามือหยิบฝาและปิดขันฝาเบาๆพออยู่
รนไฟบริเวณรอยต่อฝากับตัวขวดอีกครั้ง วางพักขวดที่ใส่ชิ้นเนื้อเยื้อแล้วไว้ริมๆตู้
ทำจนหมดชิ้นงาน ถึงค่อยเอาขวดออกจากตู้ในคราวเดียวกัน
เอามือออกจากตู้ สเปรย์มือ และอากาศเหนื้อกล่องที่จะเก็บขวดชิ้นงาน
เปิดฝากล่อง เอาขวดที่มีเนื้อเยื่อชิ้นงาน ทั้งหมด เรียงใส่ในกล่อง สเปรย์
ปากกล่อง ปิดฝา เอาวางไว้ในที่เย็นๆและร่มนิ่งๆก่อนสองวัน ครับ
กลับมาทำความสะอาดตู้เอา ขยะทั้งหมดทิ้ง ทำความสะอาดมีด ฟอรเซบด้วย
แอลกอฮอที่เหลือ แล้วเก็บใส่กล่องเอาไว้ใช้คราวต่อไป
สเปรย์ภายในตู้ เช็ดพื้น ผนัง ด้วยผ้านึ่งให้สะอาด เอาตะเกียงที่ดับไฟเรียบร้อยแล้ว แรก
ทิ้งไว้ในตู้ได้
แต่ขวดแช่ มีดฟอรเซบต้องเอาออกมาทำความสะอาด เพราะจะมีเศษพืชที่เราตัด
อยู่ก้นขวดมากมาย ครับ
ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ปิดกระจกหน้า เปิดพัดลงไล่อากาศ สิบนาที ตู้ท่านพื้นเจาะรู
จึงไม่ต้องแง้มกระจกแผ่นหน้า เอาผ้าคลุม เปิดหลอด UV อบไว้ครึ่งชั่วโมง ก่อนเลิกใช้ ครับ
ประมาณวันที่สามถึงค่อยยกกล่องออกมารับแดดตอนเช้าประมาณครึ่งชั่วโมงในวันแรก
และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้ถูกแดดมากขึ้น ชิ้นเนื้อเยื่อจะค่อยๆแทงยอด
ออกราก เกิดเป็นต้นกล้วยจิ๋วๆในขวด ให้เราภูมิใจครับ
ถ้าต้องการจะเพิ่มจำนวน หลังจาก 45วัน กล้วยจะเป็นต้นจิ๋วสูงประมาณ หนึ่งนิ้ว
ก็สามารถเอาทำตัดทำซับคัลเจอร์เปลี่ยนขวดอาหารเพิ่มจำนวนได้อีก
โดยต้นเล็กๆนี้เอาฟอร์เซบ คีบออกมา ตัดราก และใบ ออก ตัดลำต้นตามขวาง
ได้4 ถึง5 ชิ้น เอามาคีบจิ้มลงในอาหารขวดใหม่ ก็จะขยายจำนวนไปได้อีก
16 ถึง25 ต้น หรือได้อีก 4ถึง5ขวด
แต่ถ้าพอแล้ว ก็ทำอาหารวุ้นใส่ขวดใหญ่ แล้วคีบกล้วยจิ๋วในขวดเล็ก มาปักลง
ในขวดใหญ่ได้เลยครับ ประมาณ 20ถึง 25 ต้น ต่อขวด ครับ
แล้วเลี้ยงจนได้ขนาด ก็เอาออกจากขวดลงปลูกตามกรรมวิธีต่อไป ครับ
ห่อหนึ่งมี5 แผ่น ครับ
มีดกับฟอร์เซบ ห่อรวมกัน ห่อละชุด ครับ
เพราะเราจะใช้เป็นคู่เหมือนช้อนกับซ่อม
เปรียบได้ว่า ฟอร์เซบ คือซ่อม มีดคือช้อน ครับ
วิธีการ เผาฟอรเซบและมีดเตรียมตัด และการตัดให้ได้ขนาด
ไม่ทราบว่าคุณน้องแจ่ม หาซื้อกระดาษเทส pH ได้แล้วหรือยัง
ผมมีเวลา ก็ว่าไปเรื่อยๆก็แล้วกันนะครับ ต้องการให้อธิบายตรงใหนให้ละเอียด
ก็ถามเพิ่มเติมมาได้เลยนะครับ
ก่อนจะหยิบอุปกรณ์ ซองฟรอยที่นึ่งแล้ว ออกจากกล่องคลีนบ๊อกซ์ เก็บอุปกรณ์ที่นึ่งแล้ว
ท่านต้องล้างและเช็ดมือให้สะอาด เมื่อแห้งดีแล้วให้เสเปรย์แอลกอฮอที่ฝ่ามือ
ซอกเล็บ แล้วถูๆ และ สเปรย์ฟ๊อกกี้ ฉีดแอลกอฮอ ไปเหนือกล่องที่จะเปิด
เปิดกล่อง หยิบอุปกรณ์ที่จะใช้
ใส่ ในตู้ (ตู้ได้ผ่านการ ทำUVวอมร์ ฆ่าเชื้อมาแล้วอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงนะครับ)
ชุดตะเกียง แร็ค ขวด8อ๊อนซ์ ถาดรองตัด ซองฟรอยกระดาษรองตัด
ซองฟรอยผ้าทำความสะอาด ซองฟรอยด้ามมีด กับปากคีบ สองถึงสามชุด แล้วแต่มี ครับ
ก่อนเอามือเข้าตู้ให้สเปรย์มือทุกครั้ง สเปรย์ไฟแช็ก เอาวางไว้ในตู้
อย่าสเปรย์ แอลกอฮอในตู้ขณะจุดตะเกียงทำงาน ไฟจะใหม้ในตู้ ครับ
ผ้าทำความสะอาดนอกตู้เป็นผ้าสะอาดธรรมดา ผ้าทำความสะอาดในตู้เป็นผ้าห่อฟรอยนึ่ง
เติม แอลกอฮอ 95% ใส่ในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณครึ่งขวดเศษประมาณว่า เมื่อเราเอา
มีดใส่เพื่อจุ่มแอลกอฮอในขวด จะท่วมใบมีดขึ้นมาเล็กน้อย
เติม แอลกอฮอในตะเกียงครึ่งตะเกียง
แอลกอฮอ95%ที่เติมนี้จะบรรจุอยู่ในขวดพลาสติดบีบได้ปลายงอ แต่ถ้าไม่มี ก็ใช้ขวดพลาสติกปากเล็กๆ
ถ่ายจากถังใหญ่มาใส่ไว้ในขวด เอาไว้เติมตะเกียง กับเติมในขวดสำหรับจุ่มแช่ฟอร์เซบกับมีด ครับ
สเปรย์ซองใบมีดที่จะใช้ ทั้งสองเบอร์ ให้ไปฉีกและใส่ใบกับด้ามในตู้
สเปรย์มือ ฉีกซองใบมีด แกะฟรอยชุดด้ามมีดกับฟอร์เซบทั้งสองชุด ใส่ใบมีด
จับเฉพาะส่วนล่างบริเวณด้ามของอุปกรณทั้งหมด เอาปลายทั้งหมด ลงจุ่มในขวดแอลกอฮอ
ที่ตั้งอยู่มุมขวามือ ทั้งสองชุด จับที่ด้าม คนเขย่าเบาๆ
เปิดฝา จุดตะเกียงที่อยู่ซ้ายมือ เอามีดและฟอร์เซบแตะที่เปลวไฟ ไฟจะลุกติด
เฉพาะที่ส่วนปลายของอุปกรณ์
ทั้งหมดเอาวางบนแร็ค สอง สามนาที ไฟจะดับ คอยจนไฟดับจริงๆ
ทำใหม่แบบเดิม จุ่มลงในขวดแอลกอฮอขวามือ ต้องแน่ใจว่าไฟดับแล้วนะครับ
ไม่งั้นไฟจะติดลุกทั้งขวด
ถ้าทำไฟติดลุกขวด เอามีดและฟอร์เซบ ที่กำลังติดไฟ วางบนแร็ค ไม่ต้องรีบ
แล้ว ใช้ฝ้าทำความสะอาด กำ แล้วปิดโป๊ะไปบนปากขวด ไฟก็จะดับ แล้วครับ
ลองฝึกหัดทำไฟใหม้ขวดดู ก็จะได้ทักษะประสพการณ์ จะได้ไม่ตื่นเต้น จน
เอามือไปปัดหรือรีบจะเอามาวางที่แรคจนเอาปลายมีดหรือปลายฟอร์เซบ
ที่ไฟกำลังลุกไปปัดหรือเกี่ยวขวดแอลกอฮอที่กำลังติดไฟอยู่ในตู้ ล้ม
ไฟลุกทั้งตู้ครับ
อุบัติเหตุ พร้อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาครับ ท่านต้องมีสติ ฝึกทำงานให้เป็น
รูทีน ฝึกจนท่านทำไปโดยอัตโนมัติ ครับ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
เผา จนครบสามครั้ง(สามรอบ) ท่านถึงจะนำมีดและฟอร์เซบ ทั้งสองชุด ไปใช้งานได้ครับ
ชิ้นงานที่ผ่านการฟอกทำความสะอาดแล้ว ให้วางอยู่บนกระดาษรองตัดซ้อนกันสองแผ่น
ในถาดรองตัด เรียบร้อยแล้ว
มือซ้ายหยิบด้ามฟอร์เซบ มือขวาหยิบด้ามมีด เบอร์10ปลายโค้ง
อย่าให้มือสัมผัส ส่วนปลายฟอร์เซบ และส่วนใบมีด ครับ
ถ้าไปโดน สัมผัสแล้ว ต้องเผา จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ ใหม่ ครับ
ปอก ตัดผิวส่วนนอก ที่สำผัสน้ำยาฟอก และน้ำนึ่ง ที่ผ่านการฟอกทำความสะอาด
ออกให้หมด
แท่งปลายเง่ากล้วย จากเดิมเป็นแท่งประมาณนิ้วโป้ง ก็จะเหลือเป็นชิ้นเล็กๆ
ประมาณหัวแม่มือ
ดังรูปล่างสุดที่เห็นเป็นยอดแหลมเล็กๆ รูปนั้นผ่านการปอกตัดผิว เรียบร้อย
พร้อมจะตัดแบ่ง แล้วครับ
เอาฟอรเซบและใบมีดที่ตัดแล้ว ล้างโดยการ จุ่มแช่ ลงในขวดแอลกอฮอขวามือ
แช่เอาไว้ในขวดก่อน
เอาฟอร์เซบอันใหม่ที่เผาไฟดับแล้วบนแรค มาคีบชิ้นงานที่แต่งผิวออกแล้ว
ไปวางพักบนกระดาษรองตัดแผ่นใหม่หนึ่งแผ่น วางปากคีบอันนี้ไว้บนแรค
รวบเศษชิ้นส่วนที่เกิดจากการตัด โดยการใช้ปากคีบอันเก่าที่แช่อยู่ในขวด
คีบจับมุมทั้งสี่พับกระดาษหุ้มชิ้นส่วน เอาออกจากถาดตัด เอาวางไว้ริมตู้
สิ่งนี้เราเรียกว่า "ขยะ"
เอาปาดคีบอันเก่าใส่ขวด เขย่าพร้อมมีดอันเก่าจนสะอาด แล้ว ทำขบวนการ
จุ่มแช่ แตะไฟ วางบนแรค ไฟดับ
เช็ดทำความสะอาด แผ่นถาดตัด ด้วยผ้านึ่ง
เอาฟอร์เซบอันที่ ที่เราคีบชิ้นส่วนที่แต่งแล้วเมื่อตะกี้
คีบเอากระดาษรองตัดแผ่นใหม่ ใส่ถาด สองแผ่น รองใส่ในถาดรองตัด
อย่าใช้มือจับ ครับ
ตอนนี้เราใช้กระดาษรองตัดครบ ห้าแผ่นแล้วนะครับ ในซองฟรอย
จะไม่มีกระดาษรองตัดแล้ว เอาซองฟรอย
มาห่อรอง ขยะที่เราเก็บพับห่อเอาไว้ริมตู้ ขยะในนี้เราจะทิ้งตอนเสร็จงานครับ
ระหว่างทำงานเราจะไม่เอามือออกนอกตู้เลยครับ
หยิมมีด ที่เผาแล้ว เบอร์ 11 ปลายแหลมบนแรค ด้วยมือขวา
ตัดผ่าชิ้นงานแนวตั้ง เป็นสองซีก ใช้ฟอร์เซบ ประคองในตอนตัด
ตัดแบ่งครึ่งตามยาวของแต่ละซีก จะได้ชิ้นงานเป็นสี่ชิ้น
แต่ละชิ้นจะตัดตามขวางออกเป็นสี่ชิ้น เช่นกัน
ชิ้นที่ตัดออกมาส่วนยอดสองชิ้นแรกเราจะไม่ตัดซอย อีกแล้วเพราะขนาด
จะพอดีใช้ได้แล้ว
แต่เราจะมาตัดสองชิ้นล่างที่ใหญ่กว่า แบ่งครึ่ง
เราจะได้ชิ้นงานทั้งหมด 6ชิ้น รวมทั้งหมด = 4 X 6 = 24 ชิ้นงาน
แต่ถ้าชิ้นงาน ชิ้นใหนที่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดถั่วเขียว
ก็ให้ตัดครึ่งซอยลงได้อีก
ตัดเสร็จแล้ว ได้ชิ้นงาน ประมาณ 24 ถึง 32 ชิ้นงานครับ
เอามีดและฟอร์เซบ ลงแช่ ในขวด
เปิดขวดอาหารวุ้น โดย ก่อนเปิดฝาขวด ให้รนไฟ บริเวณรอยต่อ
ระหว่างฝาขวดกับตัวขวด โดยหมุนขวดบนเปลวตะเกียง สองสามรอบ
พร้อมกับเอามือเปิดฝา วางฝาลงโดยการหงายฝา ถ้าทำชำนาญ
จะใช้ฝ่ามือกับนิ้วก้อยนิ้วนาง มือซ้ายประคอง อุ้มฝาเอาไว้
นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ มือซ้ายจะจับขวด
รนเปลวบริเวณปากขวดอีกครั้ง
เพื่อไล่อากาศฆ่าเชื้อบริเวณปากขวดและ กำจัดแก๊สที่เกิดในขวด
ถือขวดด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วชี้มือซ้าย โดยมีฝาขวดอยู่ที่อุ้งมือมีฝ่ามือกับนิ้วชี้และนิ้วก้อย
คีบอยู่ ใหม่ๆไม่ถนัด ก็ วางขวด และฝา อาหารวุ้นไว้ใกล้ๆถาดตัดนั่นแหละครับ
มือขวาหยิบเอา ปากคีบอันใหม่ อันที่ถูกเผาไฟ ที่วางอยู่บนแรค
โดยไฟได้ดับมาระยะหนึ่ง จนฟอรเซบเย็นแล้ว
มาคีบ ชิ้นงานที่ตัดแล้ว เอาจิ้มลงไปในขวด ให้จมลงไปในวุ้น ลึก
ประมาณ2มิล 4 ถึง 5 ชิ้นงาน ต่อหนึ่งขวด วาง ห่างๆกัน จะได้ไม่แย่งอาหารกันครับ
ปิดฝา ก่อนปิดหมุนรนไฟปากขวด เอามือหยิบฝาและปิดขันฝาเบาๆพออยู่
รนไฟบริเวณรอยต่อฝากับตัวขวดอีกครั้ง วางพักขวดที่ใส่ชิ้นเนื้อเยื้อแล้วไว้ริมๆตู้
ทำจนหมดชิ้นงาน ถึงค่อยเอาขวดออกจากตู้ในคราวเดียวกัน
เอามือออกจากตู้ สเปรย์มือ และอากาศเหนื้อกล่องที่จะเก็บขวดชิ้นงาน
เปิดฝากล่อง เอาขวดที่มีเนื้อเยื่อชิ้นงาน ทั้งหมด เรียงใส่ในกล่อง สเปรย์
ปากกล่อง ปิดฝา เอาวางไว้ในที่เย็นๆและร่มนิ่งๆก่อนสองวัน ครับ
กลับมาทำความสะอาดตู้เอา ขยะทั้งหมดทิ้ง ทำความสะอาดมีด ฟอรเซบด้วย
แอลกอฮอที่เหลือ แล้วเก็บใส่กล่องเอาไว้ใช้คราวต่อไป
สเปรย์ภายในตู้ เช็ดพื้น ผนัง ด้วยผ้านึ่งให้สะอาด เอาตะเกียงที่ดับไฟเรียบร้อยแล้ว แรก
ทิ้งไว้ในตู้ได้
แต่ขวดแช่ มีดฟอรเซบต้องเอาออกมาทำความสะอาด เพราะจะมีเศษพืชที่เราตัด
อยู่ก้นขวดมากมาย ครับ
ทำความสะอาดเสร็จแล้ว ปิดกระจกหน้า เปิดพัดลงไล่อากาศ สิบนาที ตู้ท่านพื้นเจาะรู
จึงไม่ต้องแง้มกระจกแผ่นหน้า เอาผ้าคลุม เปิดหลอด UV อบไว้ครึ่งชั่วโมง ก่อนเลิกใช้ ครับ
ประมาณวันที่สามถึงค่อยยกกล่องออกมารับแดดตอนเช้าประมาณครึ่งชั่วโมงในวันแรก
และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาให้ถูกแดดมากขึ้น ชิ้นเนื้อเยื่อจะค่อยๆแทงยอด
ออกราก เกิดเป็นต้นกล้วยจิ๋วๆในขวด ให้เราภูมิใจครับ
ถ้าต้องการจะเพิ่มจำนวน หลังจาก 45วัน กล้วยจะเป็นต้นจิ๋วสูงประมาณ หนึ่งนิ้ว
ก็สามารถเอาทำตัดทำซับคัลเจอร์เปลี่ยนขวดอาหารเพิ่มจำนวนได้อีก
โดยต้นเล็กๆนี้เอาฟอร์เซบ คีบออกมา ตัดราก และใบ ออก ตัดลำต้นตามขวาง
ได้4 ถึง5 ชิ้น เอามาคีบจิ้มลงในอาหารขวดใหม่ ก็จะขยายจำนวนไปได้อีก
16 ถึง25 ต้น หรือได้อีก 4ถึง5ขวด
แต่ถ้าพอแล้ว ก็ทำอาหารวุ้นใส่ขวดใหญ่ แล้วคีบกล้วยจิ๋วในขวดเล็ก มาปักลง
ในขวดใหญ่ได้เลยครับ ประมาณ 20ถึง 25 ต้น ต่อขวด ครับ
แล้วเลี้ยงจนได้ขนาด ก็เอาออกจากขวดลงปลูกตามกรรมวิธีต่อไป ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-25
เรามีราชการกระทรวงศึกษาโล่ๆนี่เอง เด็กไทยถึงโง เอาควายไปอยู่ทั้งกระทรวง
กระดาษวัดค่าph
ร้านหมอไม่มี ร้านขายยาไม่มี ไม่แปลก
แปลกที่ร้านศึกษาภัณฑ์ไม่มีขาย
ร้านเกษตร ทั้งจังหวัด ไม่มี 5555
ประเด็นมันอยู่ที่ว่าระบบการศึกษาไทย เขาไม่สอนกันแล้วหรือ
วิทยาศาสตร์ การทดลอง แบบว่าเรียนที่โรงเรียน มาต่อที่บีาน
ร้านหมอไม่มี ไม่แปลก แต่ศึกษาภัณฑ์ไม่มี นี่ละแปลกมาก
เพรามันเป็นการบ่งบอกว่า การศึกษาไทยได้ตัดการเรียนรู้แบบพื้นฐาน บ้าน
ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำรงชิวิตจริง วันนี้เยาวชนไทย จึงไมดความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
นั่งรอ คนบอก ครูบอก เขาบอก ลอกเขามา ,...... ขอเป็นรัฐมนตรีศึกษาสักสี่ปี่ เขาว่างบกระทรวงนี้มันเยอะ 5555
================
แบบปากกา ใช้ง่าย แต่ยุ่งยากตอนเก็บรักษาและก่อนใช้ ต้องแคลลิเบรท (ปรับแต่ง) บ่อย และ
ต้องซื้อน้ำยาด่าง KOH จุ่มสำลีมาหุ้มหัวไว้เวลาเก็บ ด้วยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้โปรพ ด้าน ครับ
เริ่มแรกใช้กระดาษเทสเทียบสี แบบในรูปข้างบนจะมาตรฐานและ จะประหยัดกว่ามาก ครับ
ชื้อ1-14 กับ 4-7 สองม้วนประมาณ 900 บาท ใช้ได้ประมาณครึ่งปี ครับ
ผมซื้อนานแล้ว ลองโทรติดต่อแซกซายด์ ดูน่าจะมีครับ
ปรับ pH จะต้องใช้ ในตอนเริ่มแรก เพราะอาหารวุ้นเมื่อนึ่งออกมาแล้ว
ทิ้งให้เย็น จะแข็งตัวดี ไม่เละเป็นน้ำๆ (วุ้นไม่ยอมแข็งตัว)
pH ปรับให้ได้ประมาณ 5.6-5.8 ก่อนปรับปริมาตร
ถ้าสูงไปใส่กรด(น้ำส้มสายชู)ต่ำไปใส่ด่าง (KOH หรือผงฟูละลายน้ำ)
หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่นเพื่อมาปรับปริมาตรให้ได้ตามที่ บ.สารอาหารกำหนด
แล้วจึงยกขึ้นตั้งไฟ ใสวุ้นกวนๆ พอให้วุ้นละลายจนหมด แล้วยกลง
ไม่ต้องรอจนเดือด นำมากรอกใส่ขวด แล้วเอาไปนึ่งในซื้งต่อไป ครับ
ต้องใจเย็นปรับสารอาหารละลายน้ำให้pH ได้ ก่อนปรับปริมาตร นะครับ ก่อนตั้งไฟผสมวุ้น ครับ
วิธีนี้ สารอาหารเมื่อนึ่งแล้ว pHจะเปลี่ยนเล็กน้อย แต่สำหรับกล้วยแล้ว
ไม่เป็นไร ครับ
แต่ถ้าเราต้องการให้สารอาหารมี pH ที่ถูกต้องเปะๆ ไม่มีการคลาดเคลื่อนเลย
เราจะแยกกันปรับ ดังนี้ ครับ
สมมุติเราจะทำอาหาร ขนาดเมื่อปรับปริมาตรแล้วได้ ปริมาณหนึ่งลิตร
เราจะเอาผงสารอาหารที่เตรียมใช้กับขนาดหนึ่งลิตรใส่นำกลั่น 500 cc คนให้ละลายจนใส
แล้วปรับ pH จนได้ 5.6 - 5.8
เอาน้ำกลั่น 500 cc ที่เหลือ ใส่ผงวุ้น 4 ถึง 10 กรัม (ใช้ต่อลิตร)
ยกขึ้นตั้งไฟ คนให้ละลายจนใส แล้วยกลงปรับ pHให้ได้ 5.6 - 5.8 เช่นเดียวกัน
ผสม ส่วนผสมทั้งสอง ยกขึ้นตั้งไฟคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อละลายเข้ากันดีแล้ว ยกลง กรอกใส่ขวด
วิธีนี้ ค่า pH จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะไม่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
หลังจากนึ่งขวดอาหารแล้ว ครับ เหมาะสำหรับทำไม้ยากๆ ครับ
เช่นเอาไปทำไม้น้ำอนูเบียส หรือไม้ยากๆ ไม้ปราบเซียน หรือไม้ที่แทงยอดออกรากยากๆ
หรือ ไม้แซมปริ่งนำเข้าแพงๆ เราถึงจะทำแบบแยกกันปรับ pHครับ
แต่กล้วยไม่จำเป็น ต้องทำแบบนี้ ก็ได้ ครับ
แต่ถ้าทำอาหารบ่อยๆ ไปสักพัก ก็จะรู้มือ รู้สารอาหารที่ทำ ไม่ต้องวัด ก็พอดี
ไม่ต้องปรับอะไร นึ่งออกมาก็ไม่เละ ค่าpH ก็ได้อยู่ในเร้จน์ ครับ
กระดาษวัดค่าph
ร้านหมอไม่มี ร้านขายยาไม่มี ไม่แปลก
แปลกที่ร้านศึกษาภัณฑ์ไม่มีขาย
ร้านเกษตร ทั้งจังหวัด ไม่มี 5555
ประเด็นมันอยู่ที่ว่าระบบการศึกษาไทย เขาไม่สอนกันแล้วหรือ
วิทยาศาสตร์ การทดลอง แบบว่าเรียนที่โรงเรียน มาต่อที่บีาน
ร้านหมอไม่มี ไม่แปลก แต่ศึกษาภัณฑ์ไม่มี นี่ละแปลกมาก
เพรามันเป็นการบ่งบอกว่า การศึกษาไทยได้ตัดการเรียนรู้แบบพื้นฐาน บ้าน
ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำรงชิวิตจริง วันนี้เยาวชนไทย จึงไมดความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
นั่งรอ คนบอก ครูบอก เขาบอก ลอกเขามา ,...... ขอเป็นรัฐมนตรีศึกษาสักสี่ปี่ เขาว่างบกระทรวงนี้มันเยอะ 5555
================
แบบปากกา ใช้ง่าย แต่ยุ่งยากตอนเก็บรักษาและก่อนใช้ ต้องแคลลิเบรท (ปรับแต่ง) บ่อย และ
ต้องซื้อน้ำยาด่าง KOH จุ่มสำลีมาหุ้มหัวไว้เวลาเก็บ ด้วยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้โปรพ ด้าน ครับ
เริ่มแรกใช้กระดาษเทสเทียบสี แบบในรูปข้างบนจะมาตรฐานและ จะประหยัดกว่ามาก ครับ
ชื้อ1-14 กับ 4-7 สองม้วนประมาณ 900 บาท ใช้ได้ประมาณครึ่งปี ครับ
ผมซื้อนานแล้ว ลองโทรติดต่อแซกซายด์ ดูน่าจะมีครับ
ปรับ pH จะต้องใช้ ในตอนเริ่มแรก เพราะอาหารวุ้นเมื่อนึ่งออกมาแล้ว
ทิ้งให้เย็น จะแข็งตัวดี ไม่เละเป็นน้ำๆ (วุ้นไม่ยอมแข็งตัว)
pH ปรับให้ได้ประมาณ 5.6-5.8 ก่อนปรับปริมาตร
ถ้าสูงไปใส่กรด(น้ำส้มสายชู)ต่ำไปใส่ด่าง (KOH หรือผงฟูละลายน้ำ)
หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่นเพื่อมาปรับปริมาตรให้ได้ตามที่ บ.สารอาหารกำหนด
แล้วจึงยกขึ้นตั้งไฟ ใสวุ้นกวนๆ พอให้วุ้นละลายจนหมด แล้วยกลง
ไม่ต้องรอจนเดือด นำมากรอกใส่ขวด แล้วเอาไปนึ่งในซื้งต่อไป ครับ
ต้องใจเย็นปรับสารอาหารละลายน้ำให้pH ได้ ก่อนปรับปริมาตร นะครับ ก่อนตั้งไฟผสมวุ้น ครับ
วิธีนี้ สารอาหารเมื่อนึ่งแล้ว pHจะเปลี่ยนเล็กน้อย แต่สำหรับกล้วยแล้ว
ไม่เป็นไร ครับ
แต่ถ้าเราต้องการให้สารอาหารมี pH ที่ถูกต้องเปะๆ ไม่มีการคลาดเคลื่อนเลย
เราจะแยกกันปรับ ดังนี้ ครับ
สมมุติเราจะทำอาหาร ขนาดเมื่อปรับปริมาตรแล้วได้ ปริมาณหนึ่งลิตร
เราจะเอาผงสารอาหารที่เตรียมใช้กับขนาดหนึ่งลิตรใส่นำกลั่น 500 cc คนให้ละลายจนใส
แล้วปรับ pH จนได้ 5.6 - 5.8
เอาน้ำกลั่น 500 cc ที่เหลือ ใส่ผงวุ้น 4 ถึง 10 กรัม (ใช้ต่อลิตร)
ยกขึ้นตั้งไฟ คนให้ละลายจนใส แล้วยกลงปรับ pHให้ได้ 5.6 - 5.8 เช่นเดียวกัน
ผสม ส่วนผสมทั้งสอง ยกขึ้นตั้งไฟคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อละลายเข้ากันดีแล้ว ยกลง กรอกใส่ขวด
วิธีนี้ ค่า pH จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะไม่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
หลังจากนึ่งขวดอาหารแล้ว ครับ เหมาะสำหรับทำไม้ยากๆ ครับ
เช่นเอาไปทำไม้น้ำอนูเบียส หรือไม้ยากๆ ไม้ปราบเซียน หรือไม้ที่แทงยอดออกรากยากๆ
หรือ ไม้แซมปริ่งนำเข้าแพงๆ เราถึงจะทำแบบแยกกันปรับ pHครับ
แต่กล้วยไม่จำเป็น ต้องทำแบบนี้ ก็ได้ ครับ
แต่ถ้าทำอาหารบ่อยๆ ไปสักพัก ก็จะรู้มือ รู้สารอาหารที่ทำ ไม่ต้องวัด ก็พอดี
ไม่ต้องปรับอะไร นึ่งออกมาก็ไม่เละ ค่าpH ก็ได้อยู่ในเร้จน์ ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-24
Re: ลุงแจ่ม จะเพาะเนื้อเยื่อ
« สิงหาคม 23, 2014, 08:47:47 PM »
เสียดายครับ ต้นลงดินใหญ่แล้ว
ผมว่าท่านหาหน่อเล็กๆขนาดสูงซักศอกหนึ่ง ที่มันงอกจากกล้วยอะไรก็ได้
มาทำดีกว่า ครับ
เริ่มทำ ครั้ง สองครั้ง แรก อย่าไปหวังกับมันมากนักครับ
ทำใจอาจติดเชื้อหมดทุกขวดก็ได้ครับ
อย่าเพิ่งรีบเอากล้วยดีๆมาทำ ครับ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไปครับ
ให้รู้วิธีที่ถูกต้องซะก่อนดีกว่าครับ ต่อไปจะได้เกิดทักษะ
ความชำนาญแล้วจะดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ
รูปนี้เป็นวิธีเตรียมปอกเจียนตัดเง่ากล้วย จนถึงรูปข้างล่าง ก่อนนำไปฟอกล้าง
บริเวณที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญของกล้วย จะอยู่บริเวณส่วนบนของเง่ากล้วยต่อกับกาบของใบกล้วย
ให้เราปอกลอกออกจนเห็นเป็นยอดแหลมๆเล็กๆ จากเง่ากล้วย ครับ ตัดแต่งให้เหลือเง่าครึ่งนึง
ยอดแหลมครึ่งนึง ให้ได้ขนาดที่จะใส่ลงไปในขวด 8 อ๊อนซ์ พอหลวมๆ สูงประมาณเกือบถึงครึ่งขวด ครับ
รูปจาก ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี กรมส่งเสริมการเกษตร
ก่อนการตัดแต่งให้เตรียม
-แอลกอฮอ95% ใส่ในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณเศษสามส่วนสี่ ของขวด
-ไฮเตอร์เข้มข้น 20% ใส่ลงในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณครึ่งขวดเศษ
-ไฮเตอร์เข้มข้น 5% ใส่ลงในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณครึ่งขวดเศษ
-และน้ำที่นึ่งแล้ว ใส่ในขวด 8อ๊อนซ์ ประมาณครึ่งขวดเศษ อีกสามขวด
การฟอกล้าง
เมื่อได้แกนเง่ากล้วยช่วงที่ต่อกับลำต้นแหลมๆเล็กๆ ขนาดประมาณนิ้วหัวแม่มือมาแล้ว
(ขนาดประมาณ รูปที่สี่ขวาสุด) ให้ทำตามขั้นตอน ต่อไปนี้
1. นำไปจุ่มในแอลกอฮอ 95% เขย่า2-3ที แล้วเอาขึ้นเลย เพื่อลดแรงตึงผิว
2. นำไปใสในขวด 8อ๊อนซ์ที่มีไฮเตอร์20%ที่เตรียมไว้ พอท่วมชิ้นแกนเง่ากล้วย ปิดฝา
เขย่าเบาๆด้วยมือนานประมาณหนึ่งนาที พักประมาณหนึ่งนาที ทำสลับกันเรื่อยๆ จนครบ 15 นาที
3. เอาฟอร์เซ็บคีบชิ้นงาน มาใส่ ในขวดน้ำนึ่ง ขวดที่หนึ่ง ปิดฝาแล้วเขย่า หนึ่งพักหนึ่ง อีกห้านาที
4. เอาฟอร์เซ็บอันใหม่คีบชิ้นงาน มาใส่ ในขวดน้ำนึ่ง ขวดที่สองปิดฝาแล้วเขย่า หนึ่งพักหนึ่ง อีกห้านาที
5. เอาฟอร์เซ็บอันใหม่คีบชิ้นงาน มาใส่ ในขวดน้ำนึ่ง ขวดที่สามปิดฝาแล้วเขย่า หนึ่งพักหนึ่ง อีกห้านาที
6. คีบเอาเอาวางไว้บนกระดาษรองตัด ในตู้ ใช้มีดตัดผิวด้านนอกทิ้งออกให้หมด ให้เหลือขนาด
ประมาณรูปด้านล่าง ก่อนที่จะตัดซอยให้ได้ขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียว เอาฟอรเซบอันใหม่
ที่เผาไฟแล้ว คีบ ลงฝังปลูกในอาหารขวดขนาด 4อ๊อนซ์ ลึกประมาณ 2มิล 4เมล็ดต่อขวด ต่อไปครับ
หมายเหตุ ในขั้นตอนที่สอง หลังจากเขย่าแช่ในสารละลายไฮเตอร์ 20% แล้ว อาจเพิ่มอีกขั้นตอนหนึ่งโดยการเขย่าแช่ในขวด สารละลายไฮเตอร์ เข้มข้น 5% อีก10นาที จะยิ่งทำความสะอาดได้ดียิ่งขึ้น
เอาเท่านี้ก่อน คราวหน้าจะมาต่อวิธีการ เผาฟอรเซบและมีดเตรียมตัด และการตัดให้ได้ขนาด
เมล็ดถั่วเขียว ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-23
ปากช่อง50 ต้นไหนเหมาะที่จะพลีชีพ เป็นรายแรก
พันอื่นๆ มีน้อย เอาให้ชำนาญก่อน อันนี้มี สามสิบต้น
แต่วันนี้ไม่ไหวแล้ว เอานิ้วโป้ง ไปให้ค้อนทุบเล่น บวมแทบแตกเลย
================
เสียดายครับ ต้นลงดินใหญ่แล้ว
ผมว่าท่านหาหน่อเล็กๆขนาดสูงซักศอกหนึ่ง ที่มันงอกจากกล้วยอะไรก็ได้
มาทำดีกว่า ครับ
เริ่มทำ ครั้ง สองครั้ง แรก อย่าไปหวังกับมันมากนักครับ
ทำใจอาจติดเชื้อหมดทุกขวดก็ได้ครับ
อย่าเพิ่งรีบเอากล้วยดีๆมาทำ ครับ ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไปครับ
ให้รู้วิธีที่ถูกต้องซะก่อนดีกว่าครับ ต่อไปจะได้เกิดทักษะ
ความชำนาญแล้วจะดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ
รูปนี้เป็นวิธีเตรียมปอกเจียนตัดเง่ากล้วย จนถึงรูปข้างล่าง ก่อนนำไปฟอกล้าง
บริเวณที่เป็นเนื้อเยื่อเจริญของกล้วย จะอยู่บริเวณส่วนบนของเง่ากล้วยต่อกับกาบของใบกล้วย
ให้เราปอกลอกออกจนเห็นเป็นยอดแหลมๆเล็กๆ จากเง่ากล้วย ครับ ตัดแต่งให้เหลือเง่าครึ่งนึง
ยอดแหลมครึ่งนึง ให้ได้ขนาดที่จะใส่ลงไปในขวด 8 อ๊อนซ์ พอหลวมๆ สูงประมาณเกือบถึงครึ่งขวด ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-22
เรื่องการนึ่งอุปกรณ์ครับ
ผ้า เราแยกที่ละผืนหรือมัดรวม
ขวดผมมี 4/8ออน อย่างละ20 ที่นี้เวลานึ่งห่อฟรอย เราห่อแยก ที่ละขวด หรือห่อรวมที่ละหลายๆขวดได้
กระดาษ A4 ต้องนึ่งหรือเปล่า รองตัด แล้วนึ่งยังไง 555
เพราะพรุ่งนี้จะนึ่งอุปกรณ์ ทั้งหมด ก่อน ทำความสะอาด ตามครูสอน
คาดว่าวันต่อไปจะเป็นกุ๊ก ทำอาหาร
=========================
ผ้าเป็นผ้าขนหนูซับน้ำได้ดี ซัก ตากแดดให้สะอาด
แยกเป็นแต่ละผืน เอามาพับแล้วม้วน ห่อด้วยฟรอย เม้มตะเข็บแล้วเอาลงนึ่ง ครับ
ฝาขวด และขวด 4 และ 8 อ๊อนซ์ ล้าง ตากแดดให้แห้งสนิท
ไม่ต้องห่อฟรอย ทั้งฝาและขวด เอามาวางคว่ำในซึ้ง ซ้อนกันได้ ครับ
กระดาษA4รองตัด ตัดให้ใส่ลงพอดีกับ ถาดรองตัด ซ้อนกัน 5 แผ่น
ไม่ต้องม้วน พับ แล้วห่อฟรอยเม้มตะเข็บ แบนๆ อย่างนั้นแหละ ครับ
แร็ค ตะเกียง ฝาตะเกียง ไม่ต้องห่อฟรอย ล้างตากแดดแล้วนึ่งได้เลย ครับ
ด้ามมีด ฟอร์เซบจัดเป็นชุด แยกเป็นห่อละชุดครับ
ใบมีดเค้าทำสเตอรีไรยด์ฆ่าเชื้อ มาแล้วเอาไปแกะใส่ด้าม ในตู้
ใบมีดใหม่ไม่ต้องนึ่ง ใบเก่าใช้แล้วล้างต้องห่อฟรอยนึ่ง ครับ
ใส่ใบมีด กับด้ามมีดในตู้จะใส่ไม่ค่อยถนัด ระวังมีดบาดด้วยครับ ให้ฝึกถอดใส่ข้างนอกตู้เสียก่อน
เพื่อให้เกิดทักษะ ด้วยครับ ไม่ต้องห่วงมีโดนมีดบาดทุกรุ่นเช่นเดียวกัน ครับ
ใบมีดฝ่าตัด เวลาบาดจะไม่รู้สึกเจ็บเลย เพราะคมมาก มารู้อีกทีเห็นเลือดใหลแล้ว ครับ
ต้องระวังมากๆด้วยครับ
น้ำที่ใช้ฟอก ทำความสะอาด ชิ้นเนื้อเยื่อ เป็นน้ำสะอาด ใส่ขวดแก้วปากกว้างแบบมีฝาล๊อค
ขนาด 500 cc เปิดฝาไว้ เอาลงซึ้งนึ่ง ด้วย ครับ ถ้าหาไม่ได้ ขันอลูมิเนียมก็ได้ครับ
ของที่นึ่งแล้ว เราจะเก็บไว้ในกล่องสะอาด จะใช้ถึงค่อยนำออกมาใช้ ครับ
กล่องสะอาดควรมีสองกล่อง กล่องนึงใส่อุปกรณ์นึ่งแล้ว กล่องนี้ไม่เคลื่อนย้าย
อีกกล่องใส่ขวดที่เอาชิ้นเนื้อเยื่อลงแล้ว เพราะต้องยกเข้ายกออก เจ้ากล่องนี้
ให้ถูกแดดตอนเช้าๆทุกวัน จนกว่าจะทำซับคัลเจอร์ อีกครั้ง ครับ
ทุกวันด้วยครับ
ก่อนเปิด และปิด กล่องสะอาด อย่าลืมสเปรย์ฟ๊อกกี้ ที่มือแล้วถูๆกัน และ
สเปรย์ในอากาศเหนือกล่อง ด้วยนะครับ
=========
เกือบลืม ซึ้งที่ท่านนึ่งอุปกรณ์ทำเนื้อเยื่อ ท่านต้องเก็บรักษาให้ดี
ล้าง เช็ดให้แห้ง ตากแดด แล้วใส่ถุงเก็บ กันฝุ่น และเชื้อรา ครับ
อย่าเอาไปนึ่งซาเลาเปา หรือทำแป๊ะซะกิน เด็ดขาดเลยนะครับ
ถ้าเผลอทำไปแล้ว หรือใช้งานไประยะหนึ่ง
หลังจากล้าง ทำความสะอาดแล้ว
ให้ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแท้ของ อสร. และ ล้างด้วยไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซย
อีกครั้ง ด้วยนะครับ ตากให้แห้งสนิท แล้วถึงเก็บใส่ถุงไว้นะครับ
เดี๋ยวพอทำเนื้อเยื่อดังๆแล้วซื้อหม้อนึ่งโอโต้เค็บ เลยครับ งานจะเร็วขึ้น
สะอาดขึ้นเยอะครับ
ผ้า เราแยกที่ละผืนหรือมัดรวม
ขวดผมมี 4/8ออน อย่างละ20 ที่นี้เวลานึ่งห่อฟรอย เราห่อแยก ที่ละขวด หรือห่อรวมที่ละหลายๆขวดได้
กระดาษ A4 ต้องนึ่งหรือเปล่า รองตัด แล้วนึ่งยังไง 555
เพราะพรุ่งนี้จะนึ่งอุปกรณ์ ทั้งหมด ก่อน ทำความสะอาด ตามครูสอน
คาดว่าวันต่อไปจะเป็นกุ๊ก ทำอาหาร
=========================
ผ้าเป็นผ้าขนหนูซับน้ำได้ดี ซัก ตากแดดให้สะอาด
แยกเป็นแต่ละผืน เอามาพับแล้วม้วน ห่อด้วยฟรอย เม้มตะเข็บแล้วเอาลงนึ่ง ครับ
ฝาขวด และขวด 4 และ 8 อ๊อนซ์ ล้าง ตากแดดให้แห้งสนิท
ไม่ต้องห่อฟรอย ทั้งฝาและขวด เอามาวางคว่ำในซึ้ง ซ้อนกันได้ ครับ
กระดาษA4รองตัด ตัดให้ใส่ลงพอดีกับ ถาดรองตัด ซ้อนกัน 5 แผ่น
ไม่ต้องม้วน พับ แล้วห่อฟรอยเม้มตะเข็บ แบนๆ อย่างนั้นแหละ ครับ
แร็ค ตะเกียง ฝาตะเกียง ไม่ต้องห่อฟรอย ล้างตากแดดแล้วนึ่งได้เลย ครับ
ด้ามมีด ฟอร์เซบจัดเป็นชุด แยกเป็นห่อละชุดครับ
ใบมีดเค้าทำสเตอรีไรยด์ฆ่าเชื้อ มาแล้วเอาไปแกะใส่ด้าม ในตู้
ใบมีดใหม่ไม่ต้องนึ่ง ใบเก่าใช้แล้วล้างต้องห่อฟรอยนึ่ง ครับ
ใส่ใบมีด กับด้ามมีดในตู้จะใส่ไม่ค่อยถนัด ระวังมีดบาดด้วยครับ ให้ฝึกถอดใส่ข้างนอกตู้เสียก่อน
เพื่อให้เกิดทักษะ ด้วยครับ ไม่ต้องห่วงมีโดนมีดบาดทุกรุ่นเช่นเดียวกัน ครับ
ใบมีดฝ่าตัด เวลาบาดจะไม่รู้สึกเจ็บเลย เพราะคมมาก มารู้อีกทีเห็นเลือดใหลแล้ว ครับ
ต้องระวังมากๆด้วยครับ
น้ำที่ใช้ฟอก ทำความสะอาด ชิ้นเนื้อเยื่อ เป็นน้ำสะอาด ใส่ขวดแก้วปากกว้างแบบมีฝาล๊อค
ขนาด 500 cc เปิดฝาไว้ เอาลงซึ้งนึ่ง ด้วย ครับ ถ้าหาไม่ได้ ขันอลูมิเนียมก็ได้ครับ
ของที่นึ่งแล้ว เราจะเก็บไว้ในกล่องสะอาด จะใช้ถึงค่อยนำออกมาใช้ ครับ
กล่องสะอาดควรมีสองกล่อง กล่องนึงใส่อุปกรณ์นึ่งแล้ว กล่องนี้ไม่เคลื่อนย้าย
อีกกล่องใส่ขวดที่เอาชิ้นเนื้อเยื่อลงแล้ว เพราะต้องยกเข้ายกออก เจ้ากล่องนี้
ให้ถูกแดดตอนเช้าๆทุกวัน จนกว่าจะทำซับคัลเจอร์ อีกครั้ง ครับ
ทุกวันด้วยครับ
ก่อนเปิด และปิด กล่องสะอาด อย่าลืมสเปรย์ฟ๊อกกี้ ที่มือแล้วถูๆกัน และ
สเปรย์ในอากาศเหนือกล่อง ด้วยนะครับ
=========
เกือบลืม ซึ้งที่ท่านนึ่งอุปกรณ์ทำเนื้อเยื่อ ท่านต้องเก็บรักษาให้ดี
ล้าง เช็ดให้แห้ง ตากแดด แล้วใส่ถุงเก็บ กันฝุ่น และเชื้อรา ครับ
อย่าเอาไปนึ่งซาเลาเปา หรือทำแป๊ะซะกิน เด็ดขาดเลยนะครับ
ถ้าเผลอทำไปแล้ว หรือใช้งานไประยะหนึ่ง
หลังจากล้าง ทำความสะอาดแล้ว
ให้ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแท้ของ อสร. และ ล้างด้วยไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซย
อีกครั้ง ด้วยนะครับ ตากให้แห้งสนิท แล้วถึงเก็บใส่ถุงไว้นะครับ
เดี๋ยวพอทำเนื้อเยื่อดังๆแล้วซื้อหม้อนึ่งโอโต้เค็บ เลยครับ งานจะเร็วขึ้น
สะอาดขึ้นเยอะครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-21
กลับมาเรื่องน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับพืช ปกติที่นิยมใช้กัน มีสามตัวคือ
โซเดี้ยมไฮโปคลอไรต์ , แคลเซี่ยมไฮโปคลอไรต์ และ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
และไปบอกขอซื้อตามชื่อหล่าวนี้ บางครั้งคนขายก็อาจไม่รู้จักเช่นกัน
โซเดี้ยมคลอไรต์ 5.25% คือ คลอร๊อกซ์ หรือ ไฮเตอร์ หรือไฮยีน นั่นเอง
เวลาเอามาใช้ เราเอามาเจือจางด้วยน้ำ ให้ได้ความเข้มข้นเหลือ10 - 20% อีกทีครับ
ตัวอย่างเช่น ใช้ ไฮเตอร์ 20 cc. เราต้องเอามาผสมน้ำกลั่นอีก 80 cc. เราถึง
เอาน้ำผสมที่ได้ไปใช้ เขย่าล้างชิ้นส่วนตัวอย่าง ก่อนที่จะฟอกล้างด้วย
น้ำนึ่งฆ่าเชื้ออีกสามครั้ง ครับ ก่อนที่เราจะมาควักตายอด ตาข้าง ต่อไปครับ
ส่วนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ก็น้ำยาล้างแผลนั่นแหละครับ ใช้ชนิดเจือจาง
2 - 5 % ครับ
โซเดี้ยมไฮโปคลอไรต์ , แคลเซี่ยมไฮโปคลอไรต์ และ
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
และไปบอกขอซื้อตามชื่อหล่าวนี้ บางครั้งคนขายก็อาจไม่รู้จักเช่นกัน
โซเดี้ยมคลอไรต์ 5.25% คือ คลอร๊อกซ์ หรือ ไฮเตอร์ หรือไฮยีน นั่นเอง
เวลาเอามาใช้ เราเอามาเจือจางด้วยน้ำ ให้ได้ความเข้มข้นเหลือ10 - 20% อีกทีครับ
ตัวอย่างเช่น ใช้ ไฮเตอร์ 20 cc. เราต้องเอามาผสมน้ำกลั่นอีก 80 cc. เราถึง
เอาน้ำผสมที่ได้ไปใช้ เขย่าล้างชิ้นส่วนตัวอย่าง ก่อนที่จะฟอกล้างด้วย
น้ำนึ่งฆ่าเชื้ออีกสามครั้ง ครับ ก่อนที่เราจะมาควักตายอด ตาข้าง ต่อไปครับ
ส่วนไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ก็น้ำยาล้างแผลนั่นแหละครับ ใช้ชนิดเจือจาง
2 - 5 % ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-20
ค่อยๆอ่าน ทำความเข้าใจช้าๆครับ ผมว่าท่านทำได้แน่ๆ
ทำใหม่ๆอาจไม่ค่อยคล่อง ทำซ้ำๆก็จะค่อยๆคุ้นเคยไปเองครับ
หลอด UV อย่าใช้มือจับโดยตรง ไขมันจากมือจะทำให้หลอดเป็นรอย
ใส่ถุงมือผ้าเวลาจับหลอดUVครับ ผ้าที่เช็ดทำความสะอาดหลอดต้อง
ไม่เลอะไขมันหรือเช็ดไขมันมาก่อน ครับ
และก่อนเปิดหลอด UV ต้องปิดผ้าบังแสงก่อนทุกครั้งด้วยครับ
อย่ามองหลอดตรงๆขณะเปิดไฟ ความถี่ของแสงจะทำให้เยื่อตาเสียได้ครับ
ครบเวลาแล้วให้ปิดหลอดUVก่อน แล้วจึงเปิดผ้าคลุมออก ครับ
ต่อไปจะเป็นการตัด ควัก ฟอก ทำความสะอาดชิ้นงาน ก่อนเอามา ตัด
แบ่งชิ้นเนื้อเยื่อ ใส่ลงขวดอาหาร ครับ
สิ่งที่ต้องเตรียม น้ำยากัดผ้าขาว คลอร๊อก หรือไฮเตอร์
น้ำยาล้างแผล ไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซด์ 2-5 %
และน้ำสะอาด นึ่งแล้ว จำนวนหนึ่งแล้วแต่ชิ้นงาน
ชิ้นเนื้อเยื่อ เง่ากล้วย จำนวนหนึ่ง หรือยอดกล้วยที่ยังไม่เกิดปลี
ได้ทั้งสองอย่างยิ่งดี จะได้ทำเป็นทั้งคู่
ถ้าจะฟอกฝักกล้วยไม้ ก็ต้องเตียมแอลกอฮอ 95%
เอามาจุ่มแล้วเผา
ถ้าจะฟอกเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ต้องเตรียมถุงผ้าขาวบางเล็กๆ เอาไว้
ใส่เมล็ดที่ฟอกทำความสะอาด ครับ
ทำใหม่ๆอาจไม่ค่อยคล่อง ทำซ้ำๆก็จะค่อยๆคุ้นเคยไปเองครับ
หลอด UV อย่าใช้มือจับโดยตรง ไขมันจากมือจะทำให้หลอดเป็นรอย
ใส่ถุงมือผ้าเวลาจับหลอดUVครับ ผ้าที่เช็ดทำความสะอาดหลอดต้อง
ไม่เลอะไขมันหรือเช็ดไขมันมาก่อน ครับ
และก่อนเปิดหลอด UV ต้องปิดผ้าบังแสงก่อนทุกครั้งด้วยครับ
อย่ามองหลอดตรงๆขณะเปิดไฟ ความถี่ของแสงจะทำให้เยื่อตาเสียได้ครับ
ครบเวลาแล้วให้ปิดหลอดUVก่อน แล้วจึงเปิดผ้าคลุมออก ครับ
ต่อไปจะเป็นการตัด ควัก ฟอก ทำความสะอาดชิ้นงาน ก่อนเอามา ตัด
แบ่งชิ้นเนื้อเยื่อ ใส่ลงขวดอาหาร ครับ
สิ่งที่ต้องเตรียม น้ำยากัดผ้าขาว คลอร๊อก หรือไฮเตอร์
น้ำยาล้างแผล ไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซด์ 2-5 %
และน้ำสะอาด นึ่งแล้ว จำนวนหนึ่งแล้วแต่ชิ้นงาน
ชิ้นเนื้อเยื่อ เง่ากล้วย จำนวนหนึ่ง หรือยอดกล้วยที่ยังไม่เกิดปลี
ได้ทั้งสองอย่างยิ่งดี จะได้ทำเป็นทั้งคู่
ถ้าจะฟอกฝักกล้วยไม้ ก็ต้องเตียมแอลกอฮอ 95%
เอามาจุ่มแล้วเผา
ถ้าจะฟอกเมล็ดพันธุ์ทั่วไป ต้องเตรียมถุงผ้าขาวบางเล็กๆ เอาไว้
ใส่เมล็ดที่ฟอกทำความสะอาด ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-19
อีกคำถามกีอนนอน
พรุ่งนี้ ผมติดไฟเสร็จทั้งหมด
ขั้นตอนต่อไปคืออะไรครับ แบบว่าตู้พร้อมแล้ว
ใช่รมตู้ ก่อนหรือเปล่า
แล้วเวลาวัดph เนี่ย เอากระดาษลิสมัท วัดเอาได้หรือเปล่าครับ จะได้เตรียมถูก
นอนละครับท่านพี่
=======================
นึ่งผ้า ชาม และน้ำที่จะใช้ ทำความสะอาด 25 นาที หลังน้ำเดือด
อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าซักใหม่ ล้างมือ ด้วยน้ำยาล้างจาน สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอ
ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำนึ่งใส่ชามที่นึ่งแล้ว เอาผ้านึ่งชุบ บิดพอหมาดๆ
เช็ดทำความสะอาดภายในให้สะอาดจนหมดสิ่งสกปรกและไขมัน ไขมัน
เป็นอาหารของเชื้อรา และแบ็คทีเรีย ครับ
รอจนแห้ง
สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ภายในตู้ ให้ทั่ว แล้วเช็ดภายในด้วยผ้านึ่ง
อบรมฟูมตู้ ถ้ายังไม่มีด่างทับทิม กับฟอร์มาลีน
ก็ข้ามไปก่อน
แง้มตู้เล็กน้อย เปิดพัดลม ไล่อากาศ เอาอากาศสะอาดเข้าตู้ 10นาที
ปิดตู้เปิดหลอด UV เอาผ้าคลุมทิ้งไว้สักหนึ่งชั่วโมง ในครั้งแรกนี้นานหน่อย
ตู้พร้อมใช้แล้วครับ
ของทุกชิ้นที่จะเอาใส่ จัดเรียงไว้ในตู้ ต้องนึ่งทั้งหมด และแกะฟรอย เปิดใช้งานในตู้ ครับ
ทุกครั้งที่จะเอามือเข้าตู้ให้สเปรย์มือทุกครั้ง ครับ ชุดด้ามมีด ชุดฟอรเซ็บ กระดาษตัด
ผ้าเช็ดทำความสะอาด ล้างทำความสะอาด แล้วห่อฟรอย เอาไปนึ่งครับ
ตะเกียง(ครั้งแรกก่อนเติมแอลกอฮอ 95%) แร็ค ถาดตัด ต้องนึ่งทั้งหมด ครับ
ในตู้ให้จัดเรียงของดังนี้ ครับ
ตะเกียงอยู่มุมซ้ายด้านในสุด สำหรับคนถนัดขวา ตรงกลางเป็นแร็คสำหรับวางมีดและฟอรเซ็บ
หน้าแร็ควางถาดตัด ขวาสุดด้านในวางขวดทรงสูง ผมใช้ขวด 8อ๊อนซ์ ใส่แอลกอฮอครึ่งขวด
เอาไว้จุ่มแช่มีดกับฟอรเซ็บ
อย่าใส่น้อยเกินไปต่ำกว่าความสูงใบมีด และอย่าใส่มากเกินไปถ้าเกิดอุบัติเหตุขวดล้มในตู้
จะดับไฟยาก
ตะเกียงกับขวดแอลกอฮอ อาจสลับตำแหน่งกันได้ตามความถนัด แต่
จะต้องอยู่ตรงกันข้าม กันเสมอ
หลังจากเตรียม วางของใช้แล้วให้ เปิด ไล่อากาศและเปิดหลอด UV ครึ่งชั่วโมงก่อนใช้งาน ครับ
ระหว่างทำงาน ถ้าทำ ขวดแอลกอฮอ ล้ม เกิดไฟใหม้ในตู้ไม่ต้องตกใจ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1จับขวดตั้งก่อน แล้ว 2ปิดฝาตะเกียง แล้ว 3เอาผ้าที่อยู่ในตู้โป๊ะซับไปที่แอลกอฮอ
ที่กำลังลุกติดไฟ ไฟจะมาติดที่ผ้าแทน
รีบเอาออกทิ้งลงถังขยะนอกตู้ และเอาผ้าผืนใหม่ในตู้ซับซ้ำอีก จนไฟในตู้ดับ
ลองฝึก จุดไฟ ล้มขวด ดู ครั้งสองครั้งก็ได้ ครับ เพราะมีทำไฟใหม้ตู้ทุกรุ่นครับ
ผมถึงบอกว่าเริ่มใหม่ๆอย่าใช้ตู้กระดาษ หรือตู้ไม้ นอกจาก จะติดเชื้อ คอนทามิเนตง่าย
ทำให้เสียเวลา เสียของ เสียแซมปริ่งต้นแบบที่เรามาทำเนื้อเยื่อ ทำให้เราหมดกำลังใจทำงาน แล้ว
ไฟอาจใหม้บ้านได้ ด้วยครับ
แอลกอฮอที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในตะเกียง และใช้จุ่มล้าง แช่มีดและฟอร์เซ็บ
เป็นแอลกอฮอ 80 ถึง 95% แอลกอฮอ 80%ขึ้นไปถึงจะติดไฟได้ ครับ
แอลกอฮอที่ใส่ในขวดฟ๊อกกี้ ที่ใช้สเปรย์มือ สเปรย์ขวดงาน lสเปรย์ไฟแช็กใช้ในตู้ สเปรย์ตู้
เป็นแอลกอฮอ 75% ครับ
ถ้าใช้เปอรเซนต์สูงเช่น95% มาใส่ฟ๊อร์กี้ฉีด มันจะระเหยเร็วมาก เชื้อโรคยังไม่ทันตาย
แอลกอฮอมันระเหยหมดแล้ว ครับ
ทำไมสเปรย์แอลกอฮอถูกเชื้อโรคแล้วเชื้อโรคตาย เป็นเรื่องยาว อธิบายได้สองหน้า A4
ไว้เล่าทีหลังก็แล้วกันนะครับ เรื่องบางเรื่องไม่ต้องไปรู้มันก็ได้ครับ
เวลาซื้อ ให้ซื้อเอ็ดทิลแอลกอฮอ เท่านั้น ห้ามซื้อ ไอโซโพรพิ่วแอลกอฮอ
ห้ามซื้อ แม็ดทิลแอลกอฮอ และห้ามซื้อ เมทานอล ให้ซื้อเอ็ดทิลแอลกอฮอ มาเท่านั้น
ในท้องตลาดจะมีขายเป็นเอ็ดทิลแอลกอฮอ 95% แล้วมาผสมน้ำ (ทำไดรูท)ลด% การใช้งานเอาครับ
ไอโซโพรพิ่ว แม็ดทิลแอลกอฮอ เมทานอล สเปรย์โดนเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อตาย ครับ
และไอละเหยพวกนี้ เาลาทำงานนานๆจะแสบตาครับ
ใช้กระดาษลิทมัส จุมวัดเทียบสี สะดวกที่สุดแล้วครับ
พรุ่งนี้ ผมติดไฟเสร็จทั้งหมด
ขั้นตอนต่อไปคืออะไรครับ แบบว่าตู้พร้อมแล้ว
ใช่รมตู้ ก่อนหรือเปล่า
แล้วเวลาวัดph เนี่ย เอากระดาษลิสมัท วัดเอาได้หรือเปล่าครับ จะได้เตรียมถูก
นอนละครับท่านพี่
=======================
นึ่งผ้า ชาม และน้ำที่จะใช้ ทำความสะอาด 25 นาที หลังน้ำเดือด
อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้าซักใหม่ ล้างมือ ด้วยน้ำยาล้างจาน สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอ
ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำนึ่งใส่ชามที่นึ่งแล้ว เอาผ้านึ่งชุบ บิดพอหมาดๆ
เช็ดทำความสะอาดภายในให้สะอาดจนหมดสิ่งสกปรกและไขมัน ไขมัน
เป็นอาหารของเชื้อรา และแบ็คทีเรีย ครับ
รอจนแห้ง
สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ภายในตู้ ให้ทั่ว แล้วเช็ดภายในด้วยผ้านึ่ง
อบรมฟูมตู้ ถ้ายังไม่มีด่างทับทิม กับฟอร์มาลีน
ก็ข้ามไปก่อน
แง้มตู้เล็กน้อย เปิดพัดลม ไล่อากาศ เอาอากาศสะอาดเข้าตู้ 10นาที
ปิดตู้เปิดหลอด UV เอาผ้าคลุมทิ้งไว้สักหนึ่งชั่วโมง ในครั้งแรกนี้นานหน่อย
ตู้พร้อมใช้แล้วครับ
ของทุกชิ้นที่จะเอาใส่ จัดเรียงไว้ในตู้ ต้องนึ่งทั้งหมด และแกะฟรอย เปิดใช้งานในตู้ ครับ
ทุกครั้งที่จะเอามือเข้าตู้ให้สเปรย์มือทุกครั้ง ครับ ชุดด้ามมีด ชุดฟอรเซ็บ กระดาษตัด
ผ้าเช็ดทำความสะอาด ล้างทำความสะอาด แล้วห่อฟรอย เอาไปนึ่งครับ
ตะเกียง(ครั้งแรกก่อนเติมแอลกอฮอ 95%) แร็ค ถาดตัด ต้องนึ่งทั้งหมด ครับ
ในตู้ให้จัดเรียงของดังนี้ ครับ
ตะเกียงอยู่มุมซ้ายด้านในสุด สำหรับคนถนัดขวา ตรงกลางเป็นแร็คสำหรับวางมีดและฟอรเซ็บ
หน้าแร็ควางถาดตัด ขวาสุดด้านในวางขวดทรงสูง ผมใช้ขวด 8อ๊อนซ์ ใส่แอลกอฮอครึ่งขวด
เอาไว้จุ่มแช่มีดกับฟอรเซ็บ
อย่าใส่น้อยเกินไปต่ำกว่าความสูงใบมีด และอย่าใส่มากเกินไปถ้าเกิดอุบัติเหตุขวดล้มในตู้
จะดับไฟยาก
ตะเกียงกับขวดแอลกอฮอ อาจสลับตำแหน่งกันได้ตามความถนัด แต่
จะต้องอยู่ตรงกันข้าม กันเสมอ
หลังจากเตรียม วางของใช้แล้วให้ เปิด ไล่อากาศและเปิดหลอด UV ครึ่งชั่วโมงก่อนใช้งาน ครับ
ระหว่างทำงาน ถ้าทำ ขวดแอลกอฮอ ล้ม เกิดไฟใหม้ในตู้ไม่ต้องตกใจ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1จับขวดตั้งก่อน แล้ว 2ปิดฝาตะเกียง แล้ว 3เอาผ้าที่อยู่ในตู้โป๊ะซับไปที่แอลกอฮอ
ที่กำลังลุกติดไฟ ไฟจะมาติดที่ผ้าแทน
รีบเอาออกทิ้งลงถังขยะนอกตู้ และเอาผ้าผืนใหม่ในตู้ซับซ้ำอีก จนไฟในตู้ดับ
ลองฝึก จุดไฟ ล้มขวด ดู ครั้งสองครั้งก็ได้ ครับ เพราะมีทำไฟใหม้ตู้ทุกรุ่นครับ
ผมถึงบอกว่าเริ่มใหม่ๆอย่าใช้ตู้กระดาษ หรือตู้ไม้ นอกจาก จะติดเชื้อ คอนทามิเนตง่าย
ทำให้เสียเวลา เสียของ เสียแซมปริ่งต้นแบบที่เรามาทำเนื้อเยื่อ ทำให้เราหมดกำลังใจทำงาน แล้ว
ไฟอาจใหม้บ้านได้ ด้วยครับ
แอลกอฮอที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในตะเกียง และใช้จุ่มล้าง แช่มีดและฟอร์เซ็บ
เป็นแอลกอฮอ 80 ถึง 95% แอลกอฮอ 80%ขึ้นไปถึงจะติดไฟได้ ครับ
แอลกอฮอที่ใส่ในขวดฟ๊อกกี้ ที่ใช้สเปรย์มือ สเปรย์ขวดงาน lสเปรย์ไฟแช็กใช้ในตู้ สเปรย์ตู้
เป็นแอลกอฮอ 75% ครับ
ถ้าใช้เปอรเซนต์สูงเช่น95% มาใส่ฟ๊อร์กี้ฉีด มันจะระเหยเร็วมาก เชื้อโรคยังไม่ทันตาย
แอลกอฮอมันระเหยหมดแล้ว ครับ
ทำไมสเปรย์แอลกอฮอถูกเชื้อโรคแล้วเชื้อโรคตาย เป็นเรื่องยาว อธิบายได้สองหน้า A4
ไว้เล่าทีหลังก็แล้วกันนะครับ เรื่องบางเรื่องไม่ต้องไปรู้มันก็ได้ครับ
เวลาซื้อ ให้ซื้อเอ็ดทิลแอลกอฮอ เท่านั้น ห้ามซื้อ ไอโซโพรพิ่วแอลกอฮอ
ห้ามซื้อ แม็ดทิลแอลกอฮอ และห้ามซื้อ เมทานอล ให้ซื้อเอ็ดทิลแอลกอฮอ มาเท่านั้น
ในท้องตลาดจะมีขายเป็นเอ็ดทิลแอลกอฮอ 95% แล้วมาผสมน้ำ (ทำไดรูท)ลด% การใช้งานเอาครับ
ไอโซโพรพิ่ว แม็ดทิลแอลกอฮอ เมทานอล สเปรย์โดนเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อตาย ครับ
และไอละเหยพวกนี้ เาลาทำงานนานๆจะแสบตาครับ
ใช้กระดาษลิทมัส จุมวัดเทียบสี สะดวกที่สุดแล้วครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-18
ใน1ขวดผสมน้ำได้กี่ cc โดยปกติข้างขวดน่าจะอธิบายเขียนไว้นะครับ
และคุณน้องแจ่มต้องถามมาให้ละเอียดนะครับเรื่องการเตรียม
1: ใส่น้ำอย่างเดียวเราต้องทราบอุณหภูมิของน้ำที่ใส่ด้วยครับ
ว่ากี่องศา น้ำอุณหภูมิห้อง 28-37 หรือใส่น้ำอุ่น 40-60
หรือน้ำร้อน 60-90 หรือน้ำเดือด 90-100 องศา C ครับ
2: อาหารได้ ผสม เจลไลท์หรือวุ้นผง และน้ำตาลมาให้แล้วหรือยัง
3: เน้นนะครับ วิธีเตรียมต้องถามเค้ามาให้ละเอียด บอกเค้าว่าเราไม่เคยใช้
อาหารแบบนี้ บอกเค้าว่าเราจะมาทำอาหารวุ้นเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย ด้วยครับ
ตัดชิ้นเนื้อเยื่อครั้งแรกเราจะทำลงในขวดกลมเล็ก 4 อ๊อนซ์ ก่อนครับ
เราจะเตรียมอาหารลงในขวด4อ๊อนซ์นี้ก่อนครับ กระป๋องในรูปน่าจะแบ่งทำได้สองครั้ง
แต่ในระยะแรกนี้อยากให้ทำทีละน้อยๆก่อน แบ่งทำสามหรือสี่ครั้งให้ชินก่อน ครับ
โดยการลดอัตราส่วนของน้ำที่ผสม ลงไปด้วย ครับ
คุณน้องแจ่มต้องทำสลักพร้อมสปริงเวลาเลื่อนไปตรงรู สปริงจะดันสลักเข้าไปขัด
ล๊อกฝาตู้ไม่ให้ตกลงมาครับ เจาะรูที่รางไว้สามระดับเอาไว้ปรับความกว้างของช่อง
ที่เราจะสอดมือเข้าไปทำงาน ครับ
เวลาจะปลดเลื่อนก็ดึงสลักตัวนี้ให้ถอยหลังพ้นจาก รูที่ราง ทั้งสองข้างครับ
หรือติดกลอนตัวเล็กๆที่ขอบบานเลื่อน เวลาเลื่อน
มาตรงห่วงกลอนที่ขอบตู้ก็ผลักไปเข้าห่วงกลอนขัดเอาไว้ก็ได้ สะดวกดี ครับ
อย่าลืมติดมือจับเลื่อน ด้านล่างตรงขอบกระจกด้วยครับ
ใช้ไขควงไปกันขัดไว้อย่างนั้นอันตราย ครับ
บานหน้าเสาตั้งกลาง บังตาไปหน่อย ถ้าเป็นเสานอนได้ละเยี่ยมเลยครับ
และคุณน้องแจ่มต้องถามมาให้ละเอียดนะครับเรื่องการเตรียม
1: ใส่น้ำอย่างเดียวเราต้องทราบอุณหภูมิของน้ำที่ใส่ด้วยครับ
ว่ากี่องศา น้ำอุณหภูมิห้อง 28-37 หรือใส่น้ำอุ่น 40-60
หรือน้ำร้อน 60-90 หรือน้ำเดือด 90-100 องศา C ครับ
2: อาหารได้ ผสม เจลไลท์หรือวุ้นผง และน้ำตาลมาให้แล้วหรือยัง
3: เน้นนะครับ วิธีเตรียมต้องถามเค้ามาให้ละเอียด บอกเค้าว่าเราไม่เคยใช้
อาหารแบบนี้ บอกเค้าว่าเราจะมาทำอาหารวุ้นเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วย ด้วยครับ
ตัดชิ้นเนื้อเยื่อครั้งแรกเราจะทำลงในขวดกลมเล็ก 4 อ๊อนซ์ ก่อนครับ
เราจะเตรียมอาหารลงในขวด4อ๊อนซ์นี้ก่อนครับ กระป๋องในรูปน่าจะแบ่งทำได้สองครั้ง
แต่ในระยะแรกนี้อยากให้ทำทีละน้อยๆก่อน แบ่งทำสามหรือสี่ครั้งให้ชินก่อน ครับ
โดยการลดอัตราส่วนของน้ำที่ผสม ลงไปด้วย ครับ
คุณน้องแจ่มต้องทำสลักพร้อมสปริงเวลาเลื่อนไปตรงรู สปริงจะดันสลักเข้าไปขัด
ล๊อกฝาตู้ไม่ให้ตกลงมาครับ เจาะรูที่รางไว้สามระดับเอาไว้ปรับความกว้างของช่อง
ที่เราจะสอดมือเข้าไปทำงาน ครับ
เวลาจะปลดเลื่อนก็ดึงสลักตัวนี้ให้ถอยหลังพ้นจาก รูที่ราง ทั้งสองข้างครับ
หรือติดกลอนตัวเล็กๆที่ขอบบานเลื่อน เวลาเลื่อน
มาตรงห่วงกลอนที่ขอบตู้ก็ผลักไปเข้าห่วงกลอนขัดเอาไว้ก็ได้ สะดวกดี ครับ
อย่าลืมติดมือจับเลื่อน ด้านล่างตรงขอบกระจกด้วยครับ
ใช้ไขควงไปกันขัดไว้อย่างนั้นอันตราย ครับ
บานหน้าเสาตั้งกลาง บังตาไปหน่อย ถ้าเป็นเสานอนได้ละเยี่ยมเลยครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-18
ฟอร์มาลีน กับด่างทับทิม หาได้จาก รพ. หรือร้านขายยาใหญ่ๆ ครับ
ใช้นิดเดียว ตอนฟูมตู้ อบฆ่าเชื้อภายในตู้ ก่อนใช้งานสองวัน
ใช้กับตู้ใหม่ หรือตู้ที่ใช้งานไปแล้วระยะหนึ่ง
วิธีทำ เอาด่างทับทิม เทใส่ถ้วยเล็กๆ ถ้วยตะไลก็ได้ครับ หยิบมือหนึ่ง
มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของตู้
ตู้ขนาดของคุณน้องแจ่มก็ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะปาด
แล้วเอาๆฟอรมาลิน30-40%หยดลงไป สาม สี่หยด จะเกิดควันขาวๆ
อย่ายื่นหน้าไปดมนะครับ แทบตายเชียวนะครับ
เปิดหลอด UV ไม่ต้องเปิดพัดลม
เอาผ้าคลุมไว้ 24 ชั่วโมง ถึงค่อยเปิดผ้า เอาถ้วยออก สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ให้ทั่ว
ภายในตู้ อย่าใช้แอลกอฮอ 95%มาสเปรย์นะครับ เพราะมันระเหยเร็วเชื้อราหรือแบคทีเรีย
ยังไม่ทันตายเลยระเหยหมดแล้ว ถึงค่อยเปิดพัดลมทิ้งไว้ อีกครึ่งวัน
ปิดพัดลมเปิดหลอด UV และคลุมผ้าทิ้งไว้ อีกครึ่งวัน หรือจนกว่าเราจะทำงาน
ปิดหลอด UV เปิดไฟแสงสว่าง เปิดพัดลม เปิดผ้าคลุม เลื่อนกระจกขึ้น
ถึงค่อยเอามือสอดเข้าไปทำงานได้ครับ
ตู้ที่ทำเนื้อเยื่อ ห้ามเอาเห็ดมาเขี่ยในนี้เด็ดขาดเลยครับ สปอร์เห็ดจะไม่ถูกกัน
อย่างแรงกับตู้เราครับ
ตู้ใช้งานเสร็จแล้วให้ เช็ดทำความสะอาด พ่นด้วยแอลกอฮอ ปิดไฟแสง คลุมผ้า
และเปิดพัดลม เปิดหลอด UVทิ้งไว้ ครึ่งชั่วโมงถึงค่อยปิดไฟพัดลมและไฟหลอด UV
จะใช้ทำงานก็ทำแบบเดียวกัน ฉีดสเปรย์ เปิดพัดลม คลุมผ้า เปิดหลอด UV ทิ้งไว้ก่อนครึ่งชั่วโมง
เช่นกันครับ ระหว่างนี้ไปเตรียมฟอกชิ้นงาน ก่อน จะทำงานถึงค่อยมา ปิดหลอด UV เปิดผ้า
ถึงทำงานได้ครับ
ฟ๊อกกี้ ให้ภรรยาซื้อให้ เอาแบบใช้กับที่รีดผ้านั่นแหละครับ
กล่องคลีนบ๊อกซ์ เอาไว้เก็บขวดชิ้นงานที่เราตัดเนื้อเยื่อแล้ว 1กล่อง
และอุปกรณ์ที่เรายังไม่ได้ใช้งานหลังจากนึ่งมาแล้ว อีก1กล่องครับ
เลือกดูขนาดใหญ่หน่อย สีโปรงแสงหรือโปรงใส ก็ได้ครับ
ถาดรองตัด ให้ร้านสแตนเลสพับขอบให้ตามรูป เอากระดาษ A4 พับครึ่ง
ไปให้เค้าดูด้วย บอกเค้าว่าเอาเท่าพอดีกระดาษพับครึ่งแผ่นนี้ใส่ลงไปได้ครับ
ใช้นิดเดียว ตอนฟูมตู้ อบฆ่าเชื้อภายในตู้ ก่อนใช้งานสองวัน
ใช้กับตู้ใหม่ หรือตู้ที่ใช้งานไปแล้วระยะหนึ่ง
วิธีทำ เอาด่างทับทิม เทใส่ถ้วยเล็กๆ ถ้วยตะไลก็ได้ครับ หยิบมือหนึ่ง
มากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของตู้
ตู้ขนาดของคุณน้องแจ่มก็ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะปาด
แล้วเอาๆฟอรมาลิน30-40%หยดลงไป สาม สี่หยด จะเกิดควันขาวๆ
อย่ายื่นหน้าไปดมนะครับ แทบตายเชียวนะครับ
เปิดหลอด UV ไม่ต้องเปิดพัดลม
เอาผ้าคลุมไว้ 24 ชั่วโมง ถึงค่อยเปิดผ้า เอาถ้วยออก สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ให้ทั่ว
ภายในตู้ อย่าใช้แอลกอฮอ 95%มาสเปรย์นะครับ เพราะมันระเหยเร็วเชื้อราหรือแบคทีเรีย
ยังไม่ทันตายเลยระเหยหมดแล้ว ถึงค่อยเปิดพัดลมทิ้งไว้ อีกครึ่งวัน
ปิดพัดลมเปิดหลอด UV และคลุมผ้าทิ้งไว้ อีกครึ่งวัน หรือจนกว่าเราจะทำงาน
ปิดหลอด UV เปิดไฟแสงสว่าง เปิดพัดลม เปิดผ้าคลุม เลื่อนกระจกขึ้น
ถึงค่อยเอามือสอดเข้าไปทำงานได้ครับ
ตู้ที่ทำเนื้อเยื่อ ห้ามเอาเห็ดมาเขี่ยในนี้เด็ดขาดเลยครับ สปอร์เห็ดจะไม่ถูกกัน
อย่างแรงกับตู้เราครับ
ตู้ใช้งานเสร็จแล้วให้ เช็ดทำความสะอาด พ่นด้วยแอลกอฮอ ปิดไฟแสง คลุมผ้า
และเปิดพัดลม เปิดหลอด UVทิ้งไว้ ครึ่งชั่วโมงถึงค่อยปิดไฟพัดลมและไฟหลอด UV
จะใช้ทำงานก็ทำแบบเดียวกัน ฉีดสเปรย์ เปิดพัดลม คลุมผ้า เปิดหลอด UV ทิ้งไว้ก่อนครึ่งชั่วโมง
เช่นกันครับ ระหว่างนี้ไปเตรียมฟอกชิ้นงาน ก่อน จะทำงานถึงค่อยมา ปิดหลอด UV เปิดผ้า
ถึงทำงานได้ครับ
ฟ๊อกกี้ ให้ภรรยาซื้อให้ เอาแบบใช้กับที่รีดผ้านั่นแหละครับ
กล่องคลีนบ๊อกซ์ เอาไว้เก็บขวดชิ้นงานที่เราตัดเนื้อเยื่อแล้ว 1กล่อง
และอุปกรณ์ที่เรายังไม่ได้ใช้งานหลังจากนึ่งมาแล้ว อีก1กล่องครับ
เลือกดูขนาดใหญ่หน่อย สีโปรงแสงหรือโปรงใส ก็ได้ครับ
ถาดรองตัด ให้ร้านสแตนเลสพับขอบให้ตามรูป เอากระดาษ A4 พับครึ่ง
ไปให้เค้าดูด้วย บอกเค้าว่าเอาเท่าพอดีกระดาษพับครึ่งแผ่นนี้ใส่ลงไปได้ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-17
วันนี้ได้
ฟรอย 5 ม้วน
ถุงมือ
ที่ปิดปาก
น้ำกลั่น ครึ่งโหล
กระกาษรองตัด
หลอดให้แสงสว่าง
ผ้าทำความสะอาด
สั่งซื้อรอส่งมี
หลอดยูวี 4หลอด สองพัน
อาหารms + ถ้วยตวง 1680บาท
ยังขาด
ฟอมารีน
ฟร้อกกี้
ด่างทับทิม
กล่องคลีนรูม
ถาดสแตนเลท
ที่ยังขาดอยู่
ขวดแบล็ค ยังหาำม่ได้ ท่าจะต้องซื้อเหล้ามาเททิ้งเอาขวดซะก็ไม่รู้
กระดาษรองตัด
ถาดเอสค่พับครึ่ง
ฟอมารีน
อาหาร
บิกเกอร์ตวง
ฟรอยห่อของนึ่ง
ฟร็อกกี้
หลอดยูวี อาแปะบอก ไม่รู้จัก 5555 บ้านนอกขนาดบ้านเรา
เท่านี้ เท่านี้ เท่านี เท่านี้ เท่านี้จริงๆ ที่ยังหาตังซื้อไม่ได้
=====================
อาหารผงสำเร็จที่คุณน้องแจ่มสั่งซื้อมาต้องถามรายละเอียดการเตรียมมาด้วย
นะครับ เพราะแต่ละเจ้ามีวิธีเตรียม ไม่เหมือนกันครับ และต้องถามมาด้วยว่า
เค้าผสมน้ำตาลมาด้วยแล้ว หรือเราต้องผสมเอง ปกติอาหาร1ลิตร จะผสมน้ำตาล
ทรายขาว 30 กรัม ครับ
วิธีเตรียมผมคัดลอกมาให้จากที่ผมเคยโพสบรรยายไว้ ก็ละเอียดพอสมควร
มาตบแต่ง เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยให้อ่านง่ายเป็นหัวข้อๆดังนี้ ครับ
โดยส่วนใหญ่เค้าจะขายให้เรามีสองขนาด
คือขนาดทดลอง จะส่งมาให้เป็นผง เมื่อผสมปรับปริมาตรแล้ว ได้ 1ลิตร
และขนาด เมื่อปรับปรมาตรแล้วได้ 10 ลิตร
และที่สำคัญต้องถามเค้าด้วยว่าผสมใส่น้ำตาลมาพร้อมผงเคมีอาหารด้วยหรือเปล่า
หรือมีแต่เคมีอาหารเฉยๆ ด้วยครับ
1. วิธีผสมสูตร MS สำหรับขนาด1ลิตร(กรรมวิธีแต่ละแลปอาจไม่เหมือนกัน)
ปกติผมจะใช้หม้อสแตนเลส เป็นที่ผสมอาหาร
ฉีกซองStock สำเร็จรูป1ลิตร เทใส่หม้อ ใส่น้ำกลั่นประมาณ500 cc
(เป็นน้ำกลั่นใช้ทางการแพทย์ มีจำหน่ายที่ร้านขายยา และสถานพยาบาล
จะบรรจุมาเป็นขนาด1ลิตร)
ถ้ายังไม่ใส่น้ำตาลมาเราต้องมาใส่น้ำตาลทราย 30กรัม ด้วยครับ
คนให้ละลายหมด ต้องละลายจนใสนะครับไม่ให้มีเกล็ดของผงสารเคมีอยู่เลย
2. ปรับ pH ให้ได้ประมาณ 5.6-5.8
ถ้าสูงไปใส่กรด(น้ำส้มสายชู)
ต่ำไปใส่ด่าง (KOH หรือผงฟูละลายน้ำ)
ต้องใจเย็นปรับpHให้แน่ใจนะครับ ไม่งั้นวุ้นจะไม่แข็งตัวเมื่อนึ่งเสร็จแล้วครับ
3. ปรับปริมาตรด้วยน้ำที่เหลือ ใหได้ 1ลิตร ปกติใช้น้ำกลั่นขนาดขวด1 ลิตร
ก็เทที่เหลือจนหมดขวด เอาขึ้นตั้งไฟกลางๆ คนเบา เอาผงวุ้นใส่ ประมาณ 4-10 กรัม
แล้วแต่ยี่ห้อ ถ้าเป็นเจลไลท ก็น้อยหน่อยเพราะแพง ปกติผมนอกจากเจลไลท์แล้ว
ผมใช้วุ้นทำขนมของไทยตรานางเงือก ครับ
จนผงวุ้นละลายจนหมด ไม่ต้องรอจนเดือด ร้อนแค่คนจนผงวุ้นละลายก็พอ แล้วยกของเหลว
ส่วนผสมทั้งหมดลงจากเตา เตรียมกรอกใส่ขวด(ขวดที่ล้างสะอาด แล้วต้ม ส่วนฝาล้างแล้วลวก
นำมาเช็ด ตากแดดให้แห้ง เก็บเตรียมไว้กรอกอาหารวุ้น)
4. เอามากรอกใส่ขวด หรือถุงร้อน ประมาณ 20-30 cc ต่อขวด หรือประมาณ 1/4 ของขวด
หรือถุง ปิดฝาขวดพอตึงๆมือ ไม่ต้องแน่นครับ
5. เอาไปนึ่ง ที่อุณหภูมิ 121 องศาซี ความดัน 15ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว
เลี้ยงให้อุณหภูมิและความดันคงที่ ไป 20 นาที
ครบแล้วก็ปิดไฟ(หรือปิดแก๊ส) ค่อยๆเปิดวาล์ไล่ไอน้ำออกลดความดัน (อย่าเปิดเร็ว
เดี๋ยววุ้นเละครับ)
ถ้าใช้ซึ้งธรรมดา ตั้งให้น้ำเดือด ถึงเอาซึ้งบรรจุอาหาร และซึ้งอุปกรณ์ที่ต้องใช้
รวมถึงน้ำสะอาดที่ต้องใช้เวลาฟอกทำความสะอาดชิ้นเนื้อเยื่อ อุปกรณ์แพ็กด้วยฟรอย
แยกเป็นชุดๆ ทุกชุดห่อด้วยฟรอยอลูมิเนียม ใส่ลงซึ้งนึ่ง ครับ
จับเวลาหลังน้ำเดือด25นาที น้ำต้องเดือดตลอด ครบ25นาที ปิดไฟยกลง ยังไม่ต้องเปิดฝาซึ้ง
รอจนเย็น ถึงเปิดฝาซึ้ง แกะถุงฟรอยผ้าที่นึ่งเอาผ้ามาเช็ดละอองน้ำที่ขวด พร้อมกับขันปิดฝาขวด
ให้แน่น และเช็ดถุงฟรอยอุปกรณ์ให้พอแห้ง และ
6. ใส่เก็บทั้งหมดไว้ในกล่องสะอาดที่ได้เตรียมไว้ ก่อนเปิดฝากล่องพ่นสเปรย์แอลกอฮอ75%
ไปในอากาศเหนือฝากล่อง และก่อน ปิดฝากล่อง ให้พ่นสเปรย์แอลกอฮออีกครั้งครับ ทำทุก
ครั้งให้เป็นนิสัย ก่อนที่เปิดและปิดกล่องสะอาด ครับ
จะใช้งาน ถ้าจะเอาอาหารออกมาใช้ อาหารในขวด ควรเก็บไว้ดูเชื้ออย่าน้อย3วันถึงหนึ่งอาทิตย์
ว่าไม่มีเชื้อรา เชื้อต่างๆขึ้นที่อาหาร ถ้าขึ้นต้องทิ้ง เตรียมใหม่ครับ
ถ้าทำ10ลิตร ส่วนใหญ่ผมจะแบ่งทำทีละ 5 ลิตร ครับเพราะวุ้นมันจะแข็งตัวก่อน
เรากรอกลงขวดเล็กหรือถุงร้อนเล็ก เสร็จ ครับ
อ่านวิธีเตรียมทำ ช้าๆนะครับ ผมเขียนขั้นตอนเป็นข้อๆ ทำตาม ทีละขั้นตอนครับ
เป็นวิธีเตรียมอาหารที่ปลอดเชื้อ ที่เราต้องเตรียมก่อน เตรียมทำความสะอาด
ฟอกชิ้นเนื้อเยื้อครับ
ครั้งแรก ควรตัดชิ้นเนื้อเยื่อ ใส่ในขวดอาหารขนาดเล็ก 4 หรือ 8 อ๊อนซ์ก่อนครับ
อย่าเพิ่งใส่ในขวดใหญ่เลย เพราะถ้าเกิด คอนทามิเนต หรือติดเชื้อ เราก็จะยังมีขวดอื่น
เอาไปใช้ได้ครับ ถ้าทำลงในขวดใหญ่เลย ถ้าเสีย จะเสียหมดทั้งขวด แก้ไม่ได้ครับ
การทำซับคัลเจอร์ หรือเปลี่ยนอาหาร ครั้งที่สอง เราถึงค่อยเอาลงขวดใหญ่ ครับ
การเอาลงขวดใหญ่หมายความถึงเราจะไม่ขยายเนื้อเยื่ออีกต่อไปแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการ
เอาออกจากขวดใหญ่ เอาลงเครื่องปลูกละครับ
เตรียมอาหารแล้วถ้าสงสัยโพสถามขั้นตอนเพิ่มเติมได้ครับ
หลังจากเตรียมอาหารได้ แล้วเราจะมาหัดฟอกหรือการทำความสะอาด ชิ้นเนื้อเยื่อ จากตายอด
ตาข้าง หรือจากเยื่อเจริญกันต่อไปครับ
--------------------------------------------------------------------
อยู่ว่างๆเอาใบมีด และด้ามมาฝึกใส่ใบและ ถอดใบ ให้คล่องครับ
และลองใช้ตัด และหั่น หน่อ เง้า ราก กล้วย เล็กๆ ให้คล่องไปพลางๆ ก่อน
โดยตัดออกมาเป็นชิ้นขนาด 10มิล ถึง15มิล แล้วตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆละ 2-3มิล
5ชิ้นครับ
ทำซ้ำๆให้คล่อง ครับ
ฝึกการใช้มีด ให้คล่อง พลางๆไปก่อน ครับ
========================
ฟรอย 5 ม้วน
ถุงมือ
ที่ปิดปาก
น้ำกลั่น ครึ่งโหล
กระกาษรองตัด
หลอดให้แสงสว่าง
ผ้าทำความสะอาด
สั่งซื้อรอส่งมี
หลอดยูวี 4หลอด สองพัน
อาหารms + ถ้วยตวง 1680บาท
ยังขาด
ฟอมารีน
ฟร้อกกี้
ด่างทับทิม
กล่องคลีนรูม
ถาดสแตนเลท
ที่ยังขาดอยู่
ขวดแบล็ค ยังหาำม่ได้ ท่าจะต้องซื้อเหล้ามาเททิ้งเอาขวดซะก็ไม่รู้
กระดาษรองตัด
ถาดเอสค่พับครึ่ง
ฟอมารีน
อาหาร
บิกเกอร์ตวง
ฟรอยห่อของนึ่ง
ฟร็อกกี้
หลอดยูวี อาแปะบอก ไม่รู้จัก 5555 บ้านนอกขนาดบ้านเรา
เท่านี้ เท่านี้ เท่านี เท่านี้ เท่านี้จริงๆ ที่ยังหาตังซื้อไม่ได้
=====================
อาหารผงสำเร็จที่คุณน้องแจ่มสั่งซื้อมาต้องถามรายละเอียดการเตรียมมาด้วย
นะครับ เพราะแต่ละเจ้ามีวิธีเตรียม ไม่เหมือนกันครับ และต้องถามมาด้วยว่า
เค้าผสมน้ำตาลมาด้วยแล้ว หรือเราต้องผสมเอง ปกติอาหาร1ลิตร จะผสมน้ำตาล
ทรายขาว 30 กรัม ครับ
วิธีเตรียมผมคัดลอกมาให้จากที่ผมเคยโพสบรรยายไว้ ก็ละเอียดพอสมควร
มาตบแต่ง เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยให้อ่านง่ายเป็นหัวข้อๆดังนี้ ครับ
โดยส่วนใหญ่เค้าจะขายให้เรามีสองขนาด
คือขนาดทดลอง จะส่งมาให้เป็นผง เมื่อผสมปรับปริมาตรแล้ว ได้ 1ลิตร
และขนาด เมื่อปรับปรมาตรแล้วได้ 10 ลิตร
และที่สำคัญต้องถามเค้าด้วยว่าผสมใส่น้ำตาลมาพร้อมผงเคมีอาหารด้วยหรือเปล่า
หรือมีแต่เคมีอาหารเฉยๆ ด้วยครับ
1. วิธีผสมสูตร MS สำหรับขนาด1ลิตร(กรรมวิธีแต่ละแลปอาจไม่เหมือนกัน)
ปกติผมจะใช้หม้อสแตนเลส เป็นที่ผสมอาหาร
ฉีกซองStock สำเร็จรูป1ลิตร เทใส่หม้อ ใส่น้ำกลั่นประมาณ500 cc
(เป็นน้ำกลั่นใช้ทางการแพทย์ มีจำหน่ายที่ร้านขายยา และสถานพยาบาล
จะบรรจุมาเป็นขนาด1ลิตร)
ถ้ายังไม่ใส่น้ำตาลมาเราต้องมาใส่น้ำตาลทราย 30กรัม ด้วยครับ
คนให้ละลายหมด ต้องละลายจนใสนะครับไม่ให้มีเกล็ดของผงสารเคมีอยู่เลย
2. ปรับ pH ให้ได้ประมาณ 5.6-5.8
ถ้าสูงไปใส่กรด(น้ำส้มสายชู)
ต่ำไปใส่ด่าง (KOH หรือผงฟูละลายน้ำ)
ต้องใจเย็นปรับpHให้แน่ใจนะครับ ไม่งั้นวุ้นจะไม่แข็งตัวเมื่อนึ่งเสร็จแล้วครับ
3. ปรับปริมาตรด้วยน้ำที่เหลือ ใหได้ 1ลิตร ปกติใช้น้ำกลั่นขนาดขวด1 ลิตร
ก็เทที่เหลือจนหมดขวด เอาขึ้นตั้งไฟกลางๆ คนเบา เอาผงวุ้นใส่ ประมาณ 4-10 กรัม
แล้วแต่ยี่ห้อ ถ้าเป็นเจลไลท ก็น้อยหน่อยเพราะแพง ปกติผมนอกจากเจลไลท์แล้ว
ผมใช้วุ้นทำขนมของไทยตรานางเงือก ครับ
จนผงวุ้นละลายจนหมด ไม่ต้องรอจนเดือด ร้อนแค่คนจนผงวุ้นละลายก็พอ แล้วยกของเหลว
ส่วนผสมทั้งหมดลงจากเตา เตรียมกรอกใส่ขวด(ขวดที่ล้างสะอาด แล้วต้ม ส่วนฝาล้างแล้วลวก
นำมาเช็ด ตากแดดให้แห้ง เก็บเตรียมไว้กรอกอาหารวุ้น)
4. เอามากรอกใส่ขวด หรือถุงร้อน ประมาณ 20-30 cc ต่อขวด หรือประมาณ 1/4 ของขวด
หรือถุง ปิดฝาขวดพอตึงๆมือ ไม่ต้องแน่นครับ
5. เอาไปนึ่ง ที่อุณหภูมิ 121 องศาซี ความดัน 15ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว
เลี้ยงให้อุณหภูมิและความดันคงที่ ไป 20 นาที
ครบแล้วก็ปิดไฟ(หรือปิดแก๊ส) ค่อยๆเปิดวาล์ไล่ไอน้ำออกลดความดัน (อย่าเปิดเร็ว
เดี๋ยววุ้นเละครับ)
ถ้าใช้ซึ้งธรรมดา ตั้งให้น้ำเดือด ถึงเอาซึ้งบรรจุอาหาร และซึ้งอุปกรณ์ที่ต้องใช้
รวมถึงน้ำสะอาดที่ต้องใช้เวลาฟอกทำความสะอาดชิ้นเนื้อเยื่อ อุปกรณ์แพ็กด้วยฟรอย
แยกเป็นชุดๆ ทุกชุดห่อด้วยฟรอยอลูมิเนียม ใส่ลงซึ้งนึ่ง ครับ
จับเวลาหลังน้ำเดือด25นาที น้ำต้องเดือดตลอด ครบ25นาที ปิดไฟยกลง ยังไม่ต้องเปิดฝาซึ้ง
รอจนเย็น ถึงเปิดฝาซึ้ง แกะถุงฟรอยผ้าที่นึ่งเอาผ้ามาเช็ดละอองน้ำที่ขวด พร้อมกับขันปิดฝาขวด
ให้แน่น และเช็ดถุงฟรอยอุปกรณ์ให้พอแห้ง และ
6. ใส่เก็บทั้งหมดไว้ในกล่องสะอาดที่ได้เตรียมไว้ ก่อนเปิดฝากล่องพ่นสเปรย์แอลกอฮอ75%
ไปในอากาศเหนือฝากล่อง และก่อน ปิดฝากล่อง ให้พ่นสเปรย์แอลกอฮออีกครั้งครับ ทำทุก
ครั้งให้เป็นนิสัย ก่อนที่เปิดและปิดกล่องสะอาด ครับ
จะใช้งาน ถ้าจะเอาอาหารออกมาใช้ อาหารในขวด ควรเก็บไว้ดูเชื้ออย่าน้อย3วันถึงหนึ่งอาทิตย์
ว่าไม่มีเชื้อรา เชื้อต่างๆขึ้นที่อาหาร ถ้าขึ้นต้องทิ้ง เตรียมใหม่ครับ
ถ้าทำ10ลิตร ส่วนใหญ่ผมจะแบ่งทำทีละ 5 ลิตร ครับเพราะวุ้นมันจะแข็งตัวก่อน
เรากรอกลงขวดเล็กหรือถุงร้อนเล็ก เสร็จ ครับ
อ่านวิธีเตรียมทำ ช้าๆนะครับ ผมเขียนขั้นตอนเป็นข้อๆ ทำตาม ทีละขั้นตอนครับ
เป็นวิธีเตรียมอาหารที่ปลอดเชื้อ ที่เราต้องเตรียมก่อน เตรียมทำความสะอาด
ฟอกชิ้นเนื้อเยื้อครับ
ครั้งแรก ควรตัดชิ้นเนื้อเยื่อ ใส่ในขวดอาหารขนาดเล็ก 4 หรือ 8 อ๊อนซ์ก่อนครับ
อย่าเพิ่งใส่ในขวดใหญ่เลย เพราะถ้าเกิด คอนทามิเนต หรือติดเชื้อ เราก็จะยังมีขวดอื่น
เอาไปใช้ได้ครับ ถ้าทำลงในขวดใหญ่เลย ถ้าเสีย จะเสียหมดทั้งขวด แก้ไม่ได้ครับ
การทำซับคัลเจอร์ หรือเปลี่ยนอาหาร ครั้งที่สอง เราถึงค่อยเอาลงขวดใหญ่ ครับ
การเอาลงขวดใหญ่หมายความถึงเราจะไม่ขยายเนื้อเยื่ออีกต่อไปแล้ว ต่อไปก็จะเป็นการ
เอาออกจากขวดใหญ่ เอาลงเครื่องปลูกละครับ
เตรียมอาหารแล้วถ้าสงสัยโพสถามขั้นตอนเพิ่มเติมได้ครับ
หลังจากเตรียมอาหารได้ แล้วเราจะมาหัดฟอกหรือการทำความสะอาด ชิ้นเนื้อเยื่อ จากตายอด
ตาข้าง หรือจากเยื่อเจริญกันต่อไปครับ
--------------------------------------------------------------------
อยู่ว่างๆเอาใบมีด และด้ามมาฝึกใส่ใบและ ถอดใบ ให้คล่องครับ
และลองใช้ตัด และหั่น หน่อ เง้า ราก กล้วย เล็กๆ ให้คล่องไปพลางๆ ก่อน
โดยตัดออกมาเป็นชิ้นขนาด 10มิล ถึง15มิล แล้วตัดแบ่งออกเป็นชิ้นๆละ 2-3มิล
5ชิ้นครับ
ทำซ้ำๆให้คล่อง ครับ
ฝึกการใช้มีด ให้คล่อง พลางๆไปก่อน ครับ
========================
การเพาะเนื้อเยื่อ-16
ตู่ใหญ่ไปไหม
ไม่ใหญ่ครับกำลังดี เอากลับบ้านมาตัดกระจกใส่ยึดติดด้วยกาวซิลิโคนตู้ปลา ทั้งสามด้าน
ให้กระจกหรือแผ่นสแตนเลสอยู่ด้านใน เสาตู้อยู่ด้านนอกนะครับ ภายในพื้นที่ทำงานจะไม่มี
เหลี่ยมมุมของเสา จะได้เช็ดทำควาสะอาดภายในได้สะดวด ครับ หรือท่านจะกรุด้วยแผ่น
สแตนเลสทั้งสามด้าน หรือด้านหลังเป็นสแตนเลส สองด้านข้างเป็นกระจก
ก็ตามใจท่านสะดวกเลยนะครับ แต่ด้านหน้าต้องเป็นกระจกสองชิ้นครับ
ชิ้นบนติดตาย ชิ้นล่างประมาณ ฟุตนึงใส่กระจกมีรางด้านข้าง
ทำแบบเลื่อนขึ้นลงปิดเปิดได้ครับ ซิลขอบกระจกบานที่เลื่อนได้ ด้วยเทปสักราด
ไม่ให้อากาศเข้าออกได้ครับ เวลาเลื่อนลงปิด
ถ้านึกภาพไม่ออกเดี๋ยวมีเวลาจะเขียนรูปคร่าวๆมาให้ ครับ
แล้วอย่าลืมติดตั้งหลอดไฟที่เพดานตู้ด้านใน พร้อมที่บังแสงด้วยนะครับ
อ่อ..ถึงบ้านแล้วไปจัดหาโต๊ะมาวางตู้ตัวนี้ซะด้วยครับ
ได้หน้าเป็นเมลามีน หรือเฟอไมก้าก็ได้ครับ พร้อมเก้าอี้นั่งสบายๆอีกหนึ่งตัวนะครับ
ไม่ใหญ่ครับกำลังดี เอากลับบ้านมาตัดกระจกใส่ยึดติดด้วยกาวซิลิโคนตู้ปลา ทั้งสามด้าน
ให้กระจกหรือแผ่นสแตนเลสอยู่ด้านใน เสาตู้อยู่ด้านนอกนะครับ ภายในพื้นที่ทำงานจะไม่มี
เหลี่ยมมุมของเสา จะได้เช็ดทำควาสะอาดภายในได้สะดวด ครับ หรือท่านจะกรุด้วยแผ่น
สแตนเลสทั้งสามด้าน หรือด้านหลังเป็นสแตนเลส สองด้านข้างเป็นกระจก
ก็ตามใจท่านสะดวกเลยนะครับ แต่ด้านหน้าต้องเป็นกระจกสองชิ้นครับ
ชิ้นบนติดตาย ชิ้นล่างประมาณ ฟุตนึงใส่กระจกมีรางด้านข้าง
ทำแบบเลื่อนขึ้นลงปิดเปิดได้ครับ ซิลขอบกระจกบานที่เลื่อนได้ ด้วยเทปสักราด
ไม่ให้อากาศเข้าออกได้ครับ เวลาเลื่อนลงปิด
ถ้านึกภาพไม่ออกเดี๋ยวมีเวลาจะเขียนรูปคร่าวๆมาให้ ครับ
แล้วอย่าลืมติดตั้งหลอดไฟที่เพดานตู้ด้านใน พร้อมที่บังแสงด้วยนะครับ
อ่อ..ถึงบ้านแล้วไปจัดหาโต๊ะมาวางตู้ตัวนี้ซะด้วยครับ
ได้หน้าเป็นเมลามีน หรือเฟอไมก้าก็ได้ครับ พร้อมเก้าอี้นั่งสบายๆอีกหนึ่งตัวนะครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-15
ด้ามมีดเบอร์ 3 ที่ใช้กับใบมีด #10 และ #11 ละครับ ในรูปพยายามจ้องดูไม่เห็นเลยครับ
ถาดรองตัด จ้างร้านสแตนเลสพับขึ้นรูปเอาได้ครับ
เอาเท่าขนาดกระดาษ a4พับครึ่ง วางลงไปพอดีๆครือๆครับ
แต่ถ้าชำนาญแล้วทำขนาด a4 พับ4 ได้ครับ
เวลาทำงานเราจะเอาชิ้นงานมาตัดบนกระดาษรองตัด
กระดาษรองตัดจะวางและล๊อกอยู่ในกรอบของถาดรองตัด ถ้าไม่มีถาดรองตัด
กระดาษมันจะวิ่งไปวิ่งมาเวลาเราลงมีด จะทำงานไม่สะดวกครับ
ที่เราตัดชิ้งงานบนกระดาษรองตัดเพราะคมมีดจะได้ไม่ไปโดนเหล็กสแตนเลส
ของพื้นโต๊ะ และเหล็กสแตนเลสของถาดรองตัด ครับ จะทำให้ใบมีดทื่อเร็วครับ
ในรูปเป็นถาดรองตัดทั้งสองขนาด เล็ก (a4พับ4) และใหญ่ (a4พับ2) สังเกตุที่ขอบ
ทั้งสองถาดจะพับยกขึ้นมาล๊อกกระดาษไม่ให้เลื่อนหนี เวลาตัดลงมีดชิ้นงานครับ
กระดาษรองตัด ถาดรองตัด ด้ามมีด ใบมีด ผ้าเช็ดพื้นในตู้ทำงาน
น้ำที่ใช้ จุกยางอุดขวด สำลียัดรูจุกยาง ขวด ฝาขวด ที่ใช้งาน
ต้องนึ่งทั้งหมด ก่อนใช้งานครับ
ถาดรองตัด จ้างร้านสแตนเลสพับขึ้นรูปเอาได้ครับ
เอาเท่าขนาดกระดาษ a4พับครึ่ง วางลงไปพอดีๆครือๆครับ
แต่ถ้าชำนาญแล้วทำขนาด a4 พับ4 ได้ครับ
เวลาทำงานเราจะเอาชิ้นงานมาตัดบนกระดาษรองตัด
กระดาษรองตัดจะวางและล๊อกอยู่ในกรอบของถาดรองตัด ถ้าไม่มีถาดรองตัด
กระดาษมันจะวิ่งไปวิ่งมาเวลาเราลงมีด จะทำงานไม่สะดวกครับ
ที่เราตัดชิ้งงานบนกระดาษรองตัดเพราะคมมีดจะได้ไม่ไปโดนเหล็กสแตนเลส
ของพื้นโต๊ะ และเหล็กสแตนเลสของถาดรองตัด ครับ จะทำให้ใบมีดทื่อเร็วครับ
ในรูปเป็นถาดรองตัดทั้งสองขนาด เล็ก (a4พับ4) และใหญ่ (a4พับ2) สังเกตุที่ขอบ
ทั้งสองถาดจะพับยกขึ้นมาล๊อกกระดาษไม่ให้เลื่อนหนี เวลาตัดลงมีดชิ้นงานครับ
กระดาษรองตัด ถาดรองตัด ด้ามมีด ใบมีด ผ้าเช็ดพื้นในตู้ทำงาน
น้ำที่ใช้ จุกยางอุดขวด สำลียัดรูจุกยาง ขวด ฝาขวด ที่ใช้งาน
ต้องนึ่งทั้งหมด ก่อนใช้งานครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-14
เดี๋ยววันนี้ ไปกรุงเทพ ไปประชุมผู้ถึอหุ้นก่อนครับ เย็นๆ จะกลับมาโพสต่อใหม่
ดีจังมีเพื่อนทำตู้ได้แล้ว คุณน้องลุงแจ่มจะได้ทำเนื้อเยื่อ สมใจอยากซักที ครับ
อ่อ.... โบรเวอร์ มันจะมีชุด ปรับความเร็วด้วยครับผมลืมเขียน สามารถปรับความเร็วได้
จากภายนอกตู้ และ ภายในตู้ มีหลอด uv และหลอดแสงสว่าง ติดตั้ง อย่างละหนึ่งหลอด
มีสวิทช์แยกกันเปิด ครับ
ตู้แบบนี้เป็นตู้ทำเนื้อเยื่อ ที่ประหยัดที่สุดแล้วครับ โครงเป็นสแตนเลส
ด้านข้างใช้กระจก กรุ ทั้งหมด ด้านหน้าเป็นกระจกสองชิ้น ชิ้นเล็กติดตายตัว
อยู่ด้านบน
ชิ้นล่างมีรางปรับเลื่อนให้มือสอดเข้าไปทำงานได้ อย่าง น้อย 30 cm
มีซีลสักราทที่ขอบ เมื่อเลื่อนลงมาปิดต้องสนิท อากาศภายนอกจะรั่ว
เข้ามาไม่ได้ เพื่อเปิดหลอด uvฆ่าเชื้อ ก่อนใช้งานครึ่งชั่วโมง ครับ
ไปก่อนครับเย็นๆกลับมาเขียนต่อ ครับ
=============
หลอดuv นี่แบบไหนนิ ค้นหาดู มันมีหลายแบบ ทั้งยาวๆ แล้วก็ตะเกียบ
ถ้าเอาต่อกับ เครื่องกรอง จากภาพ คงไม่ไ้ด้
ตอ่กับผนังด้านหลังได้เปล่าครับ
แล้วไฟแสงสว่าง ควรเป็นหลอดอะไร ดี นิออน หรือ ตะเกียบดีประหยัดไฟดีครับ
===================
หลอด UV ใช้หลอดยาวขนาด 20W ติดตามยาวที่เพดานตู้ด้านใน แล้วหาแผ่นบังแสงมาติดไว้
ป้องกันการไปมองโดยไม่ตั้งใจ และป้องกันมือไปถูก มือเรามีไขมัน จับหลอดโดยตรง
อายุใช้งานหลอดจะสั้นลง ครับ
หลอด UV มีสวิชท์เปิดปิดต่างหาก นอกตู้ จะเปิด เพื่อฆ่าเชื้อภายในตู้ ก่อนจะทำงานครึ่งชั่วโมง
โดยคลุมผ้าที่ตู้ให้มิดและ ลดกระจกด้านหน้า ช่องสำหรับมือที่สอดเข้าไปทำงานลง ด้วยครับ
และจะปิดดับ เมื่อเราเริ่มทำงาน ครับ ขณะทำงานเราจะไม่เปิดหลอด UV ครับ
หลอดแสงสว่างติดที่เพดานภายในตู้เช่นกัน ครับ เป็นหลอดตะเกียบ หรือหลอดยาว 20W
ก็ตามสะดวก มีสวิทข์ปิดเปิดแยกต่างหากอยู่นอกตู้เช่นเดียวกัน ครับ
============================
ใจเย็นๆครับท่านน้องลุงแจ่ม 5555
โน่นแหละได้เห็นมันค่อยๆงอก ตั้งยอดแทงรากในขวดนั่นแหละ
ถึงค่อยดีใจครับ ช่วงจากเนื้อเยื่อปูดๆ(แครัส) เจริญมาเป็น
โปรโตคอม เรามีเทคนิกเล่นกับมันให้มันผ่าเหล่า(มิวเตชั่น)ได้อีกครับ
ไม่ต้องห่วงผมจะเขียนให้ท่านอ่าน จนท่านทำได้แหละครับ
แล้วอย่าลืมซื้อขวด 4ออนซ์ กับ 8ออนซ์ พร้อมฝา สำหรับทำงานมาด้วย
จำนวนเท่าใหร่แล้วแต่ท่านน้องเลยครับ แต่ต้องพอกับจำนวนอาหารผสมสำเร็จ
ที่เราจะซื้อมาผสมวุ้น กรอกลงขวดด้วยนะครับ เริ่มแรก ซัก20ขวด กำลังดีครับ
อาหารถ้าเหลือกรอกใส่ถุงร้อน 5นิ้ว เอาไว้ใช้ได้ครับ
อ่อ...รับแอ็ด ในเฟสด้วยครับ ผมสนใจมะเขือยาว อยากปลูกไว้เผากิน ครับ
ดีจังมีเพื่อนทำตู้ได้แล้ว คุณน้องลุงแจ่มจะได้ทำเนื้อเยื่อ สมใจอยากซักที ครับ
อ่อ.... โบรเวอร์ มันจะมีชุด ปรับความเร็วด้วยครับผมลืมเขียน สามารถปรับความเร็วได้
จากภายนอกตู้ และ ภายในตู้ มีหลอด uv และหลอดแสงสว่าง ติดตั้ง อย่างละหนึ่งหลอด
มีสวิทช์แยกกันเปิด ครับ
ตู้แบบนี้เป็นตู้ทำเนื้อเยื่อ ที่ประหยัดที่สุดแล้วครับ โครงเป็นสแตนเลส
ด้านข้างใช้กระจก กรุ ทั้งหมด ด้านหน้าเป็นกระจกสองชิ้น ชิ้นเล็กติดตายตัว
อยู่ด้านบน
ชิ้นล่างมีรางปรับเลื่อนให้มือสอดเข้าไปทำงานได้ อย่าง น้อย 30 cm
มีซีลสักราทที่ขอบ เมื่อเลื่อนลงมาปิดต้องสนิท อากาศภายนอกจะรั่ว
เข้ามาไม่ได้ เพื่อเปิดหลอด uvฆ่าเชื้อ ก่อนใช้งานครึ่งชั่วโมง ครับ
ไปก่อนครับเย็นๆกลับมาเขียนต่อ ครับ
=============
หลอดuv นี่แบบไหนนิ ค้นหาดู มันมีหลายแบบ ทั้งยาวๆ แล้วก็ตะเกียบ
ถ้าเอาต่อกับ เครื่องกรอง จากภาพ คงไม่ไ้ด้
ตอ่กับผนังด้านหลังได้เปล่าครับ
แล้วไฟแสงสว่าง ควรเป็นหลอดอะไร ดี นิออน หรือ ตะเกียบดีประหยัดไฟดีครับ
===================
หลอด UV ใช้หลอดยาวขนาด 20W ติดตามยาวที่เพดานตู้ด้านใน แล้วหาแผ่นบังแสงมาติดไว้
ป้องกันการไปมองโดยไม่ตั้งใจ และป้องกันมือไปถูก มือเรามีไขมัน จับหลอดโดยตรง
อายุใช้งานหลอดจะสั้นลง ครับ
หลอด UV มีสวิชท์เปิดปิดต่างหาก นอกตู้ จะเปิด เพื่อฆ่าเชื้อภายในตู้ ก่อนจะทำงานครึ่งชั่วโมง
โดยคลุมผ้าที่ตู้ให้มิดและ ลดกระจกด้านหน้า ช่องสำหรับมือที่สอดเข้าไปทำงานลง ด้วยครับ
และจะปิดดับ เมื่อเราเริ่มทำงาน ครับ ขณะทำงานเราจะไม่เปิดหลอด UV ครับ
หลอดแสงสว่างติดที่เพดานภายในตู้เช่นกัน ครับ เป็นหลอดตะเกียบ หรือหลอดยาว 20W
ก็ตามสะดวก มีสวิทข์ปิดเปิดแยกต่างหากอยู่นอกตู้เช่นเดียวกัน ครับ
============================
ใจเย็นๆครับท่านน้องลุงแจ่ม 5555
โน่นแหละได้เห็นมันค่อยๆงอก ตั้งยอดแทงรากในขวดนั่นแหละ
ถึงค่อยดีใจครับ ช่วงจากเนื้อเยื่อปูดๆ(แครัส) เจริญมาเป็น
โปรโตคอม เรามีเทคนิกเล่นกับมันให้มันผ่าเหล่า(มิวเตชั่น)ได้อีกครับ
ไม่ต้องห่วงผมจะเขียนให้ท่านอ่าน จนท่านทำได้แหละครับ
แล้วอย่าลืมซื้อขวด 4ออนซ์ กับ 8ออนซ์ พร้อมฝา สำหรับทำงานมาด้วย
จำนวนเท่าใหร่แล้วแต่ท่านน้องเลยครับ แต่ต้องพอกับจำนวนอาหารผสมสำเร็จ
ที่เราจะซื้อมาผสมวุ้น กรอกลงขวดด้วยนะครับ เริ่มแรก ซัก20ขวด กำลังดีครับ
อาหารถ้าเหลือกรอกใส่ถุงร้อน 5นิ้ว เอาไว้ใช้ได้ครับ
อ่อ...รับแอ็ด ในเฟสด้วยครับ ผมสนใจมะเขือยาว อยากปลูกไว้เผากิน ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-13
สมมุติว่า ตู้เรายาว หนึ่งเมตร ลึกห้าสิบเซ็น
แผ่นกรอง hepa เราต้องขนาดใหญ่เท่านั้นหรือเปล่าครับ
==============
ถูกต้องครับ อาจมีการตัดแต่งเล็กน้อย เพื่อใส่ลงในกรอบให้ได้พอดี
เมื่อเราทำกรอบแผ่นกรอง ด้านบนเพดานตู้แล้วต้องพอดีครับ
ไม่ให้อากาศรั่วลงเข้าตู้ไปได้โดยไม่ผ่านแผ่นกรองครับ
ช่างทำตู้น่าจะเข้าใจทำได้ครับ
ความหนาแล้วแต่แผ่นเฮอป้าที่ได้มา อย่างน้อยควรห้าเซนต์ขึ้นไปครับ
ยิ่งหนายิ่งดี ครับ ลองดูรูปคร่าวๆ ครับ ปริ่นให้ช่างทำ
อย่าลืมกระจกด้านหน้าควรปรับขึ้นลงได้ประมาณ 30 cm ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-12
ที่นี้เรื่องพัดลม จริงๆ เขาดูดอากาศจากภายนอกมาใช้ หรือ เอาในตู้วนกลับมาใช้
เพราตอนนี้ กล่องที่จะใส่พัดลม กับ แผ่นกรอง ยังงงๆ อยู่ ว่าจะต้องเจาะด้านบน ช่องเดีวหรือสองช่องเพื่อดูด วนอากาศ
-----------------------------------------------------
เนื่องจากขนาดตู้ของท่านจะทำมีขนาดไม่ใหญ่ ที่เหมาะสมจะเป็นแบบตู้ในระบบ ลามิน่า เท่านั้นครับ
ใช้อากาศจากภายนอก ผ่านใส้กรองเบื้องต้น เข้ามอเตอร์กรงกะรอก อัดผ่านใส้กรอง เฮอป้า หรืออูป้า
เข้าสู่พื้นที่ทำงานครับ
ไม่ต้องมีระบบปรับความดัน ที่ใช้อากาศหมุนเวียนภายใน แบบที่ใช้ในระบบ ไบโอฮาสซาท ครับ
อยากให้ท่านอ่าน ในเวปนี้ก่อนช้าๆให้เข้าใจระบบตู้ก่อนครับ แล้วจึงค่อยไปสั่งทำ ครับ
http://www.isscothai.com/th/resources/laminar-flow-cabinets/introduction-to-laminar-flow-clean-benches.html
-----------------------------------------------------------
แล้วตรงที่ตั้งตะเกียง จะต้องมีปล่องระบายความร้อนมา จ่อครอบไว้หรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นของจริงสักที
แล้วขนาดที่ผมบอกต้องติดหลอด uv กี่ดวง ตำแหน่งการติดตั้ง ควรจะอยู่ตรงไหน ของตู้
-------------------------------------------------------------------------
ไม่ต้องมีปล่องครับ ตู้ขนาดที่ท่านบอก ติดหลอดuvชนิดสั้น หลอด ขนาด 20w
หลอดเดียว บริเวณใต้เพดานห้องปฏิบัติ งาน พอครับ และอย่าลืมมีแผ่นกั้นบังสายตา และมือ
ไปโดนด้วยครับ
--------------------------------------------------------------
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
------------------------------------------------------------
ระบบลามิน่าไม่ต้องใช้ ครับ
-----------------------------------------------------------
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
=ขนณะนี้ ยังนึกภาพไม่ออก ใช่อย่างที่แม่ค้าเอามาทำพัดลมเป่านั่นปะ
----------------------------------------------------------
ท่านต้องไปร้านซ่อมแอรแล้วขอเค้าดูพัดลมกรงกะรอก ที่ใช้กับคอลย์เย็น ครับ
--------------------------------------------------------------
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
=หมายถึงพัดลมดูดอาการออกก็ต้ งปรับความเร็วลมหรือครับ
---------------------------------------------------------------
อย่างที่บอกครับ ขนาดตู้และระบบของท่านที่ใช้ ไม่ต้องใช้พัดลมตัวเล็กแล้วครับ
-----------------------------------------------------------
พัดลมผมมีแบบด้านบนจั้น มีแน่ๆ แต่การวางแผ่นกรอง ตัวแผ้นกรองกว้างยาวกี่นิ้วครับ
---------------------------------------------------------------------------
แผ่นกรองเบื้องต้นสำหรับกรองอากาศเข้า เพื่อป้อนอากาศให้กับโบรเวอร์กรงกะรอก
ควรพอดีกับปากทางอากาศเข้า ครับแต่ไม่ควรเล็กมาก เนื้องจากอากาศจะถูกดูดเร็วมาก
ทำให้กรองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ครับ
ถ้าปากทางเข้าโบรเวอร์มีขนาดเล็ก ต้องทำกรวยขยายปากทางเข้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ครับ
และเช่นเดียวกัน ด้านอากาศออกก่อนอัดเข้าแผ่นกรองควรมีกรวยขยายให้เต็มเพดานพื้นที่ทำงานก่อน
ส่งอากาศผ่านใส้กรองที่มีขนาดเต็มเพดานพื้นที่ทำงาน ครับ
ไม่เป็นไรครับ ยินดี แต่ผมอาจตอบช้าไปบ้าง ไม่ทันใจต้องขออภัยครับ
เพราะช่วงนี้ผมต้องไปทำธุระนอกบ้านบ่อยหน่อย และใช้สองนิ้วจิ้มพิมพ์เอาครับ
============================
Re: ลุงแจ่ม จะเพาะเนื้อเยื่อ
« มิถุนายน 30, 2014, 10:36:17 AM »
ตู้ที่ผมส่งทำ กว้างหรือลึก 50ซม
ยาว 1 เมตร
สูง 50 ซม
สแตนเลททั้งหมด
ที่นี้เรื่องพัดลม จริงๆ เขาดูดอากาศจากภายนอกมาใช้ หรือ เอาในตู้วนกลับมาใช้
เพราตอนนี้ กล่องที่จะใส่พัดลม กับ แผ่นกรอง ยังงงๆ อยู่ ว่าจะต้องเจาะด้านบน ช่องเดีวหรือสองช่องเพื่อดูด วนอากาศ
แล้วตรงที่ตั้งตะเกียง จะต้องมีปล่องระบายความร้อนมา จ่อครอบไว้หรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นของจริงสักที
แล้วขนาดที่ผมบอกต้องติดหลอด uv กี่ดวง ตำแหน่งการติดตั้ง ควรจะอยู่ตรงไหน ของตู้
ขอบคุณ ท่านพี่และทุกท่านที่เอื้อเฟื้อความรุ้ครับ
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
อันนี้ถอหา
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
=ขนณะนี้ ยังนึกภาพไม่ออก ใช่อย่างที่แม่ค้าเอามาทำพัดลมเป่านั่นปะ
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
=หมายถึงพัดลมดูดอาการออกก็ต้ งปรับความเร็วลมหรือครับ
พัดลมผมมีแบบด้านบนจั้น มีแน่ๆ แต่การวางแผ่นกรอง ตัวแผ้นกรองกว้างยาวกี่นิ้วครับ
ปล...สอนยากนิ ตาคนนี้55555
===================
เพราตอนนี้ กล่องที่จะใส่พัดลม กับ แผ่นกรอง ยังงงๆ อยู่ ว่าจะต้องเจาะด้านบน ช่องเดีวหรือสองช่องเพื่อดูด วนอากาศ
-----------------------------------------------------
เนื่องจากขนาดตู้ของท่านจะทำมีขนาดไม่ใหญ่ ที่เหมาะสมจะเป็นแบบตู้ในระบบ ลามิน่า เท่านั้นครับ
ใช้อากาศจากภายนอก ผ่านใส้กรองเบื้องต้น เข้ามอเตอร์กรงกะรอก อัดผ่านใส้กรอง เฮอป้า หรืออูป้า
เข้าสู่พื้นที่ทำงานครับ
ไม่ต้องมีระบบปรับความดัน ที่ใช้อากาศหมุนเวียนภายใน แบบที่ใช้ในระบบ ไบโอฮาสซาท ครับ
อยากให้ท่านอ่าน ในเวปนี้ก่อนช้าๆให้เข้าใจระบบตู้ก่อนครับ แล้วจึงค่อยไปสั่งทำ ครับ
http://www.isscothai.com/th/resources/laminar-flow-cabinets/introduction-to-laminar-flow-clean-benches.html
-----------------------------------------------------------
แล้วตรงที่ตั้งตะเกียง จะต้องมีปล่องระบายความร้อนมา จ่อครอบไว้หรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นของจริงสักที
แล้วขนาดที่ผมบอกต้องติดหลอด uv กี่ดวง ตำแหน่งการติดตั้ง ควรจะอยู่ตรงไหน ของตู้
-------------------------------------------------------------------------
ไม่ต้องมีปล่องครับ ตู้ขนาดที่ท่านบอก ติดหลอดuvชนิดสั้น หลอด ขนาด 20w
หลอดเดียว บริเวณใต้เพดานห้องปฏิบัติ งาน พอครับ และอย่าลืมมีแผ่นกั้นบังสายตา และมือ
ไปโดนด้วยครับ
--------------------------------------------------------------
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
------------------------------------------------------------
ระบบลามิน่าไม่ต้องใช้ ครับ
-----------------------------------------------------------
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
=ขนณะนี้ ยังนึกภาพไม่ออก ใช่อย่างที่แม่ค้าเอามาทำพัดลมเป่านั่นปะ
----------------------------------------------------------
ท่านต้องไปร้านซ่อมแอรแล้วขอเค้าดูพัดลมกรงกะรอก ที่ใช้กับคอลย์เย็น ครับ
--------------------------------------------------------------
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
=หมายถึงพัดลมดูดอาการออกก็ต้ งปรับความเร็วลมหรือครับ
---------------------------------------------------------------
อย่างที่บอกครับ ขนาดตู้และระบบของท่านที่ใช้ ไม่ต้องใช้พัดลมตัวเล็กแล้วครับ
-----------------------------------------------------------
พัดลมผมมีแบบด้านบนจั้น มีแน่ๆ แต่การวางแผ่นกรอง ตัวแผ้นกรองกว้างยาวกี่นิ้วครับ
---------------------------------------------------------------------------
แผ่นกรองเบื้องต้นสำหรับกรองอากาศเข้า เพื่อป้อนอากาศให้กับโบรเวอร์กรงกะรอก
ควรพอดีกับปากทางอากาศเข้า ครับแต่ไม่ควรเล็กมาก เนื้องจากอากาศจะถูกดูดเร็วมาก
ทำให้กรองทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ครับ
ถ้าปากทางเข้าโบรเวอร์มีขนาดเล็ก ต้องทำกรวยขยายปากทางเข้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ครับ
และเช่นเดียวกัน ด้านอากาศออกก่อนอัดเข้าแผ่นกรองควรมีกรวยขยายให้เต็มเพดานพื้นที่ทำงานก่อน
ส่งอากาศผ่านใส้กรองที่มีขนาดเต็มเพดานพื้นที่ทำงาน ครับ
ไม่เป็นไรครับ ยินดี แต่ผมอาจตอบช้าไปบ้าง ไม่ทันใจต้องขออภัยครับ
เพราะช่วงนี้ผมต้องไปทำธุระนอกบ้านบ่อยหน่อย และใช้สองนิ้วจิ้มพิมพ์เอาครับ
============================
Re: ลุงแจ่ม จะเพาะเนื้อเยื่อ
« มิถุนายน 30, 2014, 10:36:17 AM »
ตู้ที่ผมส่งทำ กว้างหรือลึก 50ซม
ยาว 1 เมตร
สูง 50 ซม
สแตนเลททั้งหมด
ที่นี้เรื่องพัดลม จริงๆ เขาดูดอากาศจากภายนอกมาใช้ หรือ เอาในตู้วนกลับมาใช้
เพราตอนนี้ กล่องที่จะใส่พัดลม กับ แผ่นกรอง ยังงงๆ อยู่ ว่าจะต้องเจาะด้านบน ช่องเดีวหรือสองช่องเพื่อดูด วนอากาศ
แล้วตรงที่ตั้งตะเกียง จะต้องมีปล่องระบายความร้อนมา จ่อครอบไว้หรือไม่ เพราะไม่เคยเห็นของจริงสักที
แล้วขนาดที่ผมบอกต้องติดหลอด uv กี่ดวง ตำแหน่งการติดตั้ง ควรจะอยู่ตรงไหน ของตู้
ขอบคุณ ท่านพี่และทุกท่านที่เอื้อเฟื้อความรุ้ครับ
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
อันนี้ถอหา
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
=ขนณะนี้ ยังนึกภาพไม่ออก ใช่อย่างที่แม่ค้าเอามาทำพัดลมเป่านั่นปะ
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
=หมายถึงพัดลมดูดอาการออกก็ต้ งปรับความเร็วลมหรือครับ
พัดลมผมมีแบบด้านบนจั้น มีแน่ๆ แต่การวางแผ่นกรอง ตัวแผ้นกรองกว้างยาวกี่นิ้วครับ
ปล...สอนยากนิ ตาคนนี้55555
===================
การเพาะเนื้อเยื่อ-11
พัดลมใช้แบบไหนครับ ขนาดใหน หรือพัดลมที่ติดระบายตามห้องแอร์ทั่วไป
ข--------------------------------------------------------------------
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
ถ้าความเร็วต่ำสุดมันยังมีลมใหลออกมาแรงที่หน้าตู้ ช่องที่เราเอามือสอด
เข้าไปทำงานนั่นแหละ และเวลาทำงานไฟตะเกียงแอลกอฮอมันจะสะบัดไม่นิ่ง
จึงต้องระบายแรงดันออกไปด้วยพัดลมตัวเล็กๆ เพิ่มอีกครับ
ถ้าลมที่เป่าออกมาจากกรอง แรงเกินไป ตัวกรองจะกรองได้ไม่ดี และเปลวไฟจากตะเกียง
จะสะบัดมากไป ที่สำคัญเสียงจะดัง ทำงานนานๆจะไม่มีสมาธิ ครับ
และถ้าลมที่เป่าออกมาจากโบเวอร์น้อยเกินไปก็ไม่สามารถป้องกันอากาศ
ที่ไม่สะอาดจากนอกตู้ใหลย้อนเข้ามาได้ครับ
จุดที่กรอง และทำงานได้ดีที่สุดอยู่ที่ปริมาณอากาศไหลออกมาด้วยความเร็ว 0.4 เมตร ต่อวินาที วางเครื่องมือวัด ณ.จุดสูงจากพื้นที่ปฏิบัติงาน15 cm. อย่างสม่ำเสมอครับ
เครื่องมือวัด ท่านต้องหายืมเอาจากห้องแลป ม.เกษตร แถวๆบ้านท่านครับ เป็นกล่องเล็กๆ
ใหญ่กว่ากล่องไม้ขีดหน่อย มีใบพัดหมุนได้อยู่ข้างบน เอากล่องนี้วางหงายรับลม ให้สูงจากพื้น
ทำงาน 15 cm ที่เป่ามาจากเพดาน โดยเปิดหน้าตู้กว้างสุด ปรับความเร็วทั้งโบรเวอร์ และ
พัดลมตัวเล็ก จนได้ความเร็วลมที่0.4 เมตร ต่อวินาทีครับ เปลวไฟจากตะเกียงจะสะพัดเล็กน้อย
แล้วทำเครื่องหมายที่ตัวปรับไว้ ครับ เป็นอันเสร็จ ครับ
ข--------------------------------------------------------------------
พัดลมตัวที่เอาอากาศออก เพื่อใช้ปรับความดัน และระบายความร้อนจากหลอด UV
ที่ติดตั้งอยู่ด้านในของหลังตู้ เป็นพัดลมแบบบัสเลสซ์ สีเหลี่ยมตัวเล็กๆ
พัดลมหลังเครื่องคอมน่ะครับ มันจะเงียบกว่าพัดลมธรรมดาทั่วๆไปครับติดตั้งด้านบนของตู้
ส่วนพัดลมที่ใช้อัดอากาศลงมาที่ห้องทำงานของตู้ เป็นแบบโบรเวอร์กรงกะรอก
ที่ใช้ในแอรบ้านน่ะครับ มีชุดปรับระดับความเร็ว ใช้ของแอรนั่นแหละครับ
ทั้งหมดเป็นของมือสองนะครับ
สำหรับตัวปรับความเร็วพัดลมตัวเล็ก ต้องจ้างร้านซ่อมทีวี วิทยุทำให้ ร้านนัทพงษ์
หรือ ร้านอมร มีขายเป็นชุดประกอบเล็กๆ ต้องให้ช่างประกอบให้ครับ
ถ้าความเร็วต่ำสุดมันยังมีลมใหลออกมาแรงที่หน้าตู้ ช่องที่เราเอามือสอด
เข้าไปทำงานนั่นแหละ และเวลาทำงานไฟตะเกียงแอลกอฮอมันจะสะบัดไม่นิ่ง
จึงต้องระบายแรงดันออกไปด้วยพัดลมตัวเล็กๆ เพิ่มอีกครับ
ถ้าลมที่เป่าออกมาจากกรอง แรงเกินไป ตัวกรองจะกรองได้ไม่ดี และเปลวไฟจากตะเกียง
จะสะบัดมากไป ที่สำคัญเสียงจะดัง ทำงานนานๆจะไม่มีสมาธิ ครับ
และถ้าลมที่เป่าออกมาจากโบเวอร์น้อยเกินไปก็ไม่สามารถป้องกันอากาศ
ที่ไม่สะอาดจากนอกตู้ใหลย้อนเข้ามาได้ครับ
จุดที่กรอง และทำงานได้ดีที่สุดอยู่ที่ปริมาณอากาศไหลออกมาด้วยความเร็ว 0.4 เมตร ต่อวินาที วางเครื่องมือวัด ณ.จุดสูงจากพื้นที่ปฏิบัติงาน15 cm. อย่างสม่ำเสมอครับ
เครื่องมือวัด ท่านต้องหายืมเอาจากห้องแลป ม.เกษตร แถวๆบ้านท่านครับ เป็นกล่องเล็กๆ
ใหญ่กว่ากล่องไม้ขีดหน่อย มีใบพัดหมุนได้อยู่ข้างบน เอากล่องนี้วางหงายรับลม ให้สูงจากพื้น
ทำงาน 15 cm ที่เป่ามาจากเพดาน โดยเปิดหน้าตู้กว้างสุด ปรับความเร็วทั้งโบรเวอร์ และ
พัดลมตัวเล็ก จนได้ความเร็วลมที่0.4 เมตร ต่อวินาทีครับ เปลวไฟจากตะเกียงจะสะพัดเล็กน้อย
แล้วทำเครื่องหมายที่ตัวปรับไว้ ครับ เป็นอันเสร็จ ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-10
เอาเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ ก่อนนะครับ
อาหารวุ้น ซื้อเอา สำเร็จ พร้อมใช้ก่อน ครับ
ส่วนมากจะเป็นสูตร MSใส่มาในขวดแก้ว ขนาด 4 และ 8 ออนซ์ ครับ
ใส่มาสูงประมาณ เซนต์ครึ่ง เช็คดูทุกขวดไม่ให้มีรา มีจุด ไม่เอา สำคัญนะครับ
จะเละๆอยู่ในขวดบ้าง(ไม่แข็ง)ก็ไม่เป็นไร แต่เราจะทำงานไม่สะดวก
แต่ฝาปิดมาต้องแน่นมา นะครับ สำคัญ
สำหรับใส่ในขวดเหลี่ยมเลี้ยงลูกกล้วย คงต้องสั่ง
ผมยังไม่เห็นที่ใหนเค้าทำสำเร็จครับ
ของใช้ที่ต้องเตรียมครับ
1 ด้ามมีด #3 จำนวน 4 อัน ใช้ในตู้
2 ใบมีด # 10 และ # 11 สแตนเลส อย่างละครึ่งกล่อง
3 ปากคีบ ขนาด 8 นิ้ว 4 อัน ใช้ในตู้
4 ตะเกียงแอลกอฮอ 1 อัน
5 ขวดปากกว้างใส่แอลกอฮอ แช่เครื่องมือ ใช้ในตู้ 1ใบ
6 แร็คสแตนเลส วางเครื่องมือ ใช้ในตู้
7 แผ่นรองตัดสแตนเลส ขนาด A4พับครึ่ง ใช้ในตู้
8 กระบอกฟ๊อกกี้สเปรย์แอลกอฮอ 2 อัน ใช้สเปรย์ฉีดภายตู้
ก่อนทำงาน และมือทุกครั้งที่จะเอามือเข้าตู้
9 ผ้าขนหนูผืนเล็ก 4 ผืน ใช้ทำผ้าขี้ริ้ว ใช้ในตู้
ของที่ลงท้าย"ใช้ในตู้"ต้องนึ่งก่อนทุกครั้ง ตอนนี้ใช้ซึ้งนึ่งข้าวนี่แหละ
ใช้ไปก่อน มีตังค์เยอะๆ ค่อยซื้อหม้อนึ่งความดันครับ นึ่ง 20 นาทีหลังน้ำเดือด ครับ
นึ่งเสร็จรอให้อุ่นหน่อย รีบเอามาใช้เลย
ของทุกชนิดให้ห่อด้วยฟรอย์อลูมิเนี่ยมก่อน(ฟรอย์ทำอาหารปลาเผานี่แหละใช้ได้ ครับ)
โดยรวม มีด ฟอร์เซป ไว้ถุงหนึ่ง กระดาษA4พับครึ่ง ผ้าขนหนู ไว้ถุงหนึง
และอย่าทิ้งไว้นาน ประเภท นึ่งวันนี้ใช้พรุ่งนี้ไม่ได้ ครับ
10 แอลกอฮอ 95% 1 แกลลอน 18 ลิตร
11 กล่องพลาสติกใส แสงเข้าได้ พร้อมฝาปิด ขนาดใหญ่ ฝาเจาะรู
ติดแผ่นกรอง ระบายอากาศ
จะเอาไว้เก็บ ขวดที่เราทำแล้ว ก่อนใช้ต้องสเปรย์แอลกอฮอก่อน เช่นกัน
จะใช้แทนห้องคลีนรูม เก็บเนื้อเยื่อที่ทำแล้ว ให้โดนแดดอ่อนๆเช้าและเย็นครับ
12 ตู้ ถ้ายังหาไม่ได้เอาตู้ปลากระจกทุกด้าน ขนาด 36 นิ้ว มาก่อนครับ ผมจะเขียนให้ท่านอ่าน
จน ทำจนเป็นนั่นแหละ ครับ ไม่ต้องห่วง ขอให้เอาจริงเถอะครับ
วันหลังค่อยไปจ้างเค้าทำตู้ ก็ได้ครับ
เพื่อนๆท่านใดมีรายละเอียดเพิ่มเติม เชิญครับช่วยๆกัน มาสร้างนักเพาะเนื้อเยื่อ
เพิ่มขึ้นมาในบ้านเราอีกคนเถอะครับ
ให้ถือคติว่า คอนทามิเนต เป็นเรื่องธรรมชาติ ครับ
เดี๋ยวต่อไปเราจะมาว่ากันเรื่อง การฟอกชิ้นงาน ครับ
อ่อ...เตรียมซื้อน้ำยาแช่ผ้า ครอล๊อกซ์ หนึ่งขวดใหญ่ หรือถ้าหาไม่ได้ ไฮเตอร์ ก็ได้ครับ
และน้ำยาล้างแผล ไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซยด์ มาด้วย หนึ่งขวดใหญ่ ครับ
อาหารวุ้น ซื้อเอา สำเร็จ พร้อมใช้ก่อน ครับ
ส่วนมากจะเป็นสูตร MSใส่มาในขวดแก้ว ขนาด 4 และ 8 ออนซ์ ครับ
ใส่มาสูงประมาณ เซนต์ครึ่ง เช็คดูทุกขวดไม่ให้มีรา มีจุด ไม่เอา สำคัญนะครับ
จะเละๆอยู่ในขวดบ้าง(ไม่แข็ง)ก็ไม่เป็นไร แต่เราจะทำงานไม่สะดวก
แต่ฝาปิดมาต้องแน่นมา นะครับ สำคัญ
สำหรับใส่ในขวดเหลี่ยมเลี้ยงลูกกล้วย คงต้องสั่ง
ผมยังไม่เห็นที่ใหนเค้าทำสำเร็จครับ
ของใช้ที่ต้องเตรียมครับ
1 ด้ามมีด #3 จำนวน 4 อัน ใช้ในตู้
2 ใบมีด # 10 และ # 11 สแตนเลส อย่างละครึ่งกล่อง
3 ปากคีบ ขนาด 8 นิ้ว 4 อัน ใช้ในตู้
4 ตะเกียงแอลกอฮอ 1 อัน
5 ขวดปากกว้างใส่แอลกอฮอ แช่เครื่องมือ ใช้ในตู้ 1ใบ
6 แร็คสแตนเลส วางเครื่องมือ ใช้ในตู้
7 แผ่นรองตัดสแตนเลส ขนาด A4พับครึ่ง ใช้ในตู้
8 กระบอกฟ๊อกกี้สเปรย์แอลกอฮอ 2 อัน ใช้สเปรย์ฉีดภายตู้
ก่อนทำงาน และมือทุกครั้งที่จะเอามือเข้าตู้
9 ผ้าขนหนูผืนเล็ก 4 ผืน ใช้ทำผ้าขี้ริ้ว ใช้ในตู้
ของที่ลงท้าย"ใช้ในตู้"ต้องนึ่งก่อนทุกครั้ง ตอนนี้ใช้ซึ้งนึ่งข้าวนี่แหละ
ใช้ไปก่อน มีตังค์เยอะๆ ค่อยซื้อหม้อนึ่งความดันครับ นึ่ง 20 นาทีหลังน้ำเดือด ครับ
นึ่งเสร็จรอให้อุ่นหน่อย รีบเอามาใช้เลย
ของทุกชนิดให้ห่อด้วยฟรอย์อลูมิเนี่ยมก่อน(ฟรอย์ทำอาหารปลาเผานี่แหละใช้ได้ ครับ)
โดยรวม มีด ฟอร์เซป ไว้ถุงหนึ่ง กระดาษA4พับครึ่ง ผ้าขนหนู ไว้ถุงหนึง
และอย่าทิ้งไว้นาน ประเภท นึ่งวันนี้ใช้พรุ่งนี้ไม่ได้ ครับ
10 แอลกอฮอ 95% 1 แกลลอน 18 ลิตร
11 กล่องพลาสติกใส แสงเข้าได้ พร้อมฝาปิด ขนาดใหญ่ ฝาเจาะรู
ติดแผ่นกรอง ระบายอากาศ
จะเอาไว้เก็บ ขวดที่เราทำแล้ว ก่อนใช้ต้องสเปรย์แอลกอฮอก่อน เช่นกัน
จะใช้แทนห้องคลีนรูม เก็บเนื้อเยื่อที่ทำแล้ว ให้โดนแดดอ่อนๆเช้าและเย็นครับ
12 ตู้ ถ้ายังหาไม่ได้เอาตู้ปลากระจกทุกด้าน ขนาด 36 นิ้ว มาก่อนครับ ผมจะเขียนให้ท่านอ่าน
จน ทำจนเป็นนั่นแหละ ครับ ไม่ต้องห่วง ขอให้เอาจริงเถอะครับ
วันหลังค่อยไปจ้างเค้าทำตู้ ก็ได้ครับ
เพื่อนๆท่านใดมีรายละเอียดเพิ่มเติม เชิญครับช่วยๆกัน มาสร้างนักเพาะเนื้อเยื่อ
เพิ่มขึ้นมาในบ้านเราอีกคนเถอะครับ
ให้ถือคติว่า คอนทามิเนต เป็นเรื่องธรรมชาติ ครับ
เดี๋ยวต่อไปเราจะมาว่ากันเรื่อง การฟอกชิ้นงาน ครับ
อ่อ...เตรียมซื้อน้ำยาแช่ผ้า ครอล๊อกซ์ หนึ่งขวดใหญ่ หรือถ้าหาไม่ได้ ไฮเตอร์ ก็ได้ครับ
และน้ำยาล้างแผล ไฮโดรเจ่นเปอร์อ๊อกไซยด์ มาด้วย หนึ่งขวดใหญ่ ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-9
อย่าน้อยวันนี้ หลังจากพี่ถ่ายทอดควาทรู้มา
เรื่องตู้ จากที่ดูความหวังเลือนลาง
ตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาละ ตู้สี่เหลื่ยม ขนาดพอเหมาะกับการทำงาน
ถ้าจำเป็น ขอมีแค่ ยูวีกับไฟส่องสว่างก่อน ถ้าเอาดีอีกนิด ระบบหมุนวนอากาศ
ส่วนนึงถูกดูดออกด้วยพัดลมเล็กๆหนึ่งตัว ส่วนที่กลับมาใช้ด้วยหอยโข่งหรือแล้วแต่ประยุกต์
โดยต้องผ่าน แผ่นกรองเชื้อโรค(ไม่แน่ใจว่าแ่ผนกรองของแอร์ตามโฮมโปรใช้ได้หรือเปล่าบ้านนอกบางที่หายาก)
ถ้าจะทดลองเท่านี้น่าจะไช้ได้
อาหารซื้อ
เครื่องมือยืม
ตู้ ในบ้านมันต้องมีอะไรสักชิ้นซิน่า พอได้เอามาฝึกทดลอง
ขอบคุณหลายๆท่านที่เข้ามาให้ความรู้จริงๆครับ
ผมทำแน่ แต่ขอรวบๆ เครื่องมือต่างๆก่อน คนจนทุนมันน้อย
ว่าจะไปยืมๆ ของอามาก่อน เป็นหมอ น่าจะมีอะไรให้หยิบๆบ้างละน่า5555
==============
มาเรื่องรายละเอียดตู้ ครับ
ตู้ที่ทำจะเป็นแผ่นสแตนเลส พับเชื่อมขึ้นรูป ขนาดหนาบางตามกำลังทรัพย์ครับ
ตามแบบในรูป ตอบ#27 เป็นตู้ปลอดเชื้อระบบ air flow cabinet
ใช้ระบบการเป่าลมสะอาด ผ่าน แผ่นกรองไมโครไฟเบอร์ เฮอป้า หรือ อูป้า
ด้วยความเร็ว 0.4 เมตร ต่อวินาที (วางเครื่องมือวัด ณ.จุดสูงจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
15 cm.)อย่างสม่ำเสมอ
แผ่นหลัง แผ่นด้านบน แผ่นด้านข้างทั้งสองด้าน และ
แผ่นด้านใต้โต๊ะ สามารถเปิดออกและยึดติดกับโครงสร้างตู้
ด้วยน๊อต และแถบยางซิลิโคน สำหรับซีล
จุดประสงค์เพื่อสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ครับ
สำหรับด้านอากาศเข้า อาจเป็นด้านบน หรือด้านข้าง แล้วแต่ชุดมอเตอร์โบรเวอร์
ที่ได้มาครับ และ ต้องมีแผ่นกรองชั้นต้น(prefilter) เพื่อลดการอุดตันของแผ่นกรอง
เฮอป้า ไม่ให้แผ่นกรองเฮอป้าทำงานหนัก และตันเร็วเกินไป ครับ
หลอดuv ที่ติดอยู่ภายใน ด้านผนังหลังตู้ สำหรับฆ่าเชื้อควรใช้ไม่น้อยกว่า3 ชุด
ในห้องพื้นที่ทำงาน อีก1 ชุด รวมเป็น 4ชุด
หลอด uv ชุดด้านหลังจะถูกเปิดตลอดเมื่อมอเตอร์โบรเวอร์ทำงาน ส่วน
หลอดuvชุดในห้องพื้นที่ทำงาน ที่มีชุดบังตาประกอบติดอยู่ จะมี สวิทส์แยกต่างหาก
สำหรับปิดขณะทำงานเพื่อไม่ให้แสงuvสะท้อนจากผนังทำลายสายตา ครับ
จะเปิดเมื่อตอน วอมตู้ก่อนใช้งาน ครึ่งชั่วโมง ครับ
ขณะทำงานในห้องพื้นที่ทำงาน จะเปิด เฉพาะหลอดแสงสว่างเพียงอย่างเดียวครับ
สำหรับแผ่นพื้นทำงาน ในห้องพื้นที่ทำงาน จะเป็นแผ่นสแตนเลส หนากว่าปกติเล็กน้อย
เจาะรูขนาดเล็กสามมิล ห้าแถว ตลอดแนวยาวของแผ่นพื้น ที่ขอบทุกด้าน ยกเว้นด้านหลัง
ให้เจาะรูที่ผนัง เพื่อรับอากาศสะอาดที่เป่ามาจากเพดานห้องทำงาน(ceiling type)
อากาศที่สะอาด ส่วนหนึ่งจะดันออกไปที่ช่องเปิดด้านหน้า ด้วยแรงดันอากาศในตู้ที่มากกว่า
อากาศภายนอก ทำให้เชื้อต่างๆจากภายนอกเข้ามาไม่ได้ครับ เพื่อเป็นการปรับแรงดันภายในตู้
ไม่ให้มากเกินไปถึงแม้เราจะเปิด โบรเวอร์รอบต่ำสุดแล้วก็ตาม จะมีพัดลมเล็กๆประเภทบูสเลส
ติดอยู่ด้านบน จะเปิดเพื่อลดปรับแรงดันภายในตู้ไม่ให้มากเกินไปได้อีก โดยผ่านแผ่นกรองเช่นกัน
ที่พื้นทำงาน เราจะไม่ใช้วิธีเจาะเป็นช่องขนาดใหญ่ที่ขอบแผ่นทำงาน แล้วติดแผ่น
ตะแกรงสแตนเลสแทนการเจาะรูครับ เพราะเราจะไม่สะดวกในการ ทำความสะอาด
แผ่นตะแกรงนี้ ครับ จึงใช้วิธีเจาะรูขนาด สามมิล ห้าแถว ครับ
ด้านหลังห้องพื้นที่ทำงาน มุม รอยตะเข็บเชื่อม ทั้งหมดจะถูกซีลด้วยกาวซิลิโคน ทั้งหมด ครับ
เพื่อป้องกัน เชื้อต่างๆสะท้อนเข้าด้านหน้าตู้ ตู้ต้องวางตู้ในลักษณะโล่งจะต้องมีพื้นที่ด้านหลัง
ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 50 cm ครับ
ตู้ที่เราใช้ขนาดนี้ ระบบนี้ พอแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ถึง Safetu Cabinet Class ll Type A
หรือ Type B ครับ
(อ้างอิงที่มา ผศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ)
เรื่องตู้ จากที่ดูความหวังเลือนลาง
ตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาละ ตู้สี่เหลื่ยม ขนาดพอเหมาะกับการทำงาน
ถ้าจำเป็น ขอมีแค่ ยูวีกับไฟส่องสว่างก่อน ถ้าเอาดีอีกนิด ระบบหมุนวนอากาศ
ส่วนนึงถูกดูดออกด้วยพัดลมเล็กๆหนึ่งตัว ส่วนที่กลับมาใช้ด้วยหอยโข่งหรือแล้วแต่ประยุกต์
โดยต้องผ่าน แผ่นกรองเชื้อโรค(ไม่แน่ใจว่าแ่ผนกรองของแอร์ตามโฮมโปรใช้ได้หรือเปล่าบ้านนอกบางที่หายาก)
ถ้าจะทดลองเท่านี้น่าจะไช้ได้
อาหารซื้อ
เครื่องมือยืม
ตู้ ในบ้านมันต้องมีอะไรสักชิ้นซิน่า พอได้เอามาฝึกทดลอง
ขอบคุณหลายๆท่านที่เข้ามาให้ความรู้จริงๆครับ
ผมทำแน่ แต่ขอรวบๆ เครื่องมือต่างๆก่อน คนจนทุนมันน้อย
ว่าจะไปยืมๆ ของอามาก่อน เป็นหมอ น่าจะมีอะไรให้หยิบๆบ้างละน่า5555
==============
มาเรื่องรายละเอียดตู้ ครับ
ตู้ที่ทำจะเป็นแผ่นสแตนเลส พับเชื่อมขึ้นรูป ขนาดหนาบางตามกำลังทรัพย์ครับ
ตามแบบในรูป ตอบ#27 เป็นตู้ปลอดเชื้อระบบ air flow cabinet
ใช้ระบบการเป่าลมสะอาด ผ่าน แผ่นกรองไมโครไฟเบอร์ เฮอป้า หรือ อูป้า
ด้วยความเร็ว 0.4 เมตร ต่อวินาที (วางเครื่องมือวัด ณ.จุดสูงจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
15 cm.)อย่างสม่ำเสมอ
แผ่นหลัง แผ่นด้านบน แผ่นด้านข้างทั้งสองด้าน และ
แผ่นด้านใต้โต๊ะ สามารถเปิดออกและยึดติดกับโครงสร้างตู้
ด้วยน๊อต และแถบยางซิลิโคน สำหรับซีล
จุดประสงค์เพื่อสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ครับ
สำหรับด้านอากาศเข้า อาจเป็นด้านบน หรือด้านข้าง แล้วแต่ชุดมอเตอร์โบรเวอร์
ที่ได้มาครับ และ ต้องมีแผ่นกรองชั้นต้น(prefilter) เพื่อลดการอุดตันของแผ่นกรอง
เฮอป้า ไม่ให้แผ่นกรองเฮอป้าทำงานหนัก และตันเร็วเกินไป ครับ
หลอดuv ที่ติดอยู่ภายใน ด้านผนังหลังตู้ สำหรับฆ่าเชื้อควรใช้ไม่น้อยกว่า3 ชุด
ในห้องพื้นที่ทำงาน อีก1 ชุด รวมเป็น 4ชุด
หลอด uv ชุดด้านหลังจะถูกเปิดตลอดเมื่อมอเตอร์โบรเวอร์ทำงาน ส่วน
หลอดuvชุดในห้องพื้นที่ทำงาน ที่มีชุดบังตาประกอบติดอยู่ จะมี สวิทส์แยกต่างหาก
สำหรับปิดขณะทำงานเพื่อไม่ให้แสงuvสะท้อนจากผนังทำลายสายตา ครับ
จะเปิดเมื่อตอน วอมตู้ก่อนใช้งาน ครึ่งชั่วโมง ครับ
ขณะทำงานในห้องพื้นที่ทำงาน จะเปิด เฉพาะหลอดแสงสว่างเพียงอย่างเดียวครับ
สำหรับแผ่นพื้นทำงาน ในห้องพื้นที่ทำงาน จะเป็นแผ่นสแตนเลส หนากว่าปกติเล็กน้อย
เจาะรูขนาดเล็กสามมิล ห้าแถว ตลอดแนวยาวของแผ่นพื้น ที่ขอบทุกด้าน ยกเว้นด้านหลัง
ให้เจาะรูที่ผนัง เพื่อรับอากาศสะอาดที่เป่ามาจากเพดานห้องทำงาน(ceiling type)
อากาศที่สะอาด ส่วนหนึ่งจะดันออกไปที่ช่องเปิดด้านหน้า ด้วยแรงดันอากาศในตู้ที่มากกว่า
อากาศภายนอก ทำให้เชื้อต่างๆจากภายนอกเข้ามาไม่ได้ครับ เพื่อเป็นการปรับแรงดันภายในตู้
ไม่ให้มากเกินไปถึงแม้เราจะเปิด โบรเวอร์รอบต่ำสุดแล้วก็ตาม จะมีพัดลมเล็กๆประเภทบูสเลส
ติดอยู่ด้านบน จะเปิดเพื่อลดปรับแรงดันภายในตู้ไม่ให้มากเกินไปได้อีก โดยผ่านแผ่นกรองเช่นกัน
ที่พื้นทำงาน เราจะไม่ใช้วิธีเจาะเป็นช่องขนาดใหญ่ที่ขอบแผ่นทำงาน แล้วติดแผ่น
ตะแกรงสแตนเลสแทนการเจาะรูครับ เพราะเราจะไม่สะดวกในการ ทำความสะอาด
แผ่นตะแกรงนี้ ครับ จึงใช้วิธีเจาะรูขนาด สามมิล ห้าแถว ครับ
ด้านหลังห้องพื้นที่ทำงาน มุม รอยตะเข็บเชื่อม ทั้งหมดจะถูกซีลด้วยกาวซิลิโคน ทั้งหมด ครับ
เพื่อป้องกัน เชื้อต่างๆสะท้อนเข้าด้านหน้าตู้ ตู้ต้องวางตู้ในลักษณะโล่งจะต้องมีพื้นที่ด้านหลัง
ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 50 cm ครับ
ตู้ที่เราใช้ขนาดนี้ ระบบนี้ พอแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ถึง Safetu Cabinet Class ll Type A
หรือ Type B ครับ
(อ้างอิงที่มา ผศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ)
การเพาะเนื้อเยื่อ-8
ผมกลัวไปไหม้บ้าน 55555555
เห็นตู้กระดาษ ถัาทำในห้องนอน แก่แล้ว มีโอกาศ
=============
อ้างจาก: bestdbs2008 ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:32:29 PM
อ้างจาก: aromdee ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:15:32 PM
เริ่มมี อะไรดีๆ เข้ามาละ น่าจะเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ สำหรับคนทุนน้อยละ
ขอถามต่อ เื่องตู้อีกนิด แบบว่า ผมไม่คิดเคลื่อนย้ายไปไหน
เอาอิฐบล็อก ก่อเป็นห้อง เล็กๆ ด้านหน้าติดกระจก ด้านบน ไม้หรืออะไรก็ได้ ที่สามารถยึดหลอดไฟ และ uv
ได้และพัดลมพร้อมแผ่นกรองได้
ประมาณนี้ คิดว่า มันจะได้ไหมน้อ อิฐสักยี่สิบก้อน ฉาบด้วย ไปกี่บาท
คนมันจนครับ แต่อยากเล่นของสูง
=================
ผมว่าเอาไม้อัดตีเป็นตู้ ติดกระจกง่ายกว่าและถูกกว่านะครับ ด้านในตู้ใช้ฟอร์ไมกา (ที่เค้าปูโต๊ะสีขาว ตามร้านทำเฟอร์ินเจอมีขาย) มาติดให้หมด ให้ผิวมันเรียบ ทำความสะอาดก็ง่าย ถ้าทำเองได้ไม่น่าเกิน 600 บาท
================
แบบตู้ที่เขียน ต้องจ้างทำครับ เอาใกล้เคียง ระบบไม่ต้องเป๊ะก็ได้
จะถูกกว่าท่านไปซื้อสำเร็จ หลายเท่า เพียงแต่ที่เขียนให้ ผมต้องการให้ท่านทราบว่า
ตู้มาตรฐานมันเป็นอย่างไร ควรมีอุปกรณ์อะไร อยู่ภายในตู้ ตามที่ท่านถาม มาครับ
เอาตู้ปลามาตะแคง ยังทำงานได้เลย ครับ
หรือว่าหน้ามืด จำเป็นจริงๆ
ไม่ต้องใช้ตู้เลยก็ได้ครับ
เพียงแต่ท่านต้องทำให้ "เป็น" ซะก่อน เท่านั้นเอง ครับ
ใส้กรองที่ใช้ เป็นใส้กรองชนิด High Efficiency Particulate Air Filter (HEPA)
เฮอป้า ซึ่งจะกรองอานุภาคขนาดเล็กสุดได้ประมาณ 3 ไมคร่อน
แต่ถ้า เป็น Untra High Efficiency Particulate Air Filter อูป้า จะกรองอานุภาค
ขนาดเล็กได้ตำกว่า 1 ไม่คร่อน ครับ ลองเอาชื่อไปเซอร์ทหาร้านเอาครับ ปัจจุบันราคา
ถูกลงมากแล้ว เมื่อเทียบกับสมัยทำมาขายใหม่ๆครับ
ใส้กรองนี่ ของมือสองพร้อมมอเตอร์ตัวใหญ่ และชุดคุมความเร็ว ก็มีขายนะครับ
ลองสืบดูดีๆครับ
ตามห้องแลป คลีนรูม ของส่วนราชการหลายๆแห่ง จะเปลี่ยน ใส้กรอง ด้วยเครื่องมือทดสอบ
อานุภาครวม ซึ่งจะเป็นค่าเฉลี่ยของฟิลเตอร์ทั้งหมด จะมีตัวที่ตัน ตัวที่ไม่ตันยังใช้งานได้
ปนมาอยู่ด้วย ครับ จะมีบริษัทเอกชน ไปรับประมูลซื้อมาขายเป็นของมือสองครับ
เราก็ไปเลือกซื้อเอาตัวที่พัดลมไม่ดัง ตัวคอนโทรความเร็วมอเตอร์ ยังใช้การได้
และใส้กรองยังขาวสะอาดอยู่ ครับ
ตู้นี่สมัยผมทำใหม่ๆ ผมก็จ้างช่างสแตนเลส ทำให้ เหมือนกัน เป็นตู้แบบในรูปที่ผมเขียนนี้
แต่ถ้าซื้อเอา จากบริษัทที่ขาย ตู้ใหม่ๆ ตู้หนึ่งเป็นแสนเลยครับ เสียดายมันหลายปีแล้ว
ไม่ได้เก็บตู้ เก็บรูปเอาไว้ ครับ
อิฐบล๊อก จะมีโพรงอากาศอยู่ภายใน ใช้งานไป โดนความชื้นไป ระยะหนึ่ง จะเกิดราขึ้นที่โพรงนี้ครับ
สปอร์ของราจะลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ ซึ่งจะมีปัญหากับเนื้อเยื่อที่ทำ ครับ
ตู้ทำเนื้อเยื่อ เค้าห้ามไม่ให้ เอาเห็ดมาเขี่ยในตู้นี้นะครับเพราะมันอาจมี
สปอร์ติดมากับเห็ด แล้วไปติด ตามซอกตามหลืบของตู้ครับ
อาจารย์ที่สอนท่านเห็น หยิกเนื้อเขียวเลยครับ ถ้าใครเอาเห็ดมาเขี่ย
แถมให้ถอดแผ่นปิดหลัง แผ่นข้าง แผงหลังคา สรุปก็ทั้งหมดนั่นแหละครับ
เอาแอลกอฮอ มานั่งไล่เช็ดภายใน หมดทั้งตู้ หลอดไฟทุกหลอด ถอดออกมาเช็ด หมดครับ
ไม่พอตู้นั้นต้องทำฟูมตู้ด้วย ครับ
วิธีทำฟูมตู้ ลอกมาให้จากกระทู้ผมเมื่อ4ปีที่แล้ว
เมื่อยนิ้วแล้วครับ วันนี้ขุดดินบ่อมะนาว ทั้งวัน ครับ
------------------------------------------------
ซื้อตู้มาครั้งแรกควรฟูมตู้ด้วยครับ
วิธีทำฟูมตู้ ทำดังนี้ ครับ
ใช้ถ้วยแก้วเล็กๆใส่เกล็ดด่างทับทิมหยิบมือนึงไม่ต้องเยอะ แล้วเอาๆฟอรมาลิน3-40%หยดลงไป จะเกิดควันขาวๆ อย่ายื่นหน้าไปดมละ แทบตายเชียวนะครับ เปิดหลอด UV ไม่ต้องเปิดพัดลม
เอาผ้าคลุมไว้ 24 ชั่วโมง ถึงค่อยเปิดผ้า เอาถ้วยออก สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ให้ทั่ว
ภายในตู้ อย่าใช้แอลกอฮอ 95%มาสเปรย์นะครับ เพราะมันระเหยเร็วเชื้อราหรือแบคทีเรีย
ยังไม่ทันตายเลยระเหยหมดแล้ว ถึงค่อยเปิดพัดลม
-------------------------------------------------------------------
วันหน้ามาต่อกันใหม่ครับ
เห็นตู้กระดาษ ถัาทำในห้องนอน แก่แล้ว มีโอกาศ
=============
อ้างจาก: bestdbs2008 ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:32:29 PM
อ้างจาก: aromdee ที่ มิถุนายน 25, 2014, 08:15:32 PM
เริ่มมี อะไรดีๆ เข้ามาละ น่าจะเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ สำหรับคนทุนน้อยละ
ขอถามต่อ เื่องตู้อีกนิด แบบว่า ผมไม่คิดเคลื่อนย้ายไปไหน
เอาอิฐบล็อก ก่อเป็นห้อง เล็กๆ ด้านหน้าติดกระจก ด้านบน ไม้หรืออะไรก็ได้ ที่สามารถยึดหลอดไฟ และ uv
ได้และพัดลมพร้อมแผ่นกรองได้
ประมาณนี้ คิดว่า มันจะได้ไหมน้อ อิฐสักยี่สิบก้อน ฉาบด้วย ไปกี่บาท
คนมันจนครับ แต่อยากเล่นของสูง
=================
ผมว่าเอาไม้อัดตีเป็นตู้ ติดกระจกง่ายกว่าและถูกกว่านะครับ ด้านในตู้ใช้ฟอร์ไมกา (ที่เค้าปูโต๊ะสีขาว ตามร้านทำเฟอร์ินเจอมีขาย) มาติดให้หมด ให้ผิวมันเรียบ ทำความสะอาดก็ง่าย ถ้าทำเองได้ไม่น่าเกิน 600 บาท
================
แบบตู้ที่เขียน ต้องจ้างทำครับ เอาใกล้เคียง ระบบไม่ต้องเป๊ะก็ได้
จะถูกกว่าท่านไปซื้อสำเร็จ หลายเท่า เพียงแต่ที่เขียนให้ ผมต้องการให้ท่านทราบว่า
ตู้มาตรฐานมันเป็นอย่างไร ควรมีอุปกรณ์อะไร อยู่ภายในตู้ ตามที่ท่านถาม มาครับ
เอาตู้ปลามาตะแคง ยังทำงานได้เลย ครับ
หรือว่าหน้ามืด จำเป็นจริงๆ
ไม่ต้องใช้ตู้เลยก็ได้ครับ
เพียงแต่ท่านต้องทำให้ "เป็น" ซะก่อน เท่านั้นเอง ครับ
ใส้กรองที่ใช้ เป็นใส้กรองชนิด High Efficiency Particulate Air Filter (HEPA)
เฮอป้า ซึ่งจะกรองอานุภาคขนาดเล็กสุดได้ประมาณ 3 ไมคร่อน
แต่ถ้า เป็น Untra High Efficiency Particulate Air Filter อูป้า จะกรองอานุภาค
ขนาดเล็กได้ตำกว่า 1 ไม่คร่อน ครับ ลองเอาชื่อไปเซอร์ทหาร้านเอาครับ ปัจจุบันราคา
ถูกลงมากแล้ว เมื่อเทียบกับสมัยทำมาขายใหม่ๆครับ
ใส้กรองนี่ ของมือสองพร้อมมอเตอร์ตัวใหญ่ และชุดคุมความเร็ว ก็มีขายนะครับ
ลองสืบดูดีๆครับ
ตามห้องแลป คลีนรูม ของส่วนราชการหลายๆแห่ง จะเปลี่ยน ใส้กรอง ด้วยเครื่องมือทดสอบ
อานุภาครวม ซึ่งจะเป็นค่าเฉลี่ยของฟิลเตอร์ทั้งหมด จะมีตัวที่ตัน ตัวที่ไม่ตันยังใช้งานได้
ปนมาอยู่ด้วย ครับ จะมีบริษัทเอกชน ไปรับประมูลซื้อมาขายเป็นของมือสองครับ
เราก็ไปเลือกซื้อเอาตัวที่พัดลมไม่ดัง ตัวคอนโทรความเร็วมอเตอร์ ยังใช้การได้
และใส้กรองยังขาวสะอาดอยู่ ครับ
ตู้นี่สมัยผมทำใหม่ๆ ผมก็จ้างช่างสแตนเลส ทำให้ เหมือนกัน เป็นตู้แบบในรูปที่ผมเขียนนี้
แต่ถ้าซื้อเอา จากบริษัทที่ขาย ตู้ใหม่ๆ ตู้หนึ่งเป็นแสนเลยครับ เสียดายมันหลายปีแล้ว
ไม่ได้เก็บตู้ เก็บรูปเอาไว้ ครับ
อิฐบล๊อก จะมีโพรงอากาศอยู่ภายใน ใช้งานไป โดนความชื้นไป ระยะหนึ่ง จะเกิดราขึ้นที่โพรงนี้ครับ
สปอร์ของราจะลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ ซึ่งจะมีปัญหากับเนื้อเยื่อที่ทำ ครับ
ตู้ทำเนื้อเยื่อ เค้าห้ามไม่ให้ เอาเห็ดมาเขี่ยในตู้นี้นะครับเพราะมันอาจมี
สปอร์ติดมากับเห็ด แล้วไปติด ตามซอกตามหลืบของตู้ครับ
อาจารย์ที่สอนท่านเห็น หยิกเนื้อเขียวเลยครับ ถ้าใครเอาเห็ดมาเขี่ย
แถมให้ถอดแผ่นปิดหลัง แผ่นข้าง แผงหลังคา สรุปก็ทั้งหมดนั่นแหละครับ
เอาแอลกอฮอ มานั่งไล่เช็ดภายใน หมดทั้งตู้ หลอดไฟทุกหลอด ถอดออกมาเช็ด หมดครับ
ไม่พอตู้นั้นต้องทำฟูมตู้ด้วย ครับ
วิธีทำฟูมตู้ ลอกมาให้จากกระทู้ผมเมื่อ4ปีที่แล้ว
เมื่อยนิ้วแล้วครับ วันนี้ขุดดินบ่อมะนาว ทั้งวัน ครับ
------------------------------------------------
ซื้อตู้มาครั้งแรกควรฟูมตู้ด้วยครับ
วิธีทำฟูมตู้ ทำดังนี้ ครับ
ใช้ถ้วยแก้วเล็กๆใส่เกล็ดด่างทับทิมหยิบมือนึงไม่ต้องเยอะ แล้วเอาๆฟอรมาลิน3-40%หยดลงไป จะเกิดควันขาวๆ อย่ายื่นหน้าไปดมละ แทบตายเชียวนะครับ เปิดหลอด UV ไม่ต้องเปิดพัดลม
เอาผ้าคลุมไว้ 24 ชั่วโมง ถึงค่อยเปิดผ้า เอาถ้วยออก สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ 75%ให้ทั่ว
ภายในตู้ อย่าใช้แอลกอฮอ 95%มาสเปรย์นะครับ เพราะมันระเหยเร็วเชื้อราหรือแบคทีเรีย
ยังไม่ทันตายเลยระเหยหมดแล้ว ถึงค่อยเปิดพัดลม
-------------------------------------------------------------------
วันหน้ามาต่อกันใหม่ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-7
จริงๆไม่ต้องใช้ก็ได้นะไอ้ตู้ Clean bench นะ ผมทำงานตรวจสอบเชื้อโรคอยู่ นั่งทำในห้องธรรมดานี่แหละ ยังใช้ได้เลย ถ้ามีห้องว่างๆ โล่ง หาหลอด UV ไปใส่แทน หลอดไฟเดิม ทำความสะอาดห้องให้ดี แล้วเปิด UV ทิ้งไว้ซัก 1 ชั่วโมง ปิดประตูให้หมด ครบแล้วปิดไฟ UV (ปิดไฟก่อนนะครับ เด่วเป็นมะเร็งได้) แล้วเข้าไปทำงานได้เลย พวกอุปกรณ์ต่างที่ทนไฟได้ก็ลนไฟก่อนใช้ หรือแช่ แอลกอฮอ 70% ไว้ (95% ใช้ไม่ได้นะ) ไว้ก่อนใช้ ลองดูครับ ประหยัดได้เยอะ
===========
อ้างจาก: kamonchai ที่ มิถุนายน 25, 2014, 07:30:05 PM
พี่ครับ ทำไมต้องมีพัดลดดูดอากาศหมุนเวียนภายในตู้ด้วยครับ ทำเป็นแบบตู้เขี่ยเชื้อเห็ดได้มั้ยครับ
============
เค้าต้องการให้ในตู้มันมีแรงดันอากาศสูงกว่าข้างนอก เพราะพวกเชื้อโรคที่อยู่ด้านนอกมันจะเข้าไปไม่ได้ เพราะลมมันดันออกมา อากาศที่มาจาก Blower ต้องมีกรองอากาศแบบพิเศษด้วยนะครับ ไว้กรองเชื่้อโรค ก่อนจะลงมาในตู้ ตู้พวกนี้ใช้ในการที่ต้องการความสะอาดๆสูงๆๆๆ ราคาก็ไม่อาจเอื้อมถึง ใช้ตู้ไม้แบบด้านล่างก็ได้
===========
อ้างจาก: kamonchai ที่ มิถุนายน 25, 2014, 07:30:05 PM
พี่ครับ ทำไมต้องมีพัดลดดูดอากาศหมุนเวียนภายในตู้ด้วยครับ ทำเป็นแบบตู้เขี่ยเชื้อเห็ดได้มั้ยครับ
============
เค้าต้องการให้ในตู้มันมีแรงดันอากาศสูงกว่าข้างนอก เพราะพวกเชื้อโรคที่อยู่ด้านนอกมันจะเข้าไปไม่ได้ เพราะลมมันดันออกมา อากาศที่มาจาก Blower ต้องมีกรองอากาศแบบพิเศษด้วยนะครับ ไว้กรองเชื่้อโรค ก่อนจะลงมาในตู้ ตู้พวกนี้ใช้ในการที่ต้องการความสะอาดๆสูงๆๆๆ ราคาก็ไม่อาจเอื้อมถึง ใช้ตู้ไม้แบบด้านล่างก็ได้
การเพาะเนื้อเยื่อ-6
ขอบคุณ ท่านพี่ พิมจนคอมค้าง
ตอนนี้ มองหา เซริทช์หา ถามหา ตู้ที่จะทดลองใช้
ถูกสุด ก็ตู้ไม้ละครับ ลังกระดาษ ก็สี่พัน ตู้ไม้หมื่นนึง
ยังหาถูกกว่านี้ ที่ดูเข้าท่าไม่ได้ หรือท่านพี่ มีคำแนะนำกับ ศิษย์น้องยังไงดี
เพราะงานนี้ ถ้าจะเสียตังครั้งแรก น่าจะแบกตู้กลับมาเป็นอันดับแรก
จะต่อเอง จากตู้ มันจะได้ลังใส่ขวด เหล้าซะละมั้ง
ไม้มีครับ ไม้สัก ช่างไม้มี
แต่ไม่รู้ว่าจะต้องติดตั้งอะไรเข้าไปบ้าง ตำแหน่งตรงไหน พัดลม แผ่นกรอง นี่ละ
ไฟ ยูวี มันติดเหมือนไฟทั่วไปหรือเปล่า ตำแหน่งที่ต้องติดตั้ง
สรุปว่า ถ้าจะลงมือ คงต้องทุบกระปุกไปซื้อตู้ก่อนเป็นอันดับแรก
====================
forcep มันมีหลายแบบ ใช้แบบไหนอะ ไม่มีเขี้ยวรึป่าวค่ะ
ดูรูปจากรูปข้างบน ครับ กลัวเห็นไม่ละเอียด
ไปค้นมาถ่ายให้ดูใหม่ แบบที่ใช้อยู่ ขนาด เฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว ครับ
ยกเว้นอันที่ขวางอยู่ ยาว15 นิ้ว ครับ
ใช้ทั้งแบบมีเขี้ยวล๊อค และไม่มีเขี้ยวล๊อด ครับ
ทัั้งปลายแหลม และปลายมน
ซื้อตามกำลังทรัพย์ ที่เราสะดวกครับ
ระยะแรกไม่ต้องซื้อมาหลายอัน มากแบบ หรอกครับ
เอาประหยัดไว้ก่อนครับ ทำงานไปแล้ว
คิดว่าถ้ามันจำเป็น ค่อยจัดหามาใช้ ครับ
และควรมีฟอร์เซบ ตัวยาว สำหรับทำซับคัลเจอร์ จับลูกไม้ หรือชิ้นส่วน
ที่แต่งแล้ว ลงปลูก ในวุ้นสารอาหาร ขนาดยาวถึงก้นขวดเหลี่ยมได้ และ
ใช้คีบลูกไม้ที่ได้ขนาดแล้ว ออกจากขวดด้วยครับ
แต่ตอนแรกไม่มีก็ไม่ไปไรเพียงแต่จะสะดวกเราทำงานเท่านั้น ครับ
ทั้งหมดซื้อแบบขาตรง นะครับ แบบหยัก ตัวขวาสุด ไม่จำเป็นครับ
ในรูป เทียบขนาด ปากคีบตัวยาว กับโน็ตบุ๊ค
อันที่สองจากซ้ายเป็นแบบมีเขี้ยวล๊อค
สรุป ใช้แบบปลายแหลม ตรง ขนาด 6 -8 นิ้ว ธรรมดา 2ชุด 4อัน ก่อนครับ
สำหรับตู้ปลอดเชื้อ ที่ใช้ตัดชิ้นเนื้อเยื่อพืช เบื้องต้น
ไม่ต้องถึงขนาด ตู้ปลอดเชื้อBiohazard ก็ได้ แต่
โครงสร้าง พื้นฐานควรทำจากแสตนเลส ซึ่งราคาอาจจะสูงกว่า
ตู้ไม้ ตู้กระดาษ แต่คุ้มค่า ครับ
ตู้แสตนเลส ทำเองได้ครับ หลักการ ให้อากาศเป่าลงมาผ่าน
แผ่นกรองเฮอป้า หรืออูป้า ด้านบน ลงล่างเข้าสู่พื้นที่ทำงาน ลงพื้น
ที่ขอบด้านหน้า ด้านข้าง ของพื้นจะมีรูอากาศเล็กๆ เพื่อให้อากาศดูด วนกลับ ด้านหลังตู้
ผ่านหลอด UVหลังตู้ อากาศส่วนหนึ่งจะถูกพัดลมตัวเล็กดูดออกด้านบนอีกส่วน
จะถูกพัดลมตัวใหญ่ดูดอัดผ่านแผ่นกรองเฮอป้า กลับลงมาในตู้
เป็นอากาศสะอาด หมุนเวียนอยู่ภายในตู้ ครับ
รูปแบบตู้คร่าวๆ พยายามเขียนได้เท่านี้ ครับ
ลองดูครับอาจไม่เหมือน แต่หลักการเดียวกัน ครับ
หมายเหตุ ถ้ารูปไปคล้ายกับตู้ของบริษัทใด เรื่องลิขสิทธิ์ ผมต้องขออภัย
เจตนาผมเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานความรู้ในนี้เท่านั้น มิได้ทำขาย
จำหน่าย จ่ายแจก แต่อย่างใด อนุเคราะห์แจ้งมาด้วย ผมจะลบออกให้ ครับ
ขอบคุณ
ตอนนี้ มองหา เซริทช์หา ถามหา ตู้ที่จะทดลองใช้
ถูกสุด ก็ตู้ไม้ละครับ ลังกระดาษ ก็สี่พัน ตู้ไม้หมื่นนึง
ยังหาถูกกว่านี้ ที่ดูเข้าท่าไม่ได้ หรือท่านพี่ มีคำแนะนำกับ ศิษย์น้องยังไงดี
เพราะงานนี้ ถ้าจะเสียตังครั้งแรก น่าจะแบกตู้กลับมาเป็นอันดับแรก
จะต่อเอง จากตู้ มันจะได้ลังใส่ขวด เหล้าซะละมั้ง
ไม้มีครับ ไม้สัก ช่างไม้มี
แต่ไม่รู้ว่าจะต้องติดตั้งอะไรเข้าไปบ้าง ตำแหน่งตรงไหน พัดลม แผ่นกรอง นี่ละ
ไฟ ยูวี มันติดเหมือนไฟทั่วไปหรือเปล่า ตำแหน่งที่ต้องติดตั้ง
สรุปว่า ถ้าจะลงมือ คงต้องทุบกระปุกไปซื้อตู้ก่อนเป็นอันดับแรก
====================
forcep มันมีหลายแบบ ใช้แบบไหนอะ ไม่มีเขี้ยวรึป่าวค่ะ
ดูรูปจากรูปข้างบน ครับ กลัวเห็นไม่ละเอียด
ไปค้นมาถ่ายให้ดูใหม่ แบบที่ใช้อยู่ ขนาด เฉลี่ยประมาณ 6 นิ้ว ครับ
ยกเว้นอันที่ขวางอยู่ ยาว15 นิ้ว ครับ
ใช้ทั้งแบบมีเขี้ยวล๊อค และไม่มีเขี้ยวล๊อด ครับ
ทัั้งปลายแหลม และปลายมน
ซื้อตามกำลังทรัพย์ ที่เราสะดวกครับ
ระยะแรกไม่ต้องซื้อมาหลายอัน มากแบบ หรอกครับ
เอาประหยัดไว้ก่อนครับ ทำงานไปแล้ว
คิดว่าถ้ามันจำเป็น ค่อยจัดหามาใช้ ครับ
และควรมีฟอร์เซบ ตัวยาว สำหรับทำซับคัลเจอร์ จับลูกไม้ หรือชิ้นส่วน
ที่แต่งแล้ว ลงปลูก ในวุ้นสารอาหาร ขนาดยาวถึงก้นขวดเหลี่ยมได้ และ
ใช้คีบลูกไม้ที่ได้ขนาดแล้ว ออกจากขวดด้วยครับ
แต่ตอนแรกไม่มีก็ไม่ไปไรเพียงแต่จะสะดวกเราทำงานเท่านั้น ครับ
ทั้งหมดซื้อแบบขาตรง นะครับ แบบหยัก ตัวขวาสุด ไม่จำเป็นครับ
ในรูป เทียบขนาด ปากคีบตัวยาว กับโน็ตบุ๊ค
อันที่สองจากซ้ายเป็นแบบมีเขี้ยวล๊อค
สรุป ใช้แบบปลายแหลม ตรง ขนาด 6 -8 นิ้ว ธรรมดา 2ชุด 4อัน ก่อนครับ
สำหรับตู้ปลอดเชื้อ ที่ใช้ตัดชิ้นเนื้อเยื่อพืช เบื้องต้น
ไม่ต้องถึงขนาด ตู้ปลอดเชื้อBiohazard ก็ได้ แต่
โครงสร้าง พื้นฐานควรทำจากแสตนเลส ซึ่งราคาอาจจะสูงกว่า
ตู้ไม้ ตู้กระดาษ แต่คุ้มค่า ครับ
ตู้แสตนเลส ทำเองได้ครับ หลักการ ให้อากาศเป่าลงมาผ่าน
แผ่นกรองเฮอป้า หรืออูป้า ด้านบน ลงล่างเข้าสู่พื้นที่ทำงาน ลงพื้น
ที่ขอบด้านหน้า ด้านข้าง ของพื้นจะมีรูอากาศเล็กๆ เพื่อให้อากาศดูด วนกลับ ด้านหลังตู้
ผ่านหลอด UVหลังตู้ อากาศส่วนหนึ่งจะถูกพัดลมตัวเล็กดูดออกด้านบนอีกส่วน
จะถูกพัดลมตัวใหญ่ดูดอัดผ่านแผ่นกรองเฮอป้า กลับลงมาในตู้
เป็นอากาศสะอาด หมุนเวียนอยู่ภายในตู้ ครับ
รูปแบบตู้คร่าวๆ พยายามเขียนได้เท่านี้ ครับ
ลองดูครับอาจไม่เหมือน แต่หลักการเดียวกัน ครับ
หมายเหตุ ถ้ารูปไปคล้ายกับตู้ของบริษัทใด เรื่องลิขสิทธิ์ ผมต้องขออภัย
เจตนาผมเพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานความรู้ในนี้เท่านั้น มิได้ทำขาย
จำหน่าย จ่ายแจก แต่อย่างใด อนุเคราะห์แจ้งมาด้วย ผมจะลบออกให้ ครับ
ขอบคุณ
การเพาะเนื้อเยื่อ-5
MS
อย่างน้อยก็รู้แล้ว ว่าไอ้นี่ คืออาหาร เนื้อเยืื่อ หลายกระทู้ พิมแต่นี้ ไม่รู้มันคืออะไร
สุปว่า ขั้นแรก ให้ซื้อมาใช้ก่อน เพื่อลดขั้นตอน การจะติดเชื้อต่างๆ เรามีหน้าที่ เอาวุ้นอาหารใส้ขวด กับทำเนื่ เยื่อให้ปลอดเชื้อแล้วเอาใส่ขวด เลี้ยงให้ปลอดเชื้อต่างๆ
ถามต่ออีกนีด อาหารถ้าเราสั่งมันจะมาลักษณะแบบไหน ผสมสำเร็จ ตัดมาเรียบร้อย เราคิบก้อนๆ ใสขวด มันจะหล่นตุบๆ ลงไปในขวดเพราะเราเรียงไม่ได้
หรือ
มาเป็นผง ให้เราตุ๋น วุ้นใส่เอง แบบนี้มันจะเรียบในขวด แต่มันจะไม่เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ จากการทำงานของเราหรือ เพราะอุตส่า เลี่ยงไปใช้สำเร็จ เพื่อการนี้
=======================
ที่ผมต้องซื้อ
บิกเกอร์สองขนาดสี่ใบ 1500
ฟอเซปสองอัน 400
ด้ามมีด สองขนาด 250
ตะเกียง ไม่รู้ราคา
ขวด+ฝาจุก ไม่รู้ราคา
===================
พอมีรูปตัวอย่างละเอียด ให้ไหมครับ
อันนี้สร้างได้ทันที ถ้าพอมีแบบ โรงกลึง มาตรฐานรับงานฝรั่งเลยครับ บังคับได้ จะได้ส่งแบบไปทางเฟส ได้เลย
ขอบคุณท่านครับ จากความหวังที่มืดมน
เริ่มมีแสงสว่างมากขึ้นตามลำดับครับ
อ้างจาก: farmer by finger ที่ มิถุนายน 24, 2014, 12:25:26 PM
ขอบคุณ พี่ชาย ใจดีครับ ที่มาให้ความรู้ น้องๆ
ตู้เขี่ยเชื้อ ถ้ามันแพงมากก็ต่อเองได้ครับ เอาแผ่นสเตนเลสบางๆมาทำ ถ้าเชื่อมสเตนเลสไม่ได้ก็ประกอบด้วย ซิลิโคน ที่ประกอบตู้ปลา นั่นแหละ
อุดร่อง รู ให้มิดชิด หรือจะ epoxy ก็ไม่ว่ากัน แต่ไม่แข็งแรงเท่าเชื่อมนะ
แล้วฆ่าเชื้อด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ(เคมี) กับ หลอดยูวี เอา สมัยก่อน (หลังจากคุณพี่ ภาณุวัฒน์ นิดหน่อย) มันยังไม่มี เยื่อเฮปป้า
เขาก็เล่นกันแบบนี้ ละครับ ก็สามารถ ทำ isolate แบคทีเรีย ได้ ต้นไม้ก็คงได้ น่ะ
ถังความดัน ถ้าทำไม่มาก ก็ หม้อความดันที่ใช้ในครัว ถ้าทำมากๆแต่ไม่อยากซื้อแพง ก็ถ่ายรูปถังความดันดีๆที่ต้องการ แล้วเอาถังแก๊สในครัว
ไปให้โรงกลึง ตัด ทำฝาแบบล้อคด้วยเกลียวให้ ตัวเกลียวพร้อมมือหมุน มีขายตามร้านขายสลักภัณท์ย่านคลองถม ตรงวาล์วที่แก๊สออกใส่3ทางติดมิเตอร์ความดันกับ บรีดดิ้ง(ปล่อยความดันทิ้ง) เข้าไป เพราะเช็คแล้วว่า ถังแก๊สรับแรงดันได้เกินกว่าที่เราฆ่าเชื้อมากมาย ปลอดภัยครับ
แอบมาทำกระทู้ วิชาการ เขาเสียหรือเปล่าหนอ ต้องขออภัย แต่อยากให้พวกเรา แค่ไม่ยอมแพ้กับข้อจำกัดเรื่องเงิน นะครับ
พวกเด็กๆฝรั่งมันกล้าคิด กล้าทำ ได้เครื่องมือที่ คนเกือบแก่อย่างผม ตกตะลึงมาเยอะ เลยอยากให้ลองทำ บนพื้นฐานของความปลอดภัย ครับ
สู้ๆ ชาวเรา
================
ขวดปากกว้าง ผ้าทำความสะอาด กระดาษรอง ถาดตัด ไม่รู่ราคา
ฟร็กกี้ 20บาท
วัสดุสิ้นเปลือง
แอลกอฮอร์ 75%
ที่คาดว่าจะขอแบ่งจากพี่ชาย
ใบมีดสแตนแลส สองเบอร์ สี่อัน
ตู้ถ้าทำได้ จะหักคอเพื่อนฟรี
อาหารต้องซื้อ ไม่รู้ราคา
===================
สวัสดี ท่านfarmer by finger ด้วยนะครับ
ดีครับมาช่วยกัน
ผมพิมพ์สองนิ้วจิ้ม พิมพ์ช้ามากกว่าจะตอบหมดข้อ
ผมใช้เวลานานมาก ครับ แถมบางที่เครื่องแฮ้ง ต้องรีบูสใหม่
ที่พิมพ์ไปตั้งเยอะ หายหมดเลย ครับ
มาตอบเรื่องอาหารก่อน
MS มันเป็นอาหารมาตรฐานชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันในวงการเนื้อเยื่อ ครับ
จะถูกใช้ในลำดับแรก ถ้าไม่ทราบว่าเนื้อเยื่อที่ได้มาชอบ หรือถูกกับอาหาร
ชนิดใด ครับ
อาหารที่ทางหลายๆเวปจำหน่าย มีทุกรูปแบบแล้วแต่เรา และผู้จำหน่าย
จะตกลงกันว่าจะซื้อลักษณะใด ครับ บางแห่งก็จำหน่ายเป็นผงผสมสำเร็จ
ใส่ซองมา เพื่อสะดวกในการขนส่ง เราก็มีหน้าที่เอามาใส่ น้ำ น้ำตาล
ปรับปริมาตร ให้ได้ตามสูตรที่ผู้ผลิตให้มา คนให้ละลาย ปรับ Phให้ได้
5.6-5.8 ตั้งไฟพอร้อนใส่วุ้น คนให้ละลาย ยกลง กรอกใส่ขวด
แล้วนำไปนึ่ง ที่ความดัน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ที่121 องศา C
เลี้ยงอุณภูมิและความดันให้คงที่ 15-20 นาที ปิดแก๊ส
ค่อยๆเปิดวาวล์ลดความดัน ไล่ไอน้ำจนหมด อาหารเอาขวดออกมาวาง
ในห้องสะอาด ทิ้งให้เย็น ประมาณ40 องศา C ล๊อกฝาให้แน่น
ทิ้งไว้ห้าวันถึงหนึ่งอาทิตย์ เพื่อดูราและสิ่งปนเปือน
ก่อนนำมาใช้งาน ครับ ที่สำคัญเนื่องจากมีน้ำตาลต้องระวังมดขึ้นด้วยครับ
ถ้าเราปิดฝาไม่แน่นพอครับ
ทั้งหมดนี้เราจะให้ผู้จำหน่ายทำให้เราเสร็จเป็นขวด พร้อมใช้มาเลยก็ได้ครับ
ถ้าเราทำไม่เยอะ แล้วแต่จะตกลงกันครับ
มีหลายที่ที่รับทำอาหารสำหรับงานเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ ลองเซอร์ทดูนะครับ
ขั้นตอนต่อไปเปิดฝาเอาชิ้นเนื้อเยื่อพืชมาใส่ ต้องทำในตู้เขื่ยเชื้อแล้วครับ
ก่อนเปิดและปิดฝา ให้ลนไฟปากขวดทุกครั้งเพื่อ ลดแก๊ส ฆ่าเชื้อ กำจัด
เหงื่อไขมันจากมือ ด้วยครับ
แอลกอฮอ 75% ไม่มีขาย ครับ ในแลปหรือร้านจำหน่าย จะมีขายแต่ แอลกอฮอ 95%
เราต้องเอามาผสมน้ำ ลดความเข้มข้น(ไดรูท)ลง ให้เหลือประมาณ 70 -75% ด้วยตัวเองครับ
วิธีก็คือ ตวงแอกกอฮอชนิด 95% 700cc เติมน้ำ 200-250cc ก็จะได้
แอลก็ฮอ 70 -75 % ตามต้องการ ครับ
อย่าลืมว่าเอทิลแอลกอฮอเท่านั้นนะครับ ไอโซโพรพิว(เอททิลเทียม) หรือเมทานอล หรือ
เมททิลแอลกอฮอ ใช้ไม่ได้กับงานเนื้อเยื่อนะครับ
อย่างน้อยก็รู้แล้ว ว่าไอ้นี่ คืออาหาร เนื้อเยืื่อ หลายกระทู้ พิมแต่นี้ ไม่รู้มันคืออะไร
สุปว่า ขั้นแรก ให้ซื้อมาใช้ก่อน เพื่อลดขั้นตอน การจะติดเชื้อต่างๆ เรามีหน้าที่ เอาวุ้นอาหารใส้ขวด กับทำเนื่ เยื่อให้ปลอดเชื้อแล้วเอาใส่ขวด เลี้ยงให้ปลอดเชื้อต่างๆ
ถามต่ออีกนีด อาหารถ้าเราสั่งมันจะมาลักษณะแบบไหน ผสมสำเร็จ ตัดมาเรียบร้อย เราคิบก้อนๆ ใสขวด มันจะหล่นตุบๆ ลงไปในขวดเพราะเราเรียงไม่ได้
หรือ
มาเป็นผง ให้เราตุ๋น วุ้นใส่เอง แบบนี้มันจะเรียบในขวด แต่มันจะไม่เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ จากการทำงานของเราหรือ เพราะอุตส่า เลี่ยงไปใช้สำเร็จ เพื่อการนี้
=======================
ที่ผมต้องซื้อ
บิกเกอร์สองขนาดสี่ใบ 1500
ฟอเซปสองอัน 400
ด้ามมีด สองขนาด 250
ตะเกียง ไม่รู้ราคา
ขวด+ฝาจุก ไม่รู้ราคา
===================
พอมีรูปตัวอย่างละเอียด ให้ไหมครับ
อันนี้สร้างได้ทันที ถ้าพอมีแบบ โรงกลึง มาตรฐานรับงานฝรั่งเลยครับ บังคับได้ จะได้ส่งแบบไปทางเฟส ได้เลย
ขอบคุณท่านครับ จากความหวังที่มืดมน
เริ่มมีแสงสว่างมากขึ้นตามลำดับครับ
อ้างจาก: farmer by finger ที่ มิถุนายน 24, 2014, 12:25:26 PM
ขอบคุณ พี่ชาย ใจดีครับ ที่มาให้ความรู้ น้องๆ
ตู้เขี่ยเชื้อ ถ้ามันแพงมากก็ต่อเองได้ครับ เอาแผ่นสเตนเลสบางๆมาทำ ถ้าเชื่อมสเตนเลสไม่ได้ก็ประกอบด้วย ซิลิโคน ที่ประกอบตู้ปลา นั่นแหละ
อุดร่อง รู ให้มิดชิด หรือจะ epoxy ก็ไม่ว่ากัน แต่ไม่แข็งแรงเท่าเชื่อมนะ
แล้วฆ่าเชื้อด้วย น้ำยาฆ่าเชื้อ(เคมี) กับ หลอดยูวี เอา สมัยก่อน (หลังจากคุณพี่ ภาณุวัฒน์ นิดหน่อย) มันยังไม่มี เยื่อเฮปป้า
เขาก็เล่นกันแบบนี้ ละครับ ก็สามารถ ทำ isolate แบคทีเรีย ได้ ต้นไม้ก็คงได้ น่ะ
ถังความดัน ถ้าทำไม่มาก ก็ หม้อความดันที่ใช้ในครัว ถ้าทำมากๆแต่ไม่อยากซื้อแพง ก็ถ่ายรูปถังความดันดีๆที่ต้องการ แล้วเอาถังแก๊สในครัว
ไปให้โรงกลึง ตัด ทำฝาแบบล้อคด้วยเกลียวให้ ตัวเกลียวพร้อมมือหมุน มีขายตามร้านขายสลักภัณท์ย่านคลองถม ตรงวาล์วที่แก๊สออกใส่3ทางติดมิเตอร์ความดันกับ บรีดดิ้ง(ปล่อยความดันทิ้ง) เข้าไป เพราะเช็คแล้วว่า ถังแก๊สรับแรงดันได้เกินกว่าที่เราฆ่าเชื้อมากมาย ปลอดภัยครับ
แอบมาทำกระทู้ วิชาการ เขาเสียหรือเปล่าหนอ ต้องขออภัย แต่อยากให้พวกเรา แค่ไม่ยอมแพ้กับข้อจำกัดเรื่องเงิน นะครับ
พวกเด็กๆฝรั่งมันกล้าคิด กล้าทำ ได้เครื่องมือที่ คนเกือบแก่อย่างผม ตกตะลึงมาเยอะ เลยอยากให้ลองทำ บนพื้นฐานของความปลอดภัย ครับ
สู้ๆ ชาวเรา
================
ขวดปากกว้าง ผ้าทำความสะอาด กระดาษรอง ถาดตัด ไม่รู่ราคา
ฟร็กกี้ 20บาท
วัสดุสิ้นเปลือง
แอลกอฮอร์ 75%
ที่คาดว่าจะขอแบ่งจากพี่ชาย
ใบมีดสแตนแลส สองเบอร์ สี่อัน
ตู้ถ้าทำได้ จะหักคอเพื่อนฟรี
อาหารต้องซื้อ ไม่รู้ราคา
===================
สวัสดี ท่านfarmer by finger ด้วยนะครับ
ดีครับมาช่วยกัน
ผมพิมพ์สองนิ้วจิ้ม พิมพ์ช้ามากกว่าจะตอบหมดข้อ
ผมใช้เวลานานมาก ครับ แถมบางที่เครื่องแฮ้ง ต้องรีบูสใหม่
ที่พิมพ์ไปตั้งเยอะ หายหมดเลย ครับ
มาตอบเรื่องอาหารก่อน
MS มันเป็นอาหารมาตรฐานชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กันในวงการเนื้อเยื่อ ครับ
จะถูกใช้ในลำดับแรก ถ้าไม่ทราบว่าเนื้อเยื่อที่ได้มาชอบ หรือถูกกับอาหาร
ชนิดใด ครับ
อาหารที่ทางหลายๆเวปจำหน่าย มีทุกรูปแบบแล้วแต่เรา และผู้จำหน่าย
จะตกลงกันว่าจะซื้อลักษณะใด ครับ บางแห่งก็จำหน่ายเป็นผงผสมสำเร็จ
ใส่ซองมา เพื่อสะดวกในการขนส่ง เราก็มีหน้าที่เอามาใส่ น้ำ น้ำตาล
ปรับปริมาตร ให้ได้ตามสูตรที่ผู้ผลิตให้มา คนให้ละลาย ปรับ Phให้ได้
5.6-5.8 ตั้งไฟพอร้อนใส่วุ้น คนให้ละลาย ยกลง กรอกใส่ขวด
แล้วนำไปนึ่ง ที่ความดัน 15 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ที่121 องศา C
เลี้ยงอุณภูมิและความดันให้คงที่ 15-20 นาที ปิดแก๊ส
ค่อยๆเปิดวาวล์ลดความดัน ไล่ไอน้ำจนหมด อาหารเอาขวดออกมาวาง
ในห้องสะอาด ทิ้งให้เย็น ประมาณ40 องศา C ล๊อกฝาให้แน่น
ทิ้งไว้ห้าวันถึงหนึ่งอาทิตย์ เพื่อดูราและสิ่งปนเปือน
ก่อนนำมาใช้งาน ครับ ที่สำคัญเนื่องจากมีน้ำตาลต้องระวังมดขึ้นด้วยครับ
ถ้าเราปิดฝาไม่แน่นพอครับ
ทั้งหมดนี้เราจะให้ผู้จำหน่ายทำให้เราเสร็จเป็นขวด พร้อมใช้มาเลยก็ได้ครับ
ถ้าเราทำไม่เยอะ แล้วแต่จะตกลงกันครับ
มีหลายที่ที่รับทำอาหารสำหรับงานเนื้อเยื่อโดยเฉพาะ ลองเซอร์ทดูนะครับ
ขั้นตอนต่อไปเปิดฝาเอาชิ้นเนื้อเยื่อพืชมาใส่ ต้องทำในตู้เขื่ยเชื้อแล้วครับ
ก่อนเปิดและปิดฝา ให้ลนไฟปากขวดทุกครั้งเพื่อ ลดแก๊ส ฆ่าเชื้อ กำจัด
เหงื่อไขมันจากมือ ด้วยครับ
แอลกอฮอ 75% ไม่มีขาย ครับ ในแลปหรือร้านจำหน่าย จะมีขายแต่ แอลกอฮอ 95%
เราต้องเอามาผสมน้ำ ลดความเข้มข้น(ไดรูท)ลง ให้เหลือประมาณ 70 -75% ด้วยตัวเองครับ
วิธีก็คือ ตวงแอกกอฮอชนิด 95% 700cc เติมน้ำ 200-250cc ก็จะได้
แอลก็ฮอ 70 -75 % ตามต้องการ ครับ
อย่าลืมว่าเอทิลแอลกอฮอเท่านั้นนะครับ ไอโซโพรพิว(เอททิลเทียม) หรือเมทานอล หรือ
เมททิลแอลกอฮอ ใช้ไม่ได้กับงานเนื้อเยื่อนะครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-4
ทำ ซับคัลเจอร์
-=อันนี้เข้าใจละ เหมือนว่าเราได้เมียแม่หม้ายลูกสาวติด เราเพาะกับแม่แล้ว ได้น้อยทำ ซับคัลเจอร์ ต่อกับลูกอีกรอบเพื่อเพิ่ม ปริมาณแบบทวีคูณ
=ขอคำแนะนำเรื้องตู้ปลอดเชื้อครับ
จุดประสงค์ ไม่ได้เอาไปรับจ้างใคร เพาะในสวน เช่นกล้วยหายาก ใผ่ต่างๆ หรือพันไม้ถึงราคาถูกๆแต่ต้องใช้ครั้งละ หลายร้อยต้น ต่อการปลูกหนึ่งรอบ
บางครั้งค่าพันธ์กินต้นทุนไปหมื่นกว่าแล้ว อย่าต้นรัก ใช้ที หนึ่งถึงสามพันกิ่ง กว่าจะได้สักร้อยสองร้อยกิ่ง เฮ้อๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ถอนใจกันแบบนี้
เอาที่เกษตรกร เอื้อมถึง หยิบจับได้ครับ
ทำเอง จะต้องเริ่มแบบไหน อุปกรณ์ ที่ต้องเตรียมติดตั้ง มันง่ายหรือยาก เกินความสามารถชาวสวนหรือไม่
ซื้อสำเร็จ ถูกที่สุด ที่ท่านพี่ผู้มีประสบการณ์ใช้งาน คิดว่า ใช้แล้วไม่สร้างปัญหา แบบเสียน้อยเสียยาก ครับ
อันไหนน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีครับ เพาะดูๆแล้ว จะเหลวหรือสำเร็จ ค่อนๆของงาน อยู่ที่ตู้นี่ละครับ
-------------------------------------------------------------------------
ใบมีเบอร์ 22 ,24 ใบใหญ่ใช้สำหรับตัดชิ้น ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ
รวมๆกัน ทั้ง ใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ซื้อทั้งParabola และ Feather อย่างละกล่อง ครับ(สองตัวนี้คือ อุปกรณื เอาไว้ทำอะไรครับ)
--------------------------------------------------------------------------------------
ขยายความ
ใบมีดเบอร์ 10 ใบโค้งใบเล็ก ที่ใช้กับด้าม เบอร์3
ใบมีดเบอร์ 11ใบปลายแหลม ที่ใช้กับด้าม เบอร์3
ใบมีดเบอร์ 22 ใบโค้งใบใหญ่ ที่ใช้กับด้าม เบอร์ 4
ใบมีดเบอร์ 24 ใบโค้งปลายแหลม ที่ใช้กับด้าม เบอร์4
ชนิดของใบมีด มีทั้งเป็นใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ระยะแรกเลือกเอาชนิดสแตนเลส มาใช้ก่อน เพราะทนไฟเผาได้บ่อยๆ
ตัดได้หลายครั้ง ประหยัดดีครับ ใบคาร์บ้อนคมมาก แต่ไม่ทนเผาไฟไม่กี่ครั้งจะหมดความคม ครับ
Paragon ,Parabola,Feather เป็นยี่ห้อครับ แต่ละยี่ห้อจะมีคุณสมบัติ
แตกต่างกันไปแล้วแต่งาน บางยี่ห้อแข็ง บางยี่ห้อมีสปริง จะบรรจุมา 100ใบมีด ครับ
ต้องเลือกใช้ ต้องสร้างความคุ้นเคยครับ ใบมีดพวกนี้คมมากใช้งานต้องระวังอย่างมาก ครับ
เพราะเมื่อตัดจะไม่เกิดการช้ำของเนื้อเยื่อเลย อย่าลืมว่าตัดนะครับไม่ใช่เถือ
ถูไปถูมา
แล้วแปลกอย่างจะโดนบาดกันแทบทุกรุ่นที่บรรยาย ครับ
ก่อนใช้งาน ควรฝึกฝนการถอดใส่ใบมีดกับด้ามอย่างถูกวิธี ด้วยครับ
เพื่อความปลอดภัย
ไปค้นๆของที่ใช้ จำเป็นต้องใช้มา เอามาเรียงๆให้ดูรูปร่างมันคร่าวๆ ก่อนครับ
------------------------------------------------------------
เรื่องตู้เอาไว้ก่อน
---------------------------------
ที่จริงเรื่องนี้สำคัญ แต่ตามใจคุณน้อง ครับ ผมไม่ขัดอยู่แล้วครับ
-----------------------------------------
สมมุติ น้อง ยิงฟันยิ้ม จะลงมือทำละ
ต้องเตรียมอาหารก่อน
แบบนี้ใช้ได้ปะ
น้ำ 500 มล น้ำตาล(ทรายมั๊ง ขาวหรือแดง เขาไม่ได้บอก แบบนี้ละที่สอนไม่ละเอียด) 30กรัม
ปุ๋นสูตร 10-10-10 (แบบไหนยังไม่รู้) 2 กรัม วิตามิน b คอมเพลก 500มล ครึ่งเม็ด น้ำมะพร้าว(อ่อนแก่เขาไม่บอก) 120 มล
วุ้น 7-10 กรับ (เอาสัก 8.5 ละกัน)
ใช้ได้ปะแบบนี้ อาหารเลี้ยงกล้วย เพราะถ้าหาซื้ออย่างอื่นมามันคงเกินความจำเป็น กับกล้วย ร้อยต้น ประมาณนี้ ยิงฟันยิ้ม
--------------------------------------------------------------------------------------
อาหารที่ท่านโพสเขียนมานี้ ผมไม่ทราบเลย ไม่เคยเรียน ไม่เคยใช้ครับ
จึงตอบไม่ได้ว่ามันจะได้ผลออกมาเป็นเช่นไร ให้ท่านนำไปทดลองใช้ก่อนก็แล้วกันนะครับ
ได้ผลประการใดก็เล่าถ่ายทอดให้เพื่อนๆทราบบ้างก็แล้วกันนะครับ
แต่บอกได้บางอย่างนะครับ น้ำที่เอามาใช้เป็นตัวทำละลาย จะใช้น้ำกลั่นทางการแพทย์ครับ
ไม่ได้เอาน้ำก๊อก น้ำฝนมาต้ม ครับ
หรือน้ำที่อยู่ในระดับ type ll reagent grede ต้องไม่มี pyrogens แก๊ส และอินทรีสาร
มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า 1.0 เมกกาโอมเซนติเมตร มีค่า EC ต่ำกว่า 1.0
ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ครับ (เซอร์ท รายละเอียด อ่านเอาจากกูเกิลนะครับ เพราะถ้าเขียน
เรื่องน้ำเรื่องเดียว เดี๋ยวจะยาว ครับ
น้ำตาลที่ใช้เป็นน้ำตาลทราย ขาวหรือแดงก็ได้ เพื่อให้พลังงานกับเนื้อเยื่อ ครับ
ปุ๋ย อนิทรีย์เคมีทางคอมเมอร์เชียล มันจะมีสารฟิลเลอร์ที่เติมลงไปเพื่อให่ปุ๋ย เติมร้อย
เพื่อการจับเป็นเม็ดบ้าง เพื่อให้ปุ๋ยได้น้ำหนักบ้าง ให้มีสีสรรน่าใช้ พิลเลอร์ จะไม่มีผล
ในระบบรากปกติการดูดซึมของปลายรากรากอ่อน แต่กับระบบเนื้อเยื่อผนังเซล มีผลครับ
น้ำมะพร้าวอ่อน มีกรดฮอโมนจิบเบอรลารีน ช่วยให้เซลเนื้อเยื่อพืชแข็งแรงขยายตัว ครับ
น้ำมะพร้าวแก่ เป็นตัวทำละลายอย่างหนึ่ง มีน้ำตาลในตัว ถ้าใช้น้ำมะพร้าวแก่เป็นตัวทำละลายแทนน้ำ
ก็ไม่ต้องใส่น้ำตาลไปที่สารอาหาร หรือใส่ก็ใส่เล็กน้อย ครับ แต่ผมไม่นิยมใช้ เพราะควบคุม
ปัจจัยความมากน้อย ไม่ได้ครับ ในงานทดลองใช้ได้ แต่ในงานรับจ้างไม่เสี่ยงดีกว่า ครับ
วุ้น นอกจากเจลไลท์ แล้ว ก็ใช้วุ้นไทยตรานางเงือก ครับ
การที่เราจะแอ๊บพลาย ดัดแปลง เราต้องทราบมาตรฐานที่ถูกต้องเสียก่อน เพื่อเอาไว้เป็น
ตัวอ้างอิงมาตรฐานเปรียบเทียบครับ ท่านลองใช้สูตรอาหารมาตรฐานของระบบเนื้อเยื่อเสียก่อน
เพื่อดูการเจริญของเนื้อเยื่อว่า สมควรกับเวลาที่เสียไปหรือไม่ ก่อนครับ ไม่ได้เกี่ยวกับ
ความคุ้มหรือไม่คุ้ม กับการทำกล้วย ร้อยต้นนะครับ ต้องเข้าใจตรงกันด้วยครับ
ที่ผมพยามเขียนบรรยายนี้ ก็เพื่อให้ท่านทราบสิ่งที่ถูกต้อง เป็นมาตรฐาน ซะก่อนครับ
แล้วท่านจะไปแอ๊บพลายต่างจากมาตรฐานออกไปก็เป็นเรื่องของท่านแล้วครับ
สูตร มาตรฐาน ของกล้วยทั่วๆไปใช้สูตร Murashig & Skoog หรือทั่วๆไปเรียกว่าสูตร
MS
ระยะแรกนี้ผมแนะนำว่าอย่าผสมทำอาหารเองเลยครับ อาจซื้อสำเร็จที่เค้าผสมมาแล้ว
หรือทำมาเป็นวุ้นสำเร็จพร้อมขวด เราเพียงแต่มาตัดชิ้นเนื้อเยื่อใส่ แล้วเก็บในห้องสะอาด
ได้เลยจะสะดวก กว่าทำเองทั้งหมดครับ
บอกผู้จำหน่ายว่าเราขอสูตร MS ทำมาเป็นวุ้นใส่ในขวดเหลี่ยม จะเอามาขยายเนื้อเยื่อกล้วย
เซอร์ทดูครับจะมีผู้ทำอาหารเนื้อเยื่อ ขายในเวปอยู่หลายเจ้าครับ โดยสั่งขั้นต่ำสุดของเค้าก่อน
และควรไปรับของด้วยตัวเอง ถ้าซื้อสัตย์ไว้ใจได้ หลังโอนตังค์ไปแล้วไม่เงียบหาย มีสารอาหาร
ในวุ้นดี เนื้อเยื่อโตเร็ว ก็เป็นลูกค้ากันต่อไป ครับ
----------------------------------------------------------------------------
ทำแล้วเขาบอกว่าให้เ าใส่ขวด แต่ไม่ได้บอกว่า ใส่ขนาดไหน เต็มขวด ครึ่งขวด แล้วเอาขวดตั้งไว้หรือนอนไว้
แล้วต้องรออะไรอีกหรือเปล่า หลังจากได้อาหารใส่ขวดแล้ว เก็บแบบไหน กี่วันถึงเอามาใช้ โกรธ
ไปโค่นกล้วยแบกกลัวยมาหนึ่งต้น ต้องเอาส่วนไหนมาทำครับ
-----------------------------------------------------------------
อย่างที่บอก ระยะแรกซื้อสำเร็จเค้ามาตัดชิ้นเนื้อเยื่อใส่เอง แล้วปนเปื้อนติดเชื้อน้อยที่สุด
ทำไม่เยอะร้อยกว่าต้น จะเป็นการประหยัดที่สุด แล้วครับ
ขอบคุณที่จดหมายโพสมาหลังไมค์ จะมาหาผมที่ราชบุรี ผมยินดีสอนให้ทางนี้ครับ
พวกนี้ทางทฤษฎีบอกทีเดียวก็รู้แล้ว แต่จะให้เนียบต้องฝึกการปฏิบัติ ครับ
ฝึกทำบ่อยๆ ที่บ้านท่านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมา มิใช่ผมจะไม่ชอบท่าน หรืออะไรนะครับ
มาหาผม ท่านเองนั่นแหละที่จะไม่สะดวก เพราะถ้าจะมาเรียนต้องมาเรียนติดต่อกันหลายวัน
เพราะท่านเริ่มจากศูนย์ กว่าจะเป็น พอทำงานได้ ท่านก็ฝึกตัดชิ้งงาน ฝึกฟอกชิ้นงาน
ฝึกการใช้อุปกรณ์ของในตู้ ให้คล่อง ที่บ้านท่านสะดวกที่สุดแล้ว ครับ
การปนเปื้อนติดเชื้อเท่ากับศูนย์เมื่อไหร่นั้นแหละครับท่านประสพ
ความสำเร็จแล้ว ครับ
ฟรี ครับ ไม่ต้องเสียสตางค์ อย่างที่บอกนั่นแหละ ปัจจุบันผมเลิกหาเงินแล้วครับ
ต้องขอบคุณท่านด้วยครับ โดยส่วนตัวไม่อยากให้ความรู้ที่ผมสะสมมา ตายไปกับตัว ครับ
ไม่อยากให้ท่านต้องมาลำดับขั้นตอนศึกษา นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ใหม่ แบบผม
อยากให้ท่านเอาไปต่อยอด ห้า หก เจ็ด จากผมไปได้เลย ครับ
เท่านี้ก่อนนะครับ ว่างๆจะมาพิมพ์ต่อให้ใหม่ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-3
บีเกอร1000 ml ใบละ 400 เขาใช้กันกี่ใบ
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
ฟอรเซป อันละประมาณ 200 คีมคีบอกี่อัน
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
สองอันนี่ กล้วยอย่างเดียว ใช้อันไหน แล้วใช้ส่วนไหนของกล้วยเอามาทำครับ
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture( Subๆ นี่คือทำอะไรครับ)
ใบมีเบอร์ 22 ,24 ใบใหญ่ใช้สำหรับตัดชิ้น ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ
รวมๆกัน ทั้ง ใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ซื้อทั้งParabola และ Feather อย่างละกล่อง ครับ(สองตัวนี้คือ อุปกรณื เอาไว้ทำอะไรครับ)
เรื่องตู้เอาไว้ก่อน
สมมุติ น้อง จะลงมือทำละ
ต้องเตรียมอาหารก่อน
แบบนี้ใช้ได้ปะ
น้ำ 500 มล น้ำตาล(ทรายมั๊ง ขาวหรือแดง เขาไม่ได้บอก แบบนี้ละที่สอนไม่ละเอียด) 30กรัม
ปุ๋นสูตร 10-10-10 (แบบไหนยังไม่รู้) 2 กรัม วิตามิน b คอมเพลก 500มล ครึ่งเม็ด น้ำมะพร้าว(อ่อนแก่เขาไม่บอก) 120 มล
วุ้น 7-10 กรับ (เอาสัก 8.5 ละกัน)
ใช้ได้ปะแบบนี้ อาหารเลี้ยงกล้วย เพราะถ้าหาซื้ออย่างอื่นมามันคงเกินความจำเป็น กับกล้วย ร้อยต้น ประมาณนี้
ทำแล้วเขาบอกว่าให้เ าใส่ขวด แต่ไม่ได้บอกว่า ใส่ขนาดไหน เต็มขวด ครึ่งขวด แล้วเอาขวดตั้งไว้หรือนอนไว้
แล้วต้องรออะไรอีกหรือเปล่า หลังจากได้อาหารใส่ขวดแล้ว เก็บแบบไหน กี่วันถึงเอามาใช้
ไปโค่นกล้วยแบกกลัวยมาหนึ่งต้น ต้องเอาส่วนไหนมาทำครับ
===================
มีด=ใช้กับกล้วย ใช้อันไหนครับ แล้วด้ามมีดกับมีด มันไม่ได้มาด้วยกัย แล้วจะสั่งเขาแบบไหนที่เอามาใช้กับกล้วยครับ
แอลกอฮอ 75% =เวลาซื้อต้องบอกเลยไหม กี่เปอร์เซนต์ หรือต้องมานั่งผสมเอาเอง
ขวดปากกว้างใสแอลกอฮอ =ขนาดไหน ี่สะดวกในการทำงานจริง
ถาดรองตัด ??=แบบไหนครับ
กระดาษรองตัด=กระดาษอะไร
ผ้าทำความสะอาด=ผ้าธรรมดา หรือว่าต้องพิเศษแบบไหน
ฟอร์เซป(forcep) มันคือคีมคีบ ทุกอย่างยี่สิบครั้งเดียวพอได้นิ
ตะเกียง แอลกอฮอร์ แบบมีฝาครอบ=อันนี้รู้จัก
ขวดแบล็ค =อันนี้รู้จัก
อัันนี้มีละ ฝาจุก ว่าจะไป กทม วันศุกร์นี้ เดียวจัดมา
=======================
นับถือลุงแจ่มมากๆ
เริ่มตั้งแต่การซ่อมคอมพ์
การทำเพลง
การปลูกมะเขือ
แล้วยังจะมาเพาะเนื้อเยื่ออีก
เห็นรายชื่ออุปกรณ์ ผมก็ท้อแล้วครับ
ทำเพลง ตัดต่อมิวสิควีดีโอ ทำคาราโอเกะ น่าจะสนุกกว่า
แต่ก็อย่าท้อนะครับ(มีคนนับถืออยู่อย่างน้อย 1 คน) จะเข้ามาเชียร์จนประสบผลสำเร็จ
ผมคิดว่าจะมีพี่ชายที่แสนดี ล้านดี ช่วยสออนะครับ 55555+
ช่วสวน ชาวไร่ ชาวนา ทุกวันนี้โดนรุกรานจากทุนใหญ่ จนจะไม่มีที่ยืน
อาชีพเลี้ยงไก่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครกล้าทำ ทุนใหญ่คุมทั้งระบบ ผูกขาดทุกกระบวนการ พันธ์พืชกำลังจะเป็นแบบนั้น
แหล่งพลังงานบนดิน อ้อยมันสำปะหลัง ช้างรุกหนักมาก ซีพีลุยจนจะผูกขาดเรื่องข้าว
พันธ์พืชทุกอย่าง จากเปิด ตอนนี้เริ่มปิดหมดแล้ โดนทำหมัน อ้างว่าเพื่อไม่ให้ไปปนเปื้อนกับดั้งเดิม แต่พันธ์ดั้งเดิมกลับค่อยๆหายไป ทุนใหญ่ยึดไปหมด เกษตรกรเองไม่มีกำลังที่จะรักษาหรอก
หน่วยงานราชการ พอได้อะไรมาหน่อย ผลงานปิดเงียบสักพักไปโผล่ที่เอกชน เอาทุนหลวงวิจับ ได้ดีเอกชน
ผมจะค่อยๆมั่วจนได้ดีจนได้ ขอแค่มีแนวทาง ให้ได้ลงมือเท่านั้น ไม่เกินความพยายาม
----------------------------------------------
บีเกอร1000 ml ใบละ 400 เขาใช้กันกี่ใบ
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
----------------------------------------------
เบื้องต้นซื้อมาใช้อย่างละ2ใบครับ เอาไว้ตวงสารละลาย ที่ใช้
หรือใช้กรอกสารอาหารลงขวดก่อนนำไปนึ่ง ใช้งานทั่วๆไปครับ
---------------------------------------------------
ฟอรเซป อันละประมาณ 200 คีมคีบอกี่อัน
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
แรคสแตนเลส ใช้เป็นที่วางเพื่อเผา มีด ปากคีบ ในตู้
-----------------------------------------------------
ชุดนี้ ต้องซื้อปากคีบ 4อัน ด้ามมีด เบอรละ2 อัน เป็นอย่างน้อย
โดย จัดเป็น 2ชุดครับ หนึ่งชุดจะมี ฟอร์เซป 2 มีดเบอร์3 1ด้าม มีดเบอร์4 1ด้าม ครับ
ก่อนเข้าตู้ทุกอันต้องนึ่งฆ่าเชื้อมาก่อน ครับ ทำงานแต่ละครั้งใช้ทั้งสองชุด ครับ
ราคาทั้งหมดเป็นราคาประมาณ นะครับ ต้องสอบถาม บ.ที่จำหน่ายดูอีกครั้งนะครับ
เพราะผมซื้อใช้นานแล้ว ครับ
-----------------------------------------------------
สองอันนี่ กล้วยอย่างเดียว ใช้อันไหน แล้วใช้ส่วนไหนของกล้วยเอามาทำครับ
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture( Subๆ นี่คือทำอะไรครับ)
--------------------------------------------------------------------------
ทั้งหมดเป็นมาตรฐานในการทำงานครับ ใช้กับพืชทุกชนิด ครับ
กล้วยจะใช้ส่วนที่เป็นเยื่อเจริญของเง่า เป็นปุ่มที่จะแตกออกไปเป็นหน่อใหม่
ออกมาดีที่สุด ตัดควักออกมาประมาณหัวแม่มือ มาฟอกทำความสะอาด ก่อนเอาไปตัดครับ
ถ้าไม่มี ผ่าครึ่งซีกของกล้วย ควักเอายอดของเง่า ก่อนที่จะมาเป็นกาบ ประมาณนิ้วก้อย
ก็ได้เช่นกัน ครับ
ทำซับคัลเจอร์ คือการขยายจำนวน และเปลี่ยนสารอาหารไปพร้อมๆ กัน ครับ
เมื่อเราตัดยอดเง่ากล้วยออกมาแล้ว เราต้องเอามาทำความสะอาด หรือภาษาเนื้อเยื่อ
เรียกว่าฟอก ก่อน ถึงจะเอาเข้าตู้ทำงาน เพื่อตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆขนาดประมาณ
หัวไม้ขีดต่อไป
ชิ้นเล็กๆนี้เมื่ิอเอาลงขวด หนึ่งชิ้น จะได้ต้นเล็กๆ หนึ่งต้นนะครับ
เพราะฉะนั้น ปลายเง่าหนึ่งขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จะแบ่งตัดได้ร่วมร้อยต้นเล็กๆเลยครับ
ประมาณเดือนครึ่ง ชิ้นขนาดหัวไม้ขีดนี้ จะกลายเป็นต้นกล้วยเล็กๆสูงประมาณ1นิ้วเศษๆ
ถ้าเราพอใจจำนวนเท่านี้ เราจะใช้นำไปใช้เลยก็จบ แต่ถ้าเราต้องการเอาไปขยายจำนวนขึ้นอีก
ขั้นตอนต่อไปนี้เรียกว่าเป็นการทำซับคัลเจอร์ ครับ
โดยเอาปากคีบ คีบต้นเล็กๆนี้ออกมาจากขวดเอามาตัดแต่ง เอารากออก เอาใบออก
ผ่าเง่าจิ๋วๆนี้ออกเป็นชิ้นเล็กๆ4-5ส่วน โดยผ่าครึ่งซีก
แล้วเอาแต่ละครึ่งซีกมาผ่าสามในด้านใหญ่ และผ่าสองในด้านซีกเล็ก
และใช้ฟอร์เซบอันใหม่คีบแต่ละชิ้นลงไปจิ้มในวุ้นอาหารในขวดใหม่ หนึ่งต้นสมมุติว่าได้5ชิ้น
เมื่อแต่ละชิ้นโตขึ้นเราก็จะได้กล้วยจิ๋วๆ 5ต้นครับ
ครั้งแรกมีลูกกล้วย 100 รอบที่สอง 45วันต่อมา
เราก็จะได้ลูกกล้วยรวมเป็น 500 ต้นแล้ว ครับ
การเปลี่ยนอาหารใหม่ และการตัดชิ้นงานเอาลงปลูกในอาหารขวดใหม่เราเรียกว่า
เป็นการทำ ซับคัลเจอร์ ครับ
และถ้าเราทำ ซับคัลเจอร์ อีกรอบ เราก็จะได้ลูกกล้วยเป็น2500 ต้นในเวลา สี่เดืิอนครึ่ง
โดยประมาณ แล้ว ครับ
สังเกตุดูนะครับ การทำซับคัลเจอร์ เราต้องทำงานกับลูกกล้วยต้นเล็กๆจิ๋วๆ เราจึงต้องใช้
ขนาดเบอร์ใบมีดที่เล็กลงไปด้วย ครับ
เอาเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวว่างๆจะมาต่อให้ใหม่ ครับ
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
ฟอรเซป อันละประมาณ 200 คีมคีบอกี่อัน
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
สองอันนี่ กล้วยอย่างเดียว ใช้อันไหน แล้วใช้ส่วนไหนของกล้วยเอามาทำครับ
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture( Subๆ นี่คือทำอะไรครับ)
ใบมีเบอร์ 22 ,24 ใบใหญ่ใช้สำหรับตัดชิ้น ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ
รวมๆกัน ทั้ง ใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ซื้อทั้งParabola และ Feather อย่างละกล่อง ครับ(สองตัวนี้คือ อุปกรณื เอาไว้ทำอะไรครับ)
เรื่องตู้เอาไว้ก่อน
สมมุติ น้อง จะลงมือทำละ
ต้องเตรียมอาหารก่อน
แบบนี้ใช้ได้ปะ
น้ำ 500 มล น้ำตาล(ทรายมั๊ง ขาวหรือแดง เขาไม่ได้บอก แบบนี้ละที่สอนไม่ละเอียด) 30กรัม
ปุ๋นสูตร 10-10-10 (แบบไหนยังไม่รู้) 2 กรัม วิตามิน b คอมเพลก 500มล ครึ่งเม็ด น้ำมะพร้าว(อ่อนแก่เขาไม่บอก) 120 มล
วุ้น 7-10 กรับ (เอาสัก 8.5 ละกัน)
ใช้ได้ปะแบบนี้ อาหารเลี้ยงกล้วย เพราะถ้าหาซื้ออย่างอื่นมามันคงเกินความจำเป็น กับกล้วย ร้อยต้น ประมาณนี้
ทำแล้วเขาบอกว่าให้เ าใส่ขวด แต่ไม่ได้บอกว่า ใส่ขนาดไหน เต็มขวด ครึ่งขวด แล้วเอาขวดตั้งไว้หรือนอนไว้
แล้วต้องรออะไรอีกหรือเปล่า หลังจากได้อาหารใส่ขวดแล้ว เก็บแบบไหน กี่วันถึงเอามาใช้
ไปโค่นกล้วยแบกกลัวยมาหนึ่งต้น ต้องเอาส่วนไหนมาทำครับ
===================
มีด=ใช้กับกล้วย ใช้อันไหนครับ แล้วด้ามมีดกับมีด มันไม่ได้มาด้วยกัย แล้วจะสั่งเขาแบบไหนที่เอามาใช้กับกล้วยครับ
แอลกอฮอ 75% =เวลาซื้อต้องบอกเลยไหม กี่เปอร์เซนต์ หรือต้องมานั่งผสมเอาเอง
ขวดปากกว้างใสแอลกอฮอ =ขนาดไหน ี่สะดวกในการทำงานจริง
ถาดรองตัด ??=แบบไหนครับ
กระดาษรองตัด=กระดาษอะไร
ผ้าทำความสะอาด=ผ้าธรรมดา หรือว่าต้องพิเศษแบบไหน
ฟอร์เซป(forcep) มันคือคีมคีบ ทุกอย่างยี่สิบครั้งเดียวพอได้นิ
ตะเกียง แอลกอฮอร์ แบบมีฝาครอบ=อันนี้รู้จัก
ขวดแบล็ค =อันนี้รู้จัก
อัันนี้มีละ ฝาจุก ว่าจะไป กทม วันศุกร์นี้ เดียวจัดมา
=======================
นับถือลุงแจ่มมากๆ
เริ่มตั้งแต่การซ่อมคอมพ์
การทำเพลง
การปลูกมะเขือ
แล้วยังจะมาเพาะเนื้อเยื่ออีก
เห็นรายชื่ออุปกรณ์ ผมก็ท้อแล้วครับ
ทำเพลง ตัดต่อมิวสิควีดีโอ ทำคาราโอเกะ น่าจะสนุกกว่า
แต่ก็อย่าท้อนะครับ(มีคนนับถืออยู่อย่างน้อย 1 คน) จะเข้ามาเชียร์จนประสบผลสำเร็จ
ผมคิดว่าจะมีพี่ชายที่แสนดี ล้านดี ช่วยสออนะครับ 55555+
ช่วสวน ชาวไร่ ชาวนา ทุกวันนี้โดนรุกรานจากทุนใหญ่ จนจะไม่มีที่ยืน
อาชีพเลี้ยงไก่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครกล้าทำ ทุนใหญ่คุมทั้งระบบ ผูกขาดทุกกระบวนการ พันธ์พืชกำลังจะเป็นแบบนั้น
แหล่งพลังงานบนดิน อ้อยมันสำปะหลัง ช้างรุกหนักมาก ซีพีลุยจนจะผูกขาดเรื่องข้าว
พันธ์พืชทุกอย่าง จากเปิด ตอนนี้เริ่มปิดหมดแล้ โดนทำหมัน อ้างว่าเพื่อไม่ให้ไปปนเปื้อนกับดั้งเดิม แต่พันธ์ดั้งเดิมกลับค่อยๆหายไป ทุนใหญ่ยึดไปหมด เกษตรกรเองไม่มีกำลังที่จะรักษาหรอก
หน่วยงานราชการ พอได้อะไรมาหน่อย ผลงานปิดเงียบสักพักไปโผล่ที่เอกชน เอาทุนหลวงวิจับ ได้ดีเอกชน
ผมจะค่อยๆมั่วจนได้ดีจนได้ ขอแค่มีแนวทาง ให้ได้ลงมือเท่านั้น ไม่เกินความพยายาม
----------------------------------------------
บีเกอร1000 ml ใบละ 400 เขาใช้กันกี่ใบ
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
----------------------------------------------
เบื้องต้นซื้อมาใช้อย่างละ2ใบครับ เอาไว้ตวงสารละลาย ที่ใช้
หรือใช้กรอกสารอาหารลงขวดก่อนนำไปนึ่ง ใช้งานทั่วๆไปครับ
---------------------------------------------------
ฟอรเซป อันละประมาณ 200 คีมคีบอกี่อัน
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
แรคสแตนเลส ใช้เป็นที่วางเพื่อเผา มีด ปากคีบ ในตู้
-----------------------------------------------------
ชุดนี้ ต้องซื้อปากคีบ 4อัน ด้ามมีด เบอรละ2 อัน เป็นอย่างน้อย
โดย จัดเป็น 2ชุดครับ หนึ่งชุดจะมี ฟอร์เซป 2 มีดเบอร์3 1ด้าม มีดเบอร์4 1ด้าม ครับ
ก่อนเข้าตู้ทุกอันต้องนึ่งฆ่าเชื้อมาก่อน ครับ ทำงานแต่ละครั้งใช้ทั้งสองชุด ครับ
ราคาทั้งหมดเป็นราคาประมาณ นะครับ ต้องสอบถาม บ.ที่จำหน่ายดูอีกครั้งนะครับ
เพราะผมซื้อใช้นานแล้ว ครับ
-----------------------------------------------------
สองอันนี่ กล้วยอย่างเดียว ใช้อันไหน แล้วใช้ส่วนไหนของกล้วยเอามาทำครับ
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture( Subๆ นี่คือทำอะไรครับ)
--------------------------------------------------------------------------
ทั้งหมดเป็นมาตรฐานในการทำงานครับ ใช้กับพืชทุกชนิด ครับ
กล้วยจะใช้ส่วนที่เป็นเยื่อเจริญของเง่า เป็นปุ่มที่จะแตกออกไปเป็นหน่อใหม่
ออกมาดีที่สุด ตัดควักออกมาประมาณหัวแม่มือ มาฟอกทำความสะอาด ก่อนเอาไปตัดครับ
ถ้าไม่มี ผ่าครึ่งซีกของกล้วย ควักเอายอดของเง่า ก่อนที่จะมาเป็นกาบ ประมาณนิ้วก้อย
ก็ได้เช่นกัน ครับ
ทำซับคัลเจอร์ คือการขยายจำนวน และเปลี่ยนสารอาหารไปพร้อมๆ กัน ครับ
เมื่อเราตัดยอดเง่ากล้วยออกมาแล้ว เราต้องเอามาทำความสะอาด หรือภาษาเนื้อเยื่อ
เรียกว่าฟอก ก่อน ถึงจะเอาเข้าตู้ทำงาน เพื่อตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆขนาดประมาณ
หัวไม้ขีดต่อไป
ชิ้นเล็กๆนี้เมื่ิอเอาลงขวด หนึ่งชิ้น จะได้ต้นเล็กๆ หนึ่งต้นนะครับ
เพราะฉะนั้น ปลายเง่าหนึ่งขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย จะแบ่งตัดได้ร่วมร้อยต้นเล็กๆเลยครับ
ประมาณเดือนครึ่ง ชิ้นขนาดหัวไม้ขีดนี้ จะกลายเป็นต้นกล้วยเล็กๆสูงประมาณ1นิ้วเศษๆ
ถ้าเราพอใจจำนวนเท่านี้ เราจะใช้นำไปใช้เลยก็จบ แต่ถ้าเราต้องการเอาไปขยายจำนวนขึ้นอีก
ขั้นตอนต่อไปนี้เรียกว่าเป็นการทำซับคัลเจอร์ ครับ
โดยเอาปากคีบ คีบต้นเล็กๆนี้ออกมาจากขวดเอามาตัดแต่ง เอารากออก เอาใบออก
ผ่าเง่าจิ๋วๆนี้ออกเป็นชิ้นเล็กๆ4-5ส่วน โดยผ่าครึ่งซีก
แล้วเอาแต่ละครึ่งซีกมาผ่าสามในด้านใหญ่ และผ่าสองในด้านซีกเล็ก
และใช้ฟอร์เซบอันใหม่คีบแต่ละชิ้นลงไปจิ้มในวุ้นอาหารในขวดใหม่ หนึ่งต้นสมมุติว่าได้5ชิ้น
เมื่อแต่ละชิ้นโตขึ้นเราก็จะได้กล้วยจิ๋วๆ 5ต้นครับ
ครั้งแรกมีลูกกล้วย 100 รอบที่สอง 45วันต่อมา
เราก็จะได้ลูกกล้วยรวมเป็น 500 ต้นแล้ว ครับ
การเปลี่ยนอาหารใหม่ และการตัดชิ้นงานเอาลงปลูกในอาหารขวดใหม่เราเรียกว่า
เป็นการทำ ซับคัลเจอร์ ครับ
และถ้าเราทำ ซับคัลเจอร์ อีกรอบ เราก็จะได้ลูกกล้วยเป็น2500 ต้นในเวลา สี่เดืิอนครึ่ง
โดยประมาณ แล้ว ครับ
สังเกตุดูนะครับ การทำซับคัลเจอร์ เราต้องทำงานกับลูกกล้วยต้นเล็กๆจิ๋วๆ เราจึงต้องใช้
ขนาดเบอร์ใบมีดที่เล็กลงไปด้วย ครับ
เอาเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวว่างๆจะมาต่อให้ใหม่ ครับ
การเพาะเนื้อเยื่อ-2
อุ้ย งั้นเรียกผมน้องกะได 5555
ผมคนบ้านะ
ซื้อคอมเครื่องแรก หาที่เปิด กับเสียบสาย ไม่ถูกต้องแบกไปร้าน พอเปิดแล้ว คอมบ้าอะไร ไม่มีที่ปิด ต้องชักปลั๊กทุกวัน
ตอนซ่อมคอมไม่เป็น ไปซื้อคอมมาทีละเครื่องตามตังที่มี สิบเคริ่องนี่ กองรวมกันให้หมด คิดในใจ มันต้องทำติดได้ซิว่ะ
ตอนทำโกสเมื่อ7 ปีที่แล้ว สำหรับผม มันเริ่มจากติดลบเลยละ
ภาษาอังกฤษ อ่านไม่ออก แปลไม่ได้ มัจเป็นวิชาที่เขาหวงกัน ผมใช้เวลาปีครึ่ง หัดทำจนได้ วินโดว์นี่ล่มนับพันครั้ง นอนตีสองตีสามทุกคืน
จนเอามาแจกให้ช่างคอมใช้ทั่วประเทศได้ คลองถม พันทิพนี่ขายกันบาน ผมคนทำได้แค่สุขใจ
กว่าจะทำงานเพลงได้ เริ่มจากไม่มีอะไรและแบบนี้ละ สองปีที่ฝึกเอง ไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนวันนี้งานเพลงหลายร้อยเพลง ผ่านจากมือผมไป เพลงเพลือกตั้งมากทุกระดับ มากมาย มาจากคนโง่ๆ อย่างผมนี่ละ
ตัดต่อมิวสิควีดีโอ คาราโอเกะ กว่าจะปาดตัวหนังสือเป็น ครึ่งปี ฝึดเอาเอง แบบไม่มีครู
ทำสวนนี่ มาแบบดำน้ำดำท่า เดี๋ยวปลูกลงดิน เดี๋ยวเอาจากดินใส่กระถาง ยกย้ายไปมา จนพี่ๆ ว่ามันบ้า แม่ค้าบอกไปไม่รอด
มันบ้าอะไรว่ะ เอาต้นยอมาเพาพ 500 ต้น เน่าหมดและเดี๋ยวเอาไหม่ เอาต้รักมาปลูกเป็นร้อย ปลูกน้ำเต้ามันก็ไม่ตัดขาย
เรื่องตอนมะเขือเด็กๆ ตอนซะมะเขือตายเป็นแปลงๆ 55
ถ้าจะเพาะเนื้อเยื้อด้วยถ้วยถังกะละมังหม้อ อีกสัก สองปี คงได้น้า
ถ้าเอาแต่จ้างๆๆๆๆๆ ต้องจ้างตลอดชีวิต วันนี้พ่อทำลุ่มๆดอนๆ รุ่นลูกละ ถ้าเขารักและมีใจ มันจะเกิดการต่อยอด พัฒนาทันที เหมือนหลายๆสิ่งที่ก่อเกิดมาแบบ จากโคลนตมนี่ละ
ลองกันสัก ยี่สิบตั้ง ร้อยตั้ง ก็ยังไหว
แต่ว่า แนะนำอุปกรณ์ ทีละชิ้นก่อน ว่าไอ้นี้เขาเรียกอะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร ตอนไหน 5555
=================
กลับมาแล้วครับ
ตกลงเป็นน้องเหรอ ไม่เป็นลุงแล้วนะ ได้เลยครับคุณน้อง
ว่าแต่ว่าคุณน้องอ่านลิงค์ที่คุณพี่ให้ เมื่อเช้าแล้วยัง อ่านแล้ว
ไม่เข้าใจ สงสัยตรงใหน ก็ถามมาได้เลยนะครับ ผมยินดีตอบแบบ
เต็มที่หมดใส้หมดพุงเลยครับ
ออกตัวก่อน ตอนนี้ผมไม่ได้ทำเนื้อเยื้อแล้วนะครับ ไปทำรีสอร์ทเกษตร
โครงการสามปี ตอนนี้เพิ่งจะได้ปีแรกเองครับ เลยหยุดทำเนื้อเยื้อ ไปก่อน
แต่ถ้ามีเพื่อนๆสนใจจะทำผมก็ยินดีถ่ายทอดให้ครับ
การทำงานกับเนื้อเยื่อ สำคัญคือความสะอาด ไม่ใช่สะอาดแบบธรรมดา
ถูสบู่ฟอกมือ แต่เป็นความสะอาดแบบยิ่งยวด สะอาดกระทั่งอากาศที่อยู่รอบๆ
ต้องไม่มีเชื้อแบคที่เรีย สปอร์รา หรือเชื้ออื่นๆ เลย เซลของพืชถึงจะเจริญได้
สมบูรณ์ มีการดูดซึมกินอาหารที่เราเตรียมให้อย่างสมบูรณ์ เกิดเป็นต้น เกิดเป็นราก
ต่อไปได้ครับ
-------------------------------------------------------------------
ถามข้อแรกก่อน
ลุงจะเพาะเนื่อเยื่อกล้วย ขวดเลี้ยงอาหารเนื่ย ฟันธงมาเลย ใช้ขวดแบบไหน ได้แบบ้านๆ ขวดกาแฟ ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ หรือขวดอะไร แล้วมันมีขายร้านไหน ใน กทม เวลาไปซื้อ จะต้องบอก เขายังไง
(ขอรูป จัั๊กหนนอยแน้) ขวดละเท่าไร ขวดนึงได้กี่ต้น
-------------------------------------------------------------------
สำหรับกล้วย ขวดที่ใช้เหมาะสมกับกล้วย จะเป็นขวดสี่เหลี่ยม ปากแคบ แบบขวดเรด
ขวดแบล็ค นั่นแหละครับ
แหล่ง ถูกที่สุดก็ ร้านรับซื้อของเก่า เหมาเข่งมาเลยครับ ล้าง เอาฝาทิ้งไป แล้วเอามาต้ม
ทำความสะอาด ขัดกาวออกด้วยสเปรย์ฟิลลิปส์สีแดง จนใส แล้วเอามาต้ม ล้างน้ำ
สะอาดอีกครั้ง ตากแดด รวบรวมเก็บไว้ใช้ ก่อนใช้ต้องเอาไปนึ่งอีกที ครับ
จุกปิดขวด ซื้อได้ที่ บริษัท ขายวัศดุภัณฑ์ สำหรับห้องแลป บอกเค้าว่าซื้อจุกยาง
สำหรับขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อ
จะเป็นจุกยางผสมซิลิโคน ทรงกรวยน้อยๆ ทนความร้อนต้มได้ ตรงกลางมีรูประมาณก้านไม้ขีด
ทะลุตลอดเพื่อให้เราใส่สำลีเพื่อกรองอากาศสะอาด ให้กับเนื้อเยื่อที่กำลังโตในขวด
มีขายเป็นถุงๆละร้อยอัน บอกเค้าว่าขนาดจุกขวดแบล็ก
ร้านที่ผมเคยซื้อ เป็น บริษัทขายอุปกรณ์ห้องแลป ชื่อแซกซายน์ หรือร้านอื่น ที่ขายของ
ประเภทเดียวกัน ลองเซอร์ในเนตโทรถามราคากันดูครับ
ถามว่าไม่ซื้อจุกเฉพาะงานของมันได้ใหม ตอบว่าได้ ทำเองครับ เอาผ้ากรอสหุ้มใยไฟเบอร์
ปั้นขึ้นรูปขนาดหัวแม่มือ เอาไปนึ่ง ใช้ปิดได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำเยอะๆซื้อเอาดีกว่าครับ
ขวดใหม่ เช่นกัน ซื้อที่ บ.เค้าเลยก็มีขาย ครับ
ขวดหนึ่งจะได้ลูกกล้วย พร้อมที่จะเอาออกจากขวดได้ประมาณ 25 ถึง 30 ต้น ครับ
--------------------------------------------------------------------
แล้วตะเกียง แอลกอฮอร์ ต้องใช้ไหม หรือพอมี อย่างอื่นทดแทน อันละประมาณกี่บาท
--------------------------------------------------------------------
ต้องใช้ครับเป็นตะเกียงจุดมีใส้ ใช้แอลกอฮอเป็นเชื้อเพลิง
สาเหตุเพราะให้เปลวสีฟ้าความร้อนสูงเผาฆ่าเชื้อต่างๆได้ ที่สำคัณคือไม่มีควัน ครับ
ซื้อชนิดมีฝาปิดดับ คือเอาฝาครอบไส้ไม่ให้ได้อากาศ มันจะดับไปเลยครับ
ตะเกียงใช้ในตู้เพื่อใช้จุดเผาเครื่องมือ ฆ่าเชื้อโรคก่อนจะคีบหรือตัดชิ้นงานครับ
--------------------------------------------------------------------
ไอ้คีมคีบเนี่ย หน้าตามันเป็นยังไง เหมือนที่ถอนขอจั๊กแร้หรือเปล่า ถ้าไม่เหมือน
ต้องไปซื้อที่ไหน ประมาณกี่บาท
--------------------------------------------------------------------
มันก็ปากคีบธรรมดานี่แหละครับ ห้องแลปจะเรียกว่า ฟอร์เซป(forcep)
เป็นอุปกรณ์หนึ่ง ที่อยู่ในตู้
ในตู้จะมี แร็ก ปากคีบ มีดตัด ตะเกียงแอลกอฮอ ขวดปากกว้างใสแอลกอฮอ
ถาดรองตัด กระดาษรองตัด ผ้าทำความสะอาด(ต้องนึ่งทั้งหมด ครับ) ไฟแช็กที่สเปรย์ฆ่าเชื้อ
ด้วยแอลกอฮอ 75% แล้ว
ทุกครั้งที่เอามือเข้าตู้ให้สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ เนื่องจากมือเราจะมีไขมันขับออกมา
ตลอดเวลา เป็นแหล่งจับเชื้อได้ง่ายครับ
อ่อ... แอลก็ฮอที่ใช้เป็นเอททิล แอลกอฮอนะครับ เอททิลแอลกฮอเทียม ที่เรียกว่า
ไอโซโปรพิว ใช้ไม่ได้นะครับ โดนชิ้นเนื้อเยื่อจะด้านตายครับ เหล้าป่า 80 ดีกรีจุดไฟติด
ก็ใช้ได้ ครับ เม็ดทิลแอลกอฮอไม่ใช้ในงานเนื้อเยื่อ ครับ
ยืมรูปจากอาจารย์กู รูปปากคีบ ครับ
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%9B&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=kO6nU-yaCcv68QWnyYGIAg&ved=0CBoQsAQ&biw=1366&bih=651
ใช้ แบบทำจากสแตนเลส ปลายแหลมธรรมดา ขนาดยาว 6 นิ้ว ครับ ซื้ออย่างน้อย 3 อัน
ใหนๆพูดถึงปากคีบแล้ว ก็เอามีดต่อเลย มีดที่ใช้ต้องคม สะอาด เมื่อตัดชิ้นงานแล้ว
เนื้องานต้องไม่ช้ำ หรือช้ำก็น้อยที่สุดครับ สะดวกที่สุดก็มีดผ่าตัดที่หมอใช้นั่นแหละครับ
แยกด้าม แยกใบมีด ได้ เพื่อต้มด้าม ต้มใบมีดได้ ครับ ถ้าใบมีดทื่อก็เปลี่ยนใบได้เลยครับ
บีเกอร1000 ml ใบละ 400
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
ฟอรเซป อันละประมาณ 200
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture
ใบมีเบอร์ 22 ,24 ใบใหญ่ใช้สำหรับตัดชิ้น ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ
รวมๆกัน ทั้ง ใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ซื้อทั้งParabola และ Feather อย่างละกล่อง ครับ
อุปกรณใช้ในตู้ พร้อมทำงาน รวมๆก็ประมาณ 5000 บาทครับ
โทรตรวจสอบราคาดูก่อนหลายๆที่นะครับ
-----------------------------------------------------------------------
ไอ้ที่เขี่ยเชื้อ อะไรเนี่ย ต้องใช้หรือเปล่า กี่บาท เขี่ยอย่างเดียว ที่ถักไหมพรม ใช้ได้หรือเปล่า
ต้องมีอะไรอีก เวลาไปหามาใช้ จะได้ ขโมยชาวบ้านมาซะทีเดียว
-----------------------------------------------------------------------
ใช้ปากคีบ หรือฟอร์เซป แทนครับ
------------------------------------------------------------
แล้วไอ้ตู้ปลอดเชื้อเนี่ย หัวใจของมันอยู่ตรงไหน ทำไมต้องใช้ เห็นรคามันโด่งๆยังไงพิกล โกรธ
มันต้องติดตั้งอะไรเข้าไปหรือ เอาแผ่นอะคีลิค มาต่อๆๆๆๆๆ กันได้หรือเปล่า
ไอ้ฟิลเตอร์เนี่ย มันคืออะไร ไปหาซื้อที่ไหน ที่เอามาแปะไว้ค้านบนนะ
คืออ่าไม่รู้อะไรจริงๆ หรือว่าเอาลังกระดาษ อย่างที่เขาทำๆกันได้ ต้องมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า
----------------------------------------------------------------------------
ตู้ปลอกเชื้อนี่เรื่องใหญ่ครับ เพราะเป็นการจำลองห้องที่สะอาด มาเป็นตู้เล็กๆเอาไว้ทำงาน ครับ
ต้องไม่มีอากาศที่มีเชื้อแบคทีเรีย ฝุ่นละออง สปอร์เชื้อรา ที่แขวนลอย อยู่ในอากาศ ครับ
มันจึงต้องมีตัวกรองอากาศพร้อมหลอดฆ่าเชื้อUV เปิดอยู่ในตู้ตลอดเวลาที่ทำงาน ครับ
ทุกอย่างที่มาประกอบเป็นตู้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกรอง เฮอป้า หรืออันตราเฮอป้า พัดลม
ดูดอากาศ หลอดฆ่าเชื้อ UV มีจำหน่ายที่ร้านขายอุปกรณ์ห้องแลป ครับ
ตู้ปลา ลังกระดาษ ใช้ได้ใหม ต้องตอบว่าใช้ได้ แต่ผู้ใช้ต้องระวังเรื่องความสะอาด
เป็นอย่างมากครับ ไม่มีเผลอ ต้องมืออาชีพจริงๆ (ยังแย่เลยครับ) ผมไม่แนะนำ
ผมสังเกตุหลายคนที่ใช้ แล้วบอกว่าติดเชื้อ หรือคอนทามิเนตเป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่ของบางอย่าง ของตัวอย่างที่เอามาขยายเนื้อเยื่อ แซมปริ่งบางตัวที่ทำ
กิ่ง หรือตายอด ตาข้างที่คนจ้างเราทำได้มา ไม้บางอย่าง ค่าขนส่ง ค่าที่ซื้อตัวอย่างมา
จากต่างประเทศ บางอย่างราคาเป็นหลักล้านนะครับ
ถ้าเราทำเสร็จติดเชื้อเน่าหมด ปากต่อปากในวงการ เราจะไม่มีงานอีกเลยครับ
เอาง่ายๆ ลูกค้า(คนที่จ้างเราทำเนื้อเยื่อ) บางคนเห็นตู้ที่เราทำงาน เป็นตู้ไม้ลามิเนต
ธรรมดา หรือตู้ปลากระจกเจาะรูมีฟิลเตอร์มีพัดลมดูด ยังหอบเอาแซมปริ่งกลับเฉยยังมีเลยครับ
ทั้งที่งานที่ทำเป็นงานง่ายๆสำหรับเรา แต่ลูกค้าเค้าไม่เข้าใจครับ
ตู้ทำงานจึงสำคัญ ครับ จะว่าเป็นหน้าเป็นตาเป็นกำลังใจของคนทำเนื้อเยื่อเลยก็ได้ ครับ
เป็นตัวลดความเสี่ยงของชิ้นงาน เป็นตัวลดโอกาศ ลดความเสี่ยง ของงานที่ทำ ครับ
เป็นตัวสร้างกำลังใจให้คนทำงาน ทำ ร้อยเสียหรือติดเชื้อซักห้า พอยอมรับได้
แต่ถ้าทำร้อยติดเชื้อหกสิบ หลายๆครั้งพลอยหมดกำลังใจ จะพาลเลิกเอาง่ายๆ ครับ
แต่จากท่านอาจารย์ที่ผมเรียนมา ทำร้อยต้องให้ได้ร้อยครับ คอนทามิเนตหรือติดเชื้อ
ต้องเป็นศูนย์ ครับ
ผมคนบ้านะ
ซื้อคอมเครื่องแรก หาที่เปิด กับเสียบสาย ไม่ถูกต้องแบกไปร้าน พอเปิดแล้ว คอมบ้าอะไร ไม่มีที่ปิด ต้องชักปลั๊กทุกวัน
ตอนซ่อมคอมไม่เป็น ไปซื้อคอมมาทีละเครื่องตามตังที่มี สิบเคริ่องนี่ กองรวมกันให้หมด คิดในใจ มันต้องทำติดได้ซิว่ะ
ตอนทำโกสเมื่อ7 ปีที่แล้ว สำหรับผม มันเริ่มจากติดลบเลยละ
ภาษาอังกฤษ อ่านไม่ออก แปลไม่ได้ มัจเป็นวิชาที่เขาหวงกัน ผมใช้เวลาปีครึ่ง หัดทำจนได้ วินโดว์นี่ล่มนับพันครั้ง นอนตีสองตีสามทุกคืน
จนเอามาแจกให้ช่างคอมใช้ทั่วประเทศได้ คลองถม พันทิพนี่ขายกันบาน ผมคนทำได้แค่สุขใจ
กว่าจะทำงานเพลงได้ เริ่มจากไม่มีอะไรและแบบนี้ละ สองปีที่ฝึกเอง ไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนวันนี้งานเพลงหลายร้อยเพลง ผ่านจากมือผมไป เพลงเพลือกตั้งมากทุกระดับ มากมาย มาจากคนโง่ๆ อย่างผมนี่ละ
ตัดต่อมิวสิควีดีโอ คาราโอเกะ กว่าจะปาดตัวหนังสือเป็น ครึ่งปี ฝึดเอาเอง แบบไม่มีครู
ทำสวนนี่ มาแบบดำน้ำดำท่า เดี๋ยวปลูกลงดิน เดี๋ยวเอาจากดินใส่กระถาง ยกย้ายไปมา จนพี่ๆ ว่ามันบ้า แม่ค้าบอกไปไม่รอด
มันบ้าอะไรว่ะ เอาต้นยอมาเพาพ 500 ต้น เน่าหมดและเดี๋ยวเอาไหม่ เอาต้รักมาปลูกเป็นร้อย ปลูกน้ำเต้ามันก็ไม่ตัดขาย
เรื่องตอนมะเขือเด็กๆ ตอนซะมะเขือตายเป็นแปลงๆ 55
ถ้าจะเพาะเนื้อเยื้อด้วยถ้วยถังกะละมังหม้อ อีกสัก สองปี คงได้น้า
ถ้าเอาแต่จ้างๆๆๆๆๆ ต้องจ้างตลอดชีวิต วันนี้พ่อทำลุ่มๆดอนๆ รุ่นลูกละ ถ้าเขารักและมีใจ มันจะเกิดการต่อยอด พัฒนาทันที เหมือนหลายๆสิ่งที่ก่อเกิดมาแบบ จากโคลนตมนี่ละ
ลองกันสัก ยี่สิบตั้ง ร้อยตั้ง ก็ยังไหว
แต่ว่า แนะนำอุปกรณ์ ทีละชิ้นก่อน ว่าไอ้นี้เขาเรียกอะไร เอาไว้ใช้ทำอะไร ตอนไหน 5555
=================
กลับมาแล้วครับ
ตกลงเป็นน้องเหรอ ไม่เป็นลุงแล้วนะ ได้เลยครับคุณน้อง
ว่าแต่ว่าคุณน้องอ่านลิงค์ที่คุณพี่ให้ เมื่อเช้าแล้วยัง อ่านแล้ว
ไม่เข้าใจ สงสัยตรงใหน ก็ถามมาได้เลยนะครับ ผมยินดีตอบแบบ
เต็มที่หมดใส้หมดพุงเลยครับ
ออกตัวก่อน ตอนนี้ผมไม่ได้ทำเนื้อเยื้อแล้วนะครับ ไปทำรีสอร์ทเกษตร
โครงการสามปี ตอนนี้เพิ่งจะได้ปีแรกเองครับ เลยหยุดทำเนื้อเยื้อ ไปก่อน
แต่ถ้ามีเพื่อนๆสนใจจะทำผมก็ยินดีถ่ายทอดให้ครับ
การทำงานกับเนื้อเยื่อ สำคัญคือความสะอาด ไม่ใช่สะอาดแบบธรรมดา
ถูสบู่ฟอกมือ แต่เป็นความสะอาดแบบยิ่งยวด สะอาดกระทั่งอากาศที่อยู่รอบๆ
ต้องไม่มีเชื้อแบคที่เรีย สปอร์รา หรือเชื้ออื่นๆ เลย เซลของพืชถึงจะเจริญได้
สมบูรณ์ มีการดูดซึมกินอาหารที่เราเตรียมให้อย่างสมบูรณ์ เกิดเป็นต้น เกิดเป็นราก
ต่อไปได้ครับ
-------------------------------------------------------------------
ถามข้อแรกก่อน
ลุงจะเพาะเนื่อเยื่อกล้วย ขวดเลี้ยงอาหารเนื่ย ฟันธงมาเลย ใช้ขวดแบบไหน ได้แบบ้านๆ ขวดกาแฟ ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ หรือขวดอะไร แล้วมันมีขายร้านไหน ใน กทม เวลาไปซื้อ จะต้องบอก เขายังไง
(ขอรูป จัั๊กหนนอยแน้) ขวดละเท่าไร ขวดนึงได้กี่ต้น
-------------------------------------------------------------------
สำหรับกล้วย ขวดที่ใช้เหมาะสมกับกล้วย จะเป็นขวดสี่เหลี่ยม ปากแคบ แบบขวดเรด
ขวดแบล็ค นั่นแหละครับ
แหล่ง ถูกที่สุดก็ ร้านรับซื้อของเก่า เหมาเข่งมาเลยครับ ล้าง เอาฝาทิ้งไป แล้วเอามาต้ม
ทำความสะอาด ขัดกาวออกด้วยสเปรย์ฟิลลิปส์สีแดง จนใส แล้วเอามาต้ม ล้างน้ำ
สะอาดอีกครั้ง ตากแดด รวบรวมเก็บไว้ใช้ ก่อนใช้ต้องเอาไปนึ่งอีกที ครับ
จุกปิดขวด ซื้อได้ที่ บริษัท ขายวัศดุภัณฑ์ สำหรับห้องแลป บอกเค้าว่าซื้อจุกยาง
สำหรับขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อ
จะเป็นจุกยางผสมซิลิโคน ทรงกรวยน้อยๆ ทนความร้อนต้มได้ ตรงกลางมีรูประมาณก้านไม้ขีด
ทะลุตลอดเพื่อให้เราใส่สำลีเพื่อกรองอากาศสะอาด ให้กับเนื้อเยื่อที่กำลังโตในขวด
มีขายเป็นถุงๆละร้อยอัน บอกเค้าว่าขนาดจุกขวดแบล็ก
ร้านที่ผมเคยซื้อ เป็น บริษัทขายอุปกรณ์ห้องแลป ชื่อแซกซายน์ หรือร้านอื่น ที่ขายของ
ประเภทเดียวกัน ลองเซอร์ในเนตโทรถามราคากันดูครับ
ถามว่าไม่ซื้อจุกเฉพาะงานของมันได้ใหม ตอบว่าได้ ทำเองครับ เอาผ้ากรอสหุ้มใยไฟเบอร์
ปั้นขึ้นรูปขนาดหัวแม่มือ เอาไปนึ่ง ใช้ปิดได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำเยอะๆซื้อเอาดีกว่าครับ
ขวดใหม่ เช่นกัน ซื้อที่ บ.เค้าเลยก็มีขาย ครับ
ขวดหนึ่งจะได้ลูกกล้วย พร้อมที่จะเอาออกจากขวดได้ประมาณ 25 ถึง 30 ต้น ครับ
--------------------------------------------------------------------
แล้วตะเกียง แอลกอฮอร์ ต้องใช้ไหม หรือพอมี อย่างอื่นทดแทน อันละประมาณกี่บาท
--------------------------------------------------------------------
ต้องใช้ครับเป็นตะเกียงจุดมีใส้ ใช้แอลกอฮอเป็นเชื้อเพลิง
สาเหตุเพราะให้เปลวสีฟ้าความร้อนสูงเผาฆ่าเชื้อต่างๆได้ ที่สำคัณคือไม่มีควัน ครับ
ซื้อชนิดมีฝาปิดดับ คือเอาฝาครอบไส้ไม่ให้ได้อากาศ มันจะดับไปเลยครับ
ตะเกียงใช้ในตู้เพื่อใช้จุดเผาเครื่องมือ ฆ่าเชื้อโรคก่อนจะคีบหรือตัดชิ้นงานครับ
--------------------------------------------------------------------
ไอ้คีมคีบเนี่ย หน้าตามันเป็นยังไง เหมือนที่ถอนขอจั๊กแร้หรือเปล่า ถ้าไม่เหมือน
ต้องไปซื้อที่ไหน ประมาณกี่บาท
--------------------------------------------------------------------
มันก็ปากคีบธรรมดานี่แหละครับ ห้องแลปจะเรียกว่า ฟอร์เซป(forcep)
เป็นอุปกรณ์หนึ่ง ที่อยู่ในตู้
ในตู้จะมี แร็ก ปากคีบ มีดตัด ตะเกียงแอลกอฮอ ขวดปากกว้างใสแอลกอฮอ
ถาดรองตัด กระดาษรองตัด ผ้าทำความสะอาด(ต้องนึ่งทั้งหมด ครับ) ไฟแช็กที่สเปรย์ฆ่าเชื้อ
ด้วยแอลกอฮอ 75% แล้ว
ทุกครั้งที่เอามือเข้าตู้ให้สเปรย์ด้วยแอลกอฮอ เนื่องจากมือเราจะมีไขมันขับออกมา
ตลอดเวลา เป็นแหล่งจับเชื้อได้ง่ายครับ
อ่อ... แอลก็ฮอที่ใช้เป็นเอททิล แอลกอฮอนะครับ เอททิลแอลกฮอเทียม ที่เรียกว่า
ไอโซโปรพิว ใช้ไม่ได้นะครับ โดนชิ้นเนื้อเยื่อจะด้านตายครับ เหล้าป่า 80 ดีกรีจุดไฟติด
ก็ใช้ได้ ครับ เม็ดทิลแอลกอฮอไม่ใช้ในงานเนื้อเยื่อ ครับ
ยืมรูปจากอาจารย์กู รูปปากคีบ ครับ
https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%9B&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=kO6nU-yaCcv68QWnyYGIAg&ved=0CBoQsAQ&biw=1366&bih=651
ใช้ แบบทำจากสแตนเลส ปลายแหลมธรรมดา ขนาดยาว 6 นิ้ว ครับ ซื้ออย่างน้อย 3 อัน
ใหนๆพูดถึงปากคีบแล้ว ก็เอามีดต่อเลย มีดที่ใช้ต้องคม สะอาด เมื่อตัดชิ้นงานแล้ว
เนื้องานต้องไม่ช้ำ หรือช้ำก็น้อยที่สุดครับ สะดวกที่สุดก็มีดผ่าตัดที่หมอใช้นั่นแหละครับ
แยกด้าม แยกใบมีด ได้ เพื่อต้มด้าม ต้มใบมีดได้ ครับ ถ้าใบมีดทื่อก็เปลี่ยนใบได้เลยครับ
บีเกอร1000 ml ใบละ 400
บีเกอร 500 ml ใบละ 300
ฟอรเซป อันละประมาณ 200
ด้ามมีด เบอร 3 ด้ามละ 100
ด้ามมีด เบอร 4 ด้ามละ 150
ใบมีดเบอร์ 10 ,11 .ใบเล็กใช้สำหรับทำ Sub Culture
ใบมีเบอร์ 22 ,24 ใบใหญ่ใช้สำหรับตัดชิ้น ตายอด ตาข้าง เนื้อเยื่อ
รวมๆกัน ทั้ง ใบคารบ้อน และใบสแตนเลส
ซื้อทั้งParabola และ Feather อย่างละกล่อง ครับ
อุปกรณใช้ในตู้ พร้อมทำงาน รวมๆก็ประมาณ 5000 บาทครับ
โทรตรวจสอบราคาดูก่อนหลายๆที่นะครับ
-----------------------------------------------------------------------
ไอ้ที่เขี่ยเชื้อ อะไรเนี่ย ต้องใช้หรือเปล่า กี่บาท เขี่ยอย่างเดียว ที่ถักไหมพรม ใช้ได้หรือเปล่า
ต้องมีอะไรอีก เวลาไปหามาใช้ จะได้ ขโมยชาวบ้านมาซะทีเดียว
-----------------------------------------------------------------------
ใช้ปากคีบ หรือฟอร์เซป แทนครับ
------------------------------------------------------------
แล้วไอ้ตู้ปลอดเชื้อเนี่ย หัวใจของมันอยู่ตรงไหน ทำไมต้องใช้ เห็นรคามันโด่งๆยังไงพิกล โกรธ
มันต้องติดตั้งอะไรเข้าไปหรือ เอาแผ่นอะคีลิค มาต่อๆๆๆๆๆ กันได้หรือเปล่า
ไอ้ฟิลเตอร์เนี่ย มันคืออะไร ไปหาซื้อที่ไหน ที่เอามาแปะไว้ค้านบนนะ
คืออ่าไม่รู้อะไรจริงๆ หรือว่าเอาลังกระดาษ อย่างที่เขาทำๆกันได้ ต้องมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า
----------------------------------------------------------------------------
ตู้ปลอกเชื้อนี่เรื่องใหญ่ครับ เพราะเป็นการจำลองห้องที่สะอาด มาเป็นตู้เล็กๆเอาไว้ทำงาน ครับ
ต้องไม่มีอากาศที่มีเชื้อแบคทีเรีย ฝุ่นละออง สปอร์เชื้อรา ที่แขวนลอย อยู่ในอากาศ ครับ
มันจึงต้องมีตัวกรองอากาศพร้อมหลอดฆ่าเชื้อUV เปิดอยู่ในตู้ตลอดเวลาที่ทำงาน ครับ
ทุกอย่างที่มาประกอบเป็นตู้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกรอง เฮอป้า หรืออันตราเฮอป้า พัดลม
ดูดอากาศ หลอดฆ่าเชื้อ UV มีจำหน่ายที่ร้านขายอุปกรณ์ห้องแลป ครับ
ตู้ปลา ลังกระดาษ ใช้ได้ใหม ต้องตอบว่าใช้ได้ แต่ผู้ใช้ต้องระวังเรื่องความสะอาด
เป็นอย่างมากครับ ไม่มีเผลอ ต้องมืออาชีพจริงๆ (ยังแย่เลยครับ) ผมไม่แนะนำ
ผมสังเกตุหลายคนที่ใช้ แล้วบอกว่าติดเชื้อ หรือคอนทามิเนตเป็นเรื่องธรรมชาติ
แต่ของบางอย่าง ของตัวอย่างที่เอามาขยายเนื้อเยื่อ แซมปริ่งบางตัวที่ทำ
กิ่ง หรือตายอด ตาข้างที่คนจ้างเราทำได้มา ไม้บางอย่าง ค่าขนส่ง ค่าที่ซื้อตัวอย่างมา
จากต่างประเทศ บางอย่างราคาเป็นหลักล้านนะครับ
ถ้าเราทำเสร็จติดเชื้อเน่าหมด ปากต่อปากในวงการ เราจะไม่มีงานอีกเลยครับ
เอาง่ายๆ ลูกค้า(คนที่จ้างเราทำเนื้อเยื่อ) บางคนเห็นตู้ที่เราทำงาน เป็นตู้ไม้ลามิเนต
ธรรมดา หรือตู้ปลากระจกเจาะรูมีฟิลเตอร์มีพัดลมดูด ยังหอบเอาแซมปริ่งกลับเฉยยังมีเลยครับ
ทั้งที่งานที่ทำเป็นงานง่ายๆสำหรับเรา แต่ลูกค้าเค้าไม่เข้าใจครับ
ตู้ทำงานจึงสำคัญ ครับ จะว่าเป็นหน้าเป็นตาเป็นกำลังใจของคนทำเนื้อเยื่อเลยก็ได้ ครับ
เป็นตัวลดความเสี่ยงของชิ้นงาน เป็นตัวลดโอกาศ ลดความเสี่ยง ของงานที่ทำ ครับ
เป็นตัวสร้างกำลังใจให้คนทำงาน ทำ ร้อยเสียหรือติดเชื้อซักห้า พอยอมรับได้
แต่ถ้าทำร้อยติดเชื้อหกสิบ หลายๆครั้งพลอยหมดกำลังใจ จะพาลเลิกเอาง่ายๆ ครับ
แต่จากท่านอาจารย์ที่ผมเรียนมา ทำร้อยต้องให้ได้ร้อยครับ คอนทามิเนตหรือติดเชื้อ
ต้องเป็นศูนย์ ครับ
วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
การเพาะเนื้อเยื่อ-1
คือตอนนีุ้้งยังไม่เป็น ไม่รู้อะไรสักอย่าง
อ่านมาเป็นร้อยๆที่แล้ว ที่โพสๆกัน แต่มันเป็นศัพท์ ที่ไม่รู้จัก มันไม่มีแบบบ้านๆ ขั้นตอนที่บอกชาวสวนอย่างลุง ม่รู้จัก555
ถามข้อแรกก่อน
ลุงจะเพาะเนื่อเยื่อกล้วย ขวดเลี้ยงอาหารเนื่ย ฟันธงมาเลย ใช้ขวดแบบไหน ได้แบบ้านๆ ขวดกาแฟ ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ หรือขวดอะไร แล้วมันมีขายร้านไหน ใน กทม เวลาไปซื้อ จะต้องบอก เขายังไง
(ขอรูป จัั๊กหนนอยแน้) ขวดละเท่าไร ขวดนึงได้กี่ต้น
แล้วตะเกียง แอลกอฮอร์ ต้องใช้ไหม หรือพอมี อย่างอื่นทดแทน อันละประมาณกี่บาท
ไอ้คีมคีบเนี่ย หน้าตามันเป็นยังไง เหมือนที่ถอนขอจั๊กแร้หรือเปล่า ถ้าไม่เหมือน ต้องไปซื้อที่ไหน ประมาณกี่บาท
ไอ้ที่เขี่ยเชื้อ อะไรเนี่ย ต้องใช้หรือเปล่า กี่บาท เขี่ยอย่างเดียว ที่ถักไหมพรม ใช้ได้หรือเปล่า
ต้องมีอะไรอีก เวลาไปหามาใช้ จะได้ ขโมยชาวบ้านมาซะทีเดียว
เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวลุง งง
แล้วไอ้ตู้ปลอดเชื้อเนี่ย หัวใจของมันอยู่ตรงไหน ทำไมต้องใช้ เห็นรคามันโด่งๆยังไงพิกล
มันต้องติดตั้งอะไรเข้าไปหรือ เอาแผ่นอะคีลิค มาต่อๆๆๆๆๆ กันได้หรือเปล่า
ไอ้ฟิลเตอร์เนี่ย มันคืออะไร ไปหาซื้อที่ไหน ที่เอามาแปะไว้ค้านบนนะ
คืออ่าไม่รู้อะไรจริงๆ หรือว่าเอาลังกระดาษ อย่างที่เขาทำๆกันได้ ต้องมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า
---------------------
อ่านช้าๆ ให้ละเอียดที่ผมตอบทุกๆหัวข้อ นะครับ และก็ที่มันใช้ศัพท์ภาษาชาวบ้านไม่ได้
เพราะเราต้องทำ ต้องสื่อสารกับท่านอื่นที่เราต้องติดต่อด้วย มันจะได้เข้าใจเป็นอันเดียวกันครับ
เช่นเราจะโทรสั่งซื้อบีเกอร์ ครึ่งโหล จะให้เราบอกเค้าว่าจะซื้อ แก้วน้ำปากเบี้ยว ครึ่งโหล
บ.ที่เราสั่งมันจะรู้จักเข้าใจเหมือนเราใหม๋ครับ
เราจะให้ใครเค้าทำต่อ เพื่อขยายจำนาน สากลคนที่ไปทำต่อเค้าใช้คำว่าทำ "ซัพเค้าเจอร์" สั้นๆ
ไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก บอกให้ไปทำซับเค้าเจอร์อีกสองครั้งนะ ก็เข้าใจกันทั้งวงการ
คนทำเนื้อเยื่อแล้วครับ
ท่านคุณลุง ครับ ทำเนื้อเยื้อ มีความตั้งใจอย่างเดียวทำได้ครับ แต่ลุงจะล้มเหลวทำแล้วติดเชื้อ บ่อยๆ
จนหมดกำลังใจ ทำกี่ทีๆก็ติดเชื้อ แล้วล้มเลิกไปในที่สุดครับ
ลุงต้องศึกษาด้วยครับ เริ่มต้นอย่างถูกต้อง เข้าใจศัพท์ รู้ที่มาที่ไปถูกต้อง ถึงจะทำได้ดี ครับ
และถ้ามันง่ายนัก คนทั่วไป เค้าคงทำกันได้หมดทั้งประเทศ แล้วละครับ
แต่ แต่มันก็ไม่ยากเกินความสามารถของคนที่พยายามไปได้หรอกครับ
บ่ายแก่ๆเจอกันครับ คุณลุง
จากหลาน ภานุวัฒน์
อ่านมาเป็นร้อยๆที่แล้ว ที่โพสๆกัน แต่มันเป็นศัพท์ ที่ไม่รู้จัก มันไม่มีแบบบ้านๆ ขั้นตอนที่บอกชาวสวนอย่างลุง ม่รู้จัก555
ถามข้อแรกก่อน
ลุงจะเพาะเนื่อเยื่อกล้วย ขวดเลี้ยงอาหารเนื่ย ฟันธงมาเลย ใช้ขวดแบบไหน ได้แบบ้านๆ ขวดกาแฟ ขวดน้ำปลา ขวดเบียร์ หรือขวดอะไร แล้วมันมีขายร้านไหน ใน กทม เวลาไปซื้อ จะต้องบอก เขายังไง
(ขอรูป จัั๊กหนนอยแน้) ขวดละเท่าไร ขวดนึงได้กี่ต้น
แล้วตะเกียง แอลกอฮอร์ ต้องใช้ไหม หรือพอมี อย่างอื่นทดแทน อันละประมาณกี่บาท
ไอ้คีมคีบเนี่ย หน้าตามันเป็นยังไง เหมือนที่ถอนขอจั๊กแร้หรือเปล่า ถ้าไม่เหมือน ต้องไปซื้อที่ไหน ประมาณกี่บาท
ไอ้ที่เขี่ยเชื้อ อะไรเนี่ย ต้องใช้หรือเปล่า กี่บาท เขี่ยอย่างเดียว ที่ถักไหมพรม ใช้ได้หรือเปล่า
ต้องมีอะไรอีก เวลาไปหามาใช้ จะได้ ขโมยชาวบ้านมาซะทีเดียว
เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวลุง งง
แล้วไอ้ตู้ปลอดเชื้อเนี่ย หัวใจของมันอยู่ตรงไหน ทำไมต้องใช้ เห็นรคามันโด่งๆยังไงพิกล
มันต้องติดตั้งอะไรเข้าไปหรือ เอาแผ่นอะคีลิค มาต่อๆๆๆๆๆ กันได้หรือเปล่า
ไอ้ฟิลเตอร์เนี่ย มันคืออะไร ไปหาซื้อที่ไหน ที่เอามาแปะไว้ค้านบนนะ
คืออ่าไม่รู้อะไรจริงๆ หรือว่าเอาลังกระดาษ อย่างที่เขาทำๆกันได้ ต้องมีอะไรมากกว่านั้นหรือเปล่า
---------------------
อ่านช้าๆ ให้ละเอียดที่ผมตอบทุกๆหัวข้อ นะครับ และก็ที่มันใช้ศัพท์ภาษาชาวบ้านไม่ได้
เพราะเราต้องทำ ต้องสื่อสารกับท่านอื่นที่เราต้องติดต่อด้วย มันจะได้เข้าใจเป็นอันเดียวกันครับ
เช่นเราจะโทรสั่งซื้อบีเกอร์ ครึ่งโหล จะให้เราบอกเค้าว่าจะซื้อ แก้วน้ำปากเบี้ยว ครึ่งโหล
บ.ที่เราสั่งมันจะรู้จักเข้าใจเหมือนเราใหม๋ครับ
เราจะให้ใครเค้าทำต่อ เพื่อขยายจำนาน สากลคนที่ไปทำต่อเค้าใช้คำว่าทำ "ซัพเค้าเจอร์" สั้นๆ
ไม่ต้องอธิบายอะไรกันมาก บอกให้ไปทำซับเค้าเจอร์อีกสองครั้งนะ ก็เข้าใจกันทั้งวงการ
คนทำเนื้อเยื่อแล้วครับ
ท่านคุณลุง ครับ ทำเนื้อเยื้อ มีความตั้งใจอย่างเดียวทำได้ครับ แต่ลุงจะล้มเหลวทำแล้วติดเชื้อ บ่อยๆ
จนหมดกำลังใจ ทำกี่ทีๆก็ติดเชื้อ แล้วล้มเลิกไปในที่สุดครับ
ลุงต้องศึกษาด้วยครับ เริ่มต้นอย่างถูกต้อง เข้าใจศัพท์ รู้ที่มาที่ไปถูกต้อง ถึงจะทำได้ดี ครับ
และถ้ามันง่ายนัก คนทั่วไป เค้าคงทำกันได้หมดทั้งประเทศ แล้วละครับ
แต่ แต่มันก็ไม่ยากเกินความสามารถของคนที่พยายามไปได้หรอกครับ
บ่ายแก่ๆเจอกันครับ คุณลุง
จากหลาน ภานุวัฒน์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)