วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเพาะเนื้อเยื่อ-25

เรามีราชการกระทรวงศึกษาโล่ๆนี่เอง เด็กไทยถึงโง เอาควายไปอยู่ทั้งกระทรวง

กระดาษวัดค่าph
ร้านหมอไม่มี ร้านขายยาไม่มี ไม่แปลก
แปลกที่ร้านศึกษาภัณฑ์ไม่มีขาย

 ร้านเกษตร ทั้งจังหวัด ไม่มี 5555
ประเด็นมันอยู่ที่ว่าระบบการศึกษาไทย เขาไม่สอนกันแล้วหรือ
วิทยาศาสตร์ การทดลอง แบบว่าเรียนที่โรงเรียน มาต่อที่บีาน

ร้านหมอไม่มี ไม่แปลก แต่ศึกษาภัณฑ์ไม่มี นี่ละแปลกมาก
เพรามันเป็นการบ่งบอกว่า การศึกษาไทยได้ตัดการเรียนรู้แบบพื้นฐาน บ้าน

ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำรงชิวิตจริง  วันนี้เยาวชนไทย จึงไมดความคิดที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
นั่งรอ คนบอก ครูบอก เขาบอก ลอกเขามา  ,...... ขอเป็นรัฐมนตรีศึกษาสักสี่ปี่ เขาว่างบกระทรวงนี้มันเยอะ 5555


================





แบบปากกา ใช้ง่าย แต่ยุ่งยากตอนเก็บรักษาและก่อนใช้ ต้องแคลลิเบรท (ปรับแต่ง) บ่อย และ
ต้องซื้อน้ำยาด่าง KOH จุ่มสำลีมาหุ้มหัวไว้เวลาเก็บ ด้วยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้โปรพ ด้าน ครับ

เริ่มแรกใช้กระดาษเทสเทียบสี แบบในรูปข้างบนจะมาตรฐานและ จะประหยัดกว่ามาก ครับ

ชื้อ1-14 กับ 4-7 สองม้วนประมาณ 900 บาท ใช้ได้ประมาณครึ่งปี ครับ
ผมซื้อนานแล้ว ลองโทรติดต่อแซกซายด์ ดูน่าจะมีครับ

ปรับ pH จะต้องใช้ ในตอนเริ่มแรก เพราะอาหารวุ้นเมื่อนึ่งออกมาแล้ว
ทิ้งให้เย็น จะแข็งตัวดี ไม่เละเป็นน้ำๆ (วุ้นไม่ยอมแข็งตัว)

pH ปรับให้ได้ประมาณ 5.6-5.8 ก่อนปรับปริมาตร
ถ้าสูงไปใส่กรด(น้ำส้มสายชู)ต่ำไปใส่ด่าง (KOH หรือผงฟูละลายน้ำ)

หลังจากนั้นเติมน้ำกลั่นเพื่อมาปรับปริมาตรให้ได้ตามที่ บ.สารอาหารกำหนด

แล้วจึงยกขึ้นตั้งไฟ ใสวุ้นกวนๆ พอให้วุ้นละลายจนหมด แล้วยกลง
ไม่ต้องรอจนเดือด  นำมากรอกใส่ขวด แล้วเอาไปนึ่งในซื้งต่อไป ครับ

ต้องใจเย็นปรับสารอาหารละลายน้ำให้pH ได้    ก่อนปรับปริมาตร นะครับ ก่อนตั้งไฟผสมวุ้น ครับ

วิธีนี้ สารอาหารเมื่อนึ่งแล้ว pHจะเปลี่ยนเล็กน้อย แต่สำหรับกล้วยแล้ว
ไม่เป็นไร ครับ

แต่ถ้าเราต้องการให้สารอาหารมี pH ที่ถูกต้องเปะๆ ไม่มีการคลาดเคลื่อนเลย

เราจะแยกกันปรับ ดังนี้ ครับ

สมมุติเราจะทำอาหาร ขนาดเมื่อปรับปริมาตรแล้วได้ ปริมาณหนึ่งลิตร
เราจะเอาผงสารอาหารที่เตรียมใช้กับขนาดหนึ่งลิตรใส่นำกลั่น 500 cc คนให้ละลายจนใส
แล้วปรับ pH จนได้ 5.6 - 5.8

เอาน้ำกลั่น 500 cc ที่เหลือ ใส่ผงวุ้น 4 ถึง 10 กรัม (ใช้ต่อลิตร)
ยกขึ้นตั้งไฟ คนให้ละลายจนใส แล้วยกลงปรับ pHให้ได้ 5.6 - 5.8 เช่นเดียวกัน

ผสม ส่วนผสมทั้งสอง ยกขึ้นตั้งไฟคนให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เมื่อละลายเข้ากันดีแล้ว  ยกลง กรอกใส่ขวด

วิธีนี้ ค่า pH จะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะไม่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย
หลังจากนึ่งขวดอาหารแล้ว ครับ เหมาะสำหรับทำไม้ยากๆ ครับ

เช่นเอาไปทำไม้น้ำอนูเบียส หรือไม้ยากๆ ไม้ปราบเซียน หรือไม้ที่แทงยอดออกรากยากๆ
หรือ ไม้แซมปริ่งนำเข้าแพงๆ  เราถึงจะทำแบบแยกกันปรับ pHครับ


แต่กล้วยไม่จำเป็น ต้องทำแบบนี้ ก็ได้ ครับ



แต่ถ้าทำอาหารบ่อยๆ ไปสักพัก ก็จะรู้มือ รู้สารอาหารที่ทำ ไม่ต้องวัด ก็พอดี
ไม่ต้องปรับอะไร   นึ่งออกมาก็ไม่เละ ค่าpH ก็ได้อยู่ในเร้จน์ ครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น