วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การเพาะเนื้อเยื่อ-9

อย่าน้อยวันนี้ หลังจากพี่ถ่ายทอดควาทรู้มา

เรื่องตู้ จากที่ดูความหวังเลือนลาง

ตอนนี้ไม่ใช่ปัญหาละ  ตู้สี่เหลื่ยม ขนาดพอเหมาะกับการทำงาน

ถ้าจำเป็น ขอมีแค่ ยูวีกับไฟส่องสว่างก่อน  ถ้าเอาดีอีกนิด ระบบหมุนวนอากาศ
ส่วนนึงถูกดูดออกด้วยพัดลมเล็กๆหนึ่งตัว ส่วนที่กลับมาใช้ด้วยหอยโข่งหรือแล้วแต่ประยุกต์
โดยต้องผ่าน แผ่นกรองเชื้อโรค(ไม่แน่ใจว่าแ่ผนกรองของแอร์ตามโฮมโปรใช้ได้หรือเปล่าบ้านนอกบางที่หายาก)

ถ้าจะทดลองเท่านี้น่าจะไช้ได้

อาหารซื้อ
เครื่องมือยืม
ตู้ ในบ้านมันต้องมีอะไรสักชิ้นซิน่า พอได้เอามาฝึกทดลอง

ขอบคุณหลายๆท่านที่เข้ามาให้ความรู้จริงๆครับ
ผมทำแน่ แต่ขอรวบๆ เครื่องมือต่างๆก่อน คนจนทุนมันน้อย
ว่าจะไปยืมๆ ของอามาก่อน เป็นหมอ น่าจะมีอะไรให้หยิบๆบ้างละน่า5555




==============



มาเรื่องรายละเอียดตู้ ครับ

ตู้ที่ทำจะเป็นแผ่นสแตนเลส พับเชื่อมขึ้นรูป ขนาดหนาบางตามกำลังทรัพย์ครับ
ตามแบบในรูป ตอบ#27 เป็นตู้ปลอดเชื้อระบบ air flow cabinet

ใช้ระบบการเป่าลมสะอาด ผ่าน แผ่นกรองไมโครไฟเบอร์ เฮอป้า หรือ อูป้า
ด้วยความเร็ว 0.4 เมตร ต่อวินาที (วางเครื่องมือวัด ณ.จุดสูงจากพื้นที่ปฏิบัติงาน
15 cm.)อย่างสม่ำเสมอ  
แผ่นหลัง แผ่นด้านบน แผ่นด้านข้างทั้งสองด้าน และ
แผ่นด้านใต้โต๊ะ สามารถเปิดออกและยึดติดกับโครงสร้างตู้
ด้วยน๊อต และแถบยางซิลิโคน  สำหรับซีล

จุดประสงค์เพื่อสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ครับ
สำหรับด้านอากาศเข้า อาจเป็นด้านบน หรือด้านข้าง แล้วแต่ชุดมอเตอร์โบรเวอร์
ที่ได้มาครับ และ ต้องมีแผ่นกรองชั้นต้น(prefilter) เพื่อลดการอุดตันของแผ่นกรอง
เฮอป้า ไม่ให้แผ่นกรองเฮอป้าทำงานหนัก และตันเร็วเกินไป ครับ

หลอดuv ที่ติดอยู่ภายใน ด้านผนังหลังตู้ สำหรับฆ่าเชื้อควรใช้ไม่น้อยกว่า3 ชุด
ในห้องพื้นที่ทำงาน อีก1 ชุด  รวมเป็น 4ชุด

หลอด uv ชุดด้านหลังจะถูกเปิดตลอดเมื่อมอเตอร์โบรเวอร์ทำงาน   ส่วน
หลอดuvชุดในห้องพื้นที่ทำงาน ที่มีชุดบังตาประกอบติดอยู่ จะมี สวิทส์แยกต่างหาก

สำหรับปิดขณะทำงานเพื่อไม่ให้แสงuvสะท้อนจากผนังทำลายสายตา ครับ
จะเปิดเมื่อตอน วอมตู้ก่อนใช้งาน ครึ่งชั่วโมง ครับ
ขณะทำงานในห้องพื้นที่ทำงาน จะเปิด เฉพาะหลอดแสงสว่างเพียงอย่างเดียวครับ

สำหรับแผ่นพื้นทำงาน ในห้องพื้นที่ทำงาน จะเป็นแผ่นสแตนเลส หนากว่าปกติเล็กน้อย
เจาะรูขนาดเล็กสามมิล ห้าแถว ตลอดแนวยาวของแผ่นพื้น ที่ขอบทุกด้าน ยกเว้นด้านหลัง
ให้เจาะรูที่ผนัง เพื่อรับอากาศสะอาดที่เป่ามาจากเพดานห้องทำงาน(ceiling type)

อากาศที่สะอาด ส่วนหนึ่งจะดันออกไปที่ช่องเปิดด้านหน้า ด้วยแรงดันอากาศในตู้ที่มากกว่า
อากาศภายนอก ทำให้เชื้อต่างๆจากภายนอกเข้ามาไม่ได้ครับ  เพื่อเป็นการปรับแรงดันภายในตู้
ไม่ให้มากเกินไปถึงแม้เราจะเปิด โบรเวอร์รอบต่ำสุดแล้วก็ตาม จะมีพัดลมเล็กๆประเภทบูสเลส
ติดอยู่ด้านบน จะเปิดเพื่อลดปรับแรงดันภายในตู้ไม่ให้มากเกินไปได้อีก โดยผ่านแผ่นกรองเช่นกัน

ที่พื้นทำงาน เราจะไม่ใช้วิธีเจาะเป็นช่องขนาดใหญ่ที่ขอบแผ่นทำงาน แล้วติดแผ่น
ตะแกรงสแตนเลสแทนการเจาะรูครับ เพราะเราจะไม่สะดวกในการ ทำความสะอาด
แผ่นตะแกรงนี้ ครับ จึงใช้วิธีเจาะรูขนาด สามมิล ห้าแถว ครับ

ด้านหลังห้องพื้นที่ทำงาน มุม รอยตะเข็บเชื่อม ทั้งหมดจะถูกซีลด้วยกาวซิลิโคน ทั้งหมด ครับ

เพื่อป้องกัน เชื้อต่างๆสะท้อนเข้าด้านหน้าตู้  ตู้ต้องวางตู้ในลักษณะโล่งจะต้องมีพื้นที่ด้านหลัง
ผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อย 50 cm ครับ

ตู้ที่เราใช้ขนาดนี้ ระบบนี้ พอแล้วครับ ไม่จำเป็นต้องใช้ถึง Safetu Cabinet Class ll Type A
หรือ Type B ครับ

(อ้างอิงที่มา ผศ.ดร.สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน ขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงครับ)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น